420 likes | 822 Views
วิชาชีพการพยาบาลกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : โอกาส และแนวทาง. รศ.ดร. สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ อุปนายกสภาการพยาบาลคนที่ ๑. ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC). ชุมชนอาเซียน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่อาเซียนต้องการมุ่งไปให้ถึงในปี 2558 (2015 )
E N D
วิชาชีพการพยาบาลกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน: โอกาสและแนวทาง รศ.ดร. สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ อุปนายกสภาการพยาบาลคนที่ ๑
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) • ชุมชนอาเซียน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่อาเซียนต้องการมุ่งไปให้ถึงในปี 2558 (2015) • ประชาคมอาเซียน ต้องมีกฎเกณฑ์ในการบริหารร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน จึงเกิด “กฎบัตรอาเซียน” (ASEAN Charter) เป็นธรรมนูญของอาเซียนที่เปลี่ยนสถานะอาเซียนจากสมาคม เป็น “องค์กรระหว่างประเทศ” • ผู้นำอาเซียนได้ลงนามกฎบัตรฯในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2550 (2007) และมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 51 (สำนักการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
“กฎบัตรอาเซียน” (ASEAN Charter) กฎบัตรอาเซียนได้กำหนดกรอบโครงสร้างกลไกการดำเนินงานของอาเซียนออกเป็น 3 เสาหลัก รองรับการดำเนินงานไปสู่ประชาคมอาเซียน ได้แก่ 1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) 2) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) 3) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีการจัดทำ พิมพ์เขียว AEC (AEC Blueprint) สำหรับประเทศไทย Thailand AEC Blueprint 2555-2558
แผนงานในพิมพ์เขียว AEC (AEC Blueprint) การเปิดเสรีการค้าบริการ • เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้กับนักลงทุนสัญชาติอาเซียน • ความตกลงการค้าบริการอาเซียน (AFAS) การลด/ยกเลิกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าบริการในอาเซียน ทั้ง Market access and National Treatment • คณะกรรมการประสานงานด้านบริการ (CCS) กรอบความตกลงการค้าบริการอาเซียน(AFAS) ข้อตกลงการยอมรับร่วม (MRAs) (หมายเหตุ: CCS : Coordinating Committee on Services • MRAs : Mutual Recognition Arrangements • AFAS : ASEAN Framework Agreement on Services)
ภาคบริการ (จำแนกตาม WTO) • บริการธุรกิจ • บริการสื่อสารโทรคมนาคม • บริการก่อสร้างและวิศวกรรมเกี่ยวเนื่อง • บริการจัดจำหน่าย • บริการการศึกษา • บริการสิ่งแวดล้อม • บริการการเงิน • บริการสุขภาพและบริการทางสังคม • บริการด้านการท่องเที่ยว • บริการด้านนันทนาการ วัฒนธรรม และกีฬา • บริการด้านการขนส่ง • บริการอื่นๆ
แผนงานการจัดตั้งAEC (AEC Blueprint) • กำหนดเป้าหมายเปิดเสรีการค้าบริการ 4 Modes ดังนี้ • ไม่มีข้อจำกัดสำหรับการค้าบริการข้ามพรมแดน (Mode 1 และ 2) เว้นแต่มีเหตุผลอันควร (เช่น เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชน) • ให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาลงทุนในธุรกิจบริการ (Mode 3) และสามารถถือหุ้นได้อย่างน้อยร้อยละ 51 และ 70 ในปี พ.ศ. 2553 และ 2558 ตามลำดับ • ให้เจรจาเพื่อกำหนดเป้าหมายการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา (Mode 4) ภายในปี พ.ศ. 2552
การปรับตัวเพื่อสร้างโอกาสการปรับตัวเพื่อสร้างโอกาส • การค้าบริการ mode 1 ผู้ให้บริการควรศึกษาลู่ทางและโอกาสทางการตลาดสำหรับการค้าบริการข้ามพรมแดน เนื่องจากจะมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก • การค้าบริการ mode 2 ปัจจุบันมีความเป็นเสรีอยู่แล้ว เมื่อมีการเปิดเสรีอาจส่งผลให้มีคนไข้ต่างชาติเข้ามารับบริการในประเทศไทยมากขึ้น จึงต้องเตรียมพร้อมด้านบุคลากร และรักษาคุณภาพการบริการ เพื่อรักษาฐานลูกค้า รวมทั้งหาพันธมิตรทางธุรกิจ และสร้างจุดเด่นและความแตกต่างในธุรกิจ
การปรับตัวฯ • การค้าบริการ mode 3 ภาคธุรกิจไทยสามารถขยายโอกาสไปให้บริการด้านสุขภาพในต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ เป็นปัจจัยท้าทายต่อการขยายตัวของธุรกิจไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ • การค้าบริการ mode 4 การประกอบวิชาชีพต้องเป็นไปตามกฎระเบียบภายในของแต่ละประเทศ ผู้ประกอบวิชาชีพฯจึงต้องเตรียมพร้อมด้านภาษา/วัฒนธรรมต่างประเทศ (ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
แผนปฏิบัติการของประเทศไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พ.ศ. 2555-2558 II. แผนปฏิบัติการตามพันธกรณีในแผนพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ประกอบด้วย พันธกรณี/เป้าหมาย การดำเนินการในช่วงปี และผู้รับผิดชอบ ในที่นี้ยกมาบางข้อที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
8. การเปิดเสรีการค้าบริการ • ขจัดข้อจำกัดต่อการค้าบริการอย่างมีนัยสำคัญสำหรับสาขาบริการทุกสาขาที่เหลืออยู่ภายในปี 2558 • MRAs • ให้ระบุและจัดทำข้อตกลงยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ภายในปี 2555 และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 • ผู้รับผิดชอบ สภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ก.แรงงาน และกรมเจรจาฯ
11. การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี • (เฉพาะประเด็นการอำนวยความสะดวกและความร่วมมือในการพัฒนาและยกระดับแรงงานฝีมือ) • ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยของอาเซียน (AUN) เพื่อเพิ่มการเคลื่อนย้ายทั้งนักเรียนและเจ้าหน้าที่ภายในภูมิภาค (กระทรวงศึกษาธิการ) • เสริมสร้างขีดความสามารถในการวิจัยของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อสนับสนุนความชำนาญ การเข้าทำงาน และพัฒนาเครือข่ายข้อมูลด้านตลาดแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (กระทรวง แรงงาน)
11. การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี • อำนวยความสะดวกในการตรวจลงตราและใบอนุญาตทำงานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพและแรงงานฝีมืออาเซียน ที่เกี่ยวข้องกับการค้าข้ามพรมแดน และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุน • พัฒนากรอบแผนงานมาตรฐานความสามารถและคุณสมบัติของงาน หรืออาชีพ และความชำนาญของผู้ฝึกอบรมในสาขาบริการสำคัญ (ภายในปี 2009) และสาขาบริการอื่นๆ (จากปี 2010 ถึงปี 2015)
รูปแบบการค้าบริการ: โอกาสสำหรับวิชาชีพ Mode 1: การให้บริการข้ามพรมแดน สถานศึกษาไทยให้บริการ e-education /e-training กับนักเรียน/พยาบาลต่างชาติ ร่วมให้บริการ Telemedicine ร่วมให้บริการการให้คำปรึกษาการพยาบาลเฉพาะทางและหรือการบริหารการพยาบาลต่างๆ เป็นต้น
รูปแบบการค้าบริการ: โอกาสสำหรับวิชาชีพ Mode 2: การบริโภคในต่างประเทศ ผู้ป่วยต่างชาติเข้ามารับบริการสุขภาพและการพยาบาลในไทย ดำเนินการมาแล้วอย่างต่อเนื่องและจะเพิ่มมากยิ่งขึ้น จากนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ (Medical Hub/Medical Tourism; แรงงานต่างชาติในภาคเอกชน)และการเข้าสู่ AC ในปี พ.ศ. 2558 ต่อไป • ผู้ป่วยต่างชาติ และผู้ป่วย/ผู้รับบริการ AC เข้ามารับบริการสุขภาพในไทย • นักท่องเที่ยวต่างชาติ และใน AC มารับบริการส่งเสริมสุขภาพ ในไทย • แรงงานต่างชาติจาก AC มาทำงานและมารับบริการบริการสุขภาพในไทย
ภาพรวมการค้า/ธุรกิจบริการสุขภาพของไทยภาพรวมการค้า/ธุรกิจบริการสุขภาพของไทย • รัฐบาลไทยได้ประกาศนโยบายการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 เป็นต้นมา โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดวิสัยทัศน์ Thailand as World Class Healthcare Destination • กำหนดให้ไทยเป็น Academic Medical Hub of Asia เพื่อเพิ่มและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสุขภาพ โดยแบ่งบริการหลักออกเป็น • 1) ธุรกิจบริการรักษาพยาบาล • 2) ธุรกิจบริการส่งเสริมสุขภาพ • 3) ธุรกิจผลิตภัณฑ์สุขภาพและสมุนไพรไทย และ • 4) บริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ภาพรวมการค้า/ธุรกิจบริการสุขภาพของไทย (ต่อ) • ชาวต่างชาติที่เข้ามารับบริการทางการแพทย์ในไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี จาก 1,103,095 คน ในปี 2547 เป็น 1,390,000 คนในปี 2553 (กรมส่งเสริมการส่งออกและกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ , 2553) • จำนวนชาวต่างชาติจากประเทศสมาชิกอาเซียนที่มารับบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนไทยระหว่างปี 2546-2550 เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จาก36,708 คน ในปี 2546 และเพิ่มขึ้นเป็น 115,561 คน ในปี 2550 ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยจากอาเซียนมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นไปได้อีกมากในอนาคต • โรงพยาบาลเอกชนไทยหลายแห่งได้ให้ความสำคัญกับผู้ป่วยในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น โดยเห็นได้จากการที่โรงพยาบาลได้จัดบุคลากรที่มีความรู้ด้านภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน “โครงการศึกษาเพื่อจัดทายุทธศาสตร์การพัฒนาภาคบริการของประเทศ” • นำเงินเข้าประเทศได้อย่างมาก /การท่องเที่ยว + การบริการสุขภาพ เป็น Medical Tourism และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
รูปแบบการค้าบริการ: โอกาสสำหรับวิชาชีพ • Mode 2: การบริโภคในต่างประเทศ ทำให้เกิดโอกาสให้: • สถานศึกษาพยาบาลในประเทศที่จะพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตพยาบาลสำหรับประชาคมอาเซียนและนานาชาติ • พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลวิชาชีพเฉพาะทางและพยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง และผู้บริหารการพยาบาลที่ต้องพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นต่อการให้บริการผู้ป่วยต่างชาติ • พัฒนากำลังคนสาขาการพยาบาลให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง • และอื่นๆ
รูปแบบการค้าบริการ: โอกาสสำหรับวิชาชีพ Mode 3: การจัดตั้งธุรกิจ • โรงพยาบาลไทยลงทุนและเปิดให้บริการสุขภาพในต่างประเทศ พยาบาลวิชาชีพไทยทำงานในโรงพยาบาลไทยในต่างประเทศ • โรงพยาบาลต่างประเทศมาร่วมลงทุนตั้งโรงพยาบาลในเครือของตนเองในไทยต้องมีผู้บริหาร/พยาบาลไทยทำงานกับผู้บริหารโรงพยาบาลและทีมสุขภาพต่างชาติ
รูปแบบการค้าบริการ: โอกาสสำหรับวิชาชีพ Mode 4: การให้บริการโดยบุคคลธรรมดา นักเรียนพยาบาลปี 4 /พยาบาลวิชาชีพของประเทศอาเซียนมีความสนใจที่จะไปประกอบวิชาชีพในต่างประเทศภายในอาเซียนต้องเตรียมตัวอย่างไร? • เป็นโอกาสของผู้ประกอบวิชาชีพแต่ละคนที่จะแสวงหา • ที่ผ่านมาตั้งแต่อดีต พยาบาลไทยสนใจไปทำงานต่างประเทศ เช่น USA เป็นต้นปีละไม่มากนัก (กำลังศึกษาวิจัยสถานการณ์ ปัญหา ความพึงพอใจ ฯลฯ) • ผู้ประกอบวิชาชีพ ที่สนใจทำงานใน AC ต้องศึกษาข้อตกลงการยอมรับร่วมสาขาการพยาบาล (MRA on Nursing Service) และเตรียมตัวให้พร้อมที่จะต้องไปให้บริการผู้ป่วยในต่างวัฒนธรรม
MRA on Nursing Service • Mode 4:การให้บริการโดยบุคคลธรรมดา • ความตกลง AFAS มีผลบังคับใช้เพื่อลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดและเพื่อให้มีการปฏิบัติเยี่ยงคนในชาติ • ข้อตกลงการยอมรับร่วม (MRAs) 7 สาขา • MRA สาขาการพยาบาล ลงนาม 8 ธันวาคม 2006 (พ.ศ. 2549) • การเคลื่อนย้ายเฉพาะผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อตกลงยอมรับร่วม MRA-NS (เริ่มในปี 2015) • กำหนดขึ้นเพื่อสร้างความเข้มแข็ง/ศักยภาพของผู้ประกอบวิชาชีพโดยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล ความรู้ การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญและ/หรือความเชี่ยวชาญต่างๆ ประสบการณ์และ best practice ตามความต้องการของประเทศสมาชิก
MRA สาขาการพยาบาล • พยาบาลวิชาชีพ หมายถึง บุคคลธรรมดาที่ผ่านการทดสอบเพื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลและได้รับการประเมินโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพพยาบาลของประเทศแหล่งกำเนิด (Country of Origin) ว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติทางด้านเทคนิค จริยธรรม และกฎหมาย ที่จะประกอบวิชาชีพพยาบาล และขึ้นทะเบียนและ/หรือได้รับใบอนุญาตสำหรับการประกอบวิชาชีพดังกล่าวจากหน่วยงานผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพพยาบาลของประเทศแหล่งกำเนิด (Country of Origin) นั้น ทั้งนี้ คำว่าพยาบาลวิชาชีพไม่รวมถึงพยาบาลเทคนิค
MRA สาขาการพยาบาล • พยาบาลวิชาชีพต่างชาติ หมายถึงพยาบาลวิชาชีพที่มีสัญชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนและ ได้ขึ้นทะเบียนและ/หรือได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศแหล่งกำเนิด และมาสมัครขอขึ้นทะเบียน และ/หรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับ โดยต้องเป็นไปตามกฎระเบียบในประเทศผู้รับ • คุณสมบัติของพยาบาลวิชาชีพ หมายถึง คุณสมบัติการเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับจากสถาบันฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพซึ่งสถาบันดังกล่าวได้รับการยอมรับโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลวิชาชีพพยาบาล และ/หรือ หน่วยงานใดที่เหมาะสมในประเทศแหล่งกำเนิด
คุณสมบัติในการเป็นพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ • พยาบาลวิชาชีพต่างชาติสามารถขอขึ้นทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับ โดยต้องเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับของประเทศผู้รับ พยาบาลวิชาชีพต่างชาติต้อง: • สำเร็จการศึกษาวิชาชีพการพยาบาล; • จดทะเบียน และ/หรือได้รับใบอนุญาตจากประเทศแหล่งกำเนิด ที่ยังมีผลในปัจจุบัน; • มีประสบการณ์ในภาคปฏิบัติวิชาชีพพยาบาลไม่น้อยกว่า 3 ปีต่อเนื่อง ก่อนที่จะสมัครขอขึ้นทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาต ; • ปฏิบัติสอดคล้องตามนโยบายการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ของประเทศแหล่งกำเนิดในระดับที่น่าพอใจ;
คุณสมบัติในการเป็นพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ (ต่อ) • ได้รับใบรับรองจากผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพพยาบาล (NRA) ของประเทศแหล่งกำเนิดว่าไม่มีประวัติการกระทำผิดอย่างร้ายแรงด้าน เทคนิค มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ ระดับท้องถิ่นและระหว่างประเทศ ในการประกอบวิชาชีพพยาบาล; และ • มีคุณสมบัติด้านอื่น ๆ ตามที่กำหนด เช่น ต้องแสดงผลตรวจร่างกายหรือผ่านการทดสอบสมรรถภาพ หรือข้อกำหนดอื่นใดตามที่หน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานของรัฐในประเทศผู้รับเห็นสมควรในการกำหนดคุณสมบัติของการขอขึ้นทะเบียน และ/หรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาล
สิทธิและหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ • สิทธิของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติภายใต้เงื่อนไขของกฎหมาย และข้อบังคับภายในประเทศของแต่ละประเทศ พยาบาลวิชาชีพต่างชาติซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุใน ข้อ 3.1 มีสิทธิในการเข้าไปประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับได้ • หน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ ต้องปฏิบัติสอดคล้องตาม: • หลักประพฤติปฏิบัติทางวิชาชีพของท้องถิ่น สอดคล้องกับนโยบายด้านจรรยาบรรณและความประพฤติที่มีและใช้บังคับโดยประเทศผู้รับ; • กฎระเบียบ ข้อบังคับภายในประเทศของประเทศผู้รับรวมทั้ง กฎระเบียบข้อบังคับอื่นใดที่ใช้กำกับดูแลการประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับ; • ข้อกำหนดใด ๆ สำหรับโครงการประกันความเสียหายในประเทศผู้รับ; • วัฒนธรรมและประเพณีนิยมในประเทศผู้รับ
MRA: สภาการพยาบาลกับพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ • หน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาล(NRA) หมายถึงหน่วยงานที่ได้รับอำนาจจากรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิก ให้มีหน้าที่กำกับดูแลการประกอบวิชาชีพพยาบาล • การประกอบวิชาชีพพยาบาล หมายถึง การให้บริการดูแลพยาบาลโดยพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย การส่งเสริม การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูรวมทั้งการศึกษา การวิจัย • สถาบันฝึกอบรมที่ได้รับการยอมรับ หมายถึง มหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่ให้การฝึกอบรมด้านการประกอบวิชาชีพพยาบาลที่ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาล และ/หรือหน่วยงานอื่นที่เหมาะสม(เช่นกระทรวงสาธารณสุข)ในประเทศแหล่งกำเนิด
MRA: สภาการพยาบาลมีความรับผิดชอบดังต่อไปนี้: • ประเมินคุณสมบัติและประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ; • ขึ้นทะเบียน และ/หรือออกใบอนุญาตให้พยาบาลวิชาชีพต่างชาติในการเข้ามาการประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับ; • ติดตามตรวจสอบและประเมินการประกอบวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติที่ได้จดทะเบียน และ/หรือได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาล; และ • ตรวจสอบติดตาม เพื่อให้แน่ใจว่าพยาบาลต่างชาติจะรักษามาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพพยาบาลที่สอดคล้องกับหลักประพฤติปฏิบัติด้านวิชาชีพของประเทศผู้รับ
คณะกรรมการประสานงานด้านพยาบาลวิชาชีพอาเซียน(ASEAN Joint Coordinating Committee on Nursing: AJCCN) • คณะกรรมการประสานงานด้านพยาบาลวิชาชีพอาเซียนต้องเป็นผู้วางกลยุทธ์ในการดำเนินตามมติของตนเอง เช่น • อำนวยความสะดวกในดำเนินการตามข้อตกลง ฯ; • สร้างความเข้าในร่วมกันทั้งด้านนโยบาย กระบวนการและการปฏิบัติในการพัฒนาและส่งเสริมกลยุทธ์ในการดำเนินการตามข้อตกลงฯ ; • ร่วมกันคิดค้นกระบวนการเพื่อนำไปสู่การสร้างมาตรฐานและหลักเกณฑ์การยอมรับร่วมกันสำหรับการดำเนินการตามข้อตกลงฯ; เป็นต้น
ความก้าวหน้าในการดำเนินการของ AJCCN • ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ คืบหน้าช้า ประชุมแล้วกว่า 11 ครั้ง • ปรับเปลี่ยนวิธีการ MRA Roadmap. • ตกลงกันได้ในเรื่อง กำหนดองค์ประกอบของ สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอาเซียน • ประเทศสมาชิกกำลังดำเนินการให้มี กฎหมายและสภาการพยาบาลขึ้น • กำลังสรุปเรื่องข้อมูลจำเป็นที่ต้องเผยแพร่ใน Website สำหรับพยาบาลต่างชาติที่สนใจให้บริการในต่างประเทศ ศึกษาและเตรียมตัว • มีปัญหาในการสนับสนุนจากรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อให้มีการดำเนินการตาม MRA
ความก้าวหน้าในการดำเนินการความก้าวหน้าในการดำเนินการ • AJCCN และของสาขาสุขภาพ จะมีการประชุมกันครั้งสุดท้ายของปี 2556 ในเดือน มกราคม 2556และจะประชุมครั้งต่อไปในเดือนกรกฎาคม 2556 นี้ ประเทศไทยเป็นประธานที่ประชุมสำหรับปีนี้ • สภาการพยาบาลต้องดำเนินการตาม MRA: • ต้องมีการเตรียมสมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้บริหารการพยาบาล อาจารย์ • ต้องจัดทำ Website ASEAN Nursing • ต้องเตรียมหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่มีขีดความสามารถทำงานตามหน้าที่ที่ระบุใน MRA • Regulations
แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ • คณะกรรมการเครือข่ายนานาชาติ สภาการพยาบาล • ศึกษาวิเคราะห์และกำหนด (ร่าง) แนวทางแนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสภาการพยาบาล • ร่าง แนวทางฯ เป็นแนวทางเตรียมความพร้อมขององค์กรพยาบาลเพื่อโอกาสของแต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ • แนวทางที่ 1 ส่งเสริมการผลิตกำลังคนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนไทยทุกคน และผู้รับบริการตามนโยบาย Medical Hub และแรงงานต่างชาติตามนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจในประชาคมอาเซียน เช่น.. • ยุทธวิธีที่ 1 วิเคราะห์ความต้องการกำลังคนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน วิเคราะห์ความต้องการกำลังคนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศสมาชิกอาเซียน วางแผนกำลังคน กำลังติดตามประเมินความต้องการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งประเมินผลกระทบต่อบริการสุขภาพ
แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ต่อ) • แนวทางที่ 1 ส่งเสริมการผลิตกำลังคนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ...(ต่อ) • ยุทธวิธีที่ 2การส่งเสริมการผลิตพยาบาลและผดุงครรภ์ให้มีปริมาณและคุณภาพและความสามารถตามสมรรถนะที่กำหนดและ ส่งเสริมการผลิตพยาบาลเฉพาะ พยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูง ครูพยาบาลและผู้บริหารการพยาบาลให้มีสมรรถนะการพยาบาลระดับต่างๆ ตามที่กำหนด • ยุทธวิธีที่ 6 ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาร่วมกับสถานบริการสุขภาพศึกษาวิจัยการแลกเปลี่ยนทั้งทางวิชาการและการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียน
แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ต่อ) • แนวทางที่ 2 การส่งเสริมให้หน่วยบริการพยาบาลมีศักยภาพและความพร้อมในการให้บริการสุขภาพประชาคมอาเซียนและนานาชาติ • ยุทธวิธีที่ 1 สร้างระบบ กลไก กลวิธีการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ระบบสุขภาพอาเซียนและการมีส่วนร่วมในประชาคมอาเซียนร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง • ยุทธวิธีที่ 2 การส่งเสริมให้ผู้บริหารการพยาบาลทุกระดับทั้งภาครัฐ เอกชน และทั้งในสถาบันการศึกษาและสถานบริการสุขภาพทุกระดับให้มีสมรรถนะผู้นำอาเซียนตามที่สำนักงาน ก.พ.กำหนด โดยการเข้าฝึกอบรมตามหลักสูตรฯที่กำหนด
แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ต่อ) • แนวทางที่2 การส่งเสริมให้หน่วยบริการพยาบาลมีศักยภาพและความพร้อมในการให้บริการสุขภาพประชาคมอาเซียนและนานาชาติ เช่น ยุทธวิธีที่ 3 พัฒนาระบบจัดการความรู้และข้อมูลระบบบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของประเทศและประชาคมอาเซียน ยุทธวิธีที่ 4 สร้างมาตรการและแรงจูงใจให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์มีการพัฒนาความสามารถในการให้บริการพยาบาลตามมาตรฐานสากล และการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ต่อ) • แนวทางที่3 การสร้างเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรวิชาชีพพยาบาลทุกระดับในการดำเนินงานในบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เช่น ยุทธวิธีที่ 1 ส่งเสริมการพัฒนาองค์กรวิชาชีพทางการพยาบาลให้เป็นผู้นำทั้งด้านการศึกษา การบริการ การบริหาร การวิจัย ในประชาคมอาเซียน ยุทธวิธีที่ 3 การปรับปรุงและพัฒนานโยบาย/กฎหมาย ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) สำหรับการเข้ามาประกอบวิชาชีพของพยาบาลต่างด้าวและสำหรับการไปประกอบวิชาชีพในประเทศประชาคมอาเซียน
แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ต่อ) • แนวทางที่3 การสร้างเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรวิชาชีพพยาบาลทุกระดับในการดำเนินงานในบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ต่อ) เช่น ยุทธวิธีที่ 4 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความรู้สุขภาพอาเซียนในประเด็นสำคัญ อาทิ การติดตามประเมินผลกระทบเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเสรีด้านบริการสุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพ ค่าใช้จ่ายการเข้าถึงบริการสุขภาพ ความต้องการและความคาดหวังด้านสุขภาพอาเซียน เป็นต้น
เอกสารอ่านเพิ่มเติม • http://www.chinadaily.com.cn/bizchina/2012-01/07/content_14399278.htm Updated: 2012-01-07 13:22(Xinhua) • AyakaMatsunoNurse Migration: The Asian Perspective ILO/EU Asian program on the Governance of Labor Migration. Techical Note. • Pachanee C, Wibulpolprasert S (2007), Trade in Health Services in the ASEAN Context. In: Blouin C, Heymann J, and Drager N, editors. Trade and Health: Seeking Common Ground. Montreal: McGill-Queen’s University Press. • E-Health Bulletin. www.aseansec.org/.../E_Health • สำนักการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ข้อผูกพันการเปิดเสรีของอาเซียนสาขาสุขภาพ และการจัดทำมาตรฐานวิชาชีพ (MRA) • ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่www.dtn.go.th, www.thaifta.com
เอกสารอ่านเพิ่มเติม • เอกสารการบรรยายเรื่อง ข้อผูกพันการเปิดเสรีของอาเซียนสาขาสุขภาพ และการจัดทำมาตรฐานวิชาชีพ (MRA) ของสำนักการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ • กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ • กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ