781 likes | 2.06k Views
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support) สำหรับประชาชน. โครงการหมออ่วมช่วยชีวิต กรมแพทย์ทหารบก. วัตถุประสงค์. ทราบนิยามของการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน เข้าใจการทำงานของระบบหายใจและระบบไหลเวียน ทราบความสำคัญของการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
E N D
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน(Basic Life Support)สำหรับประชาชน โครงการหมออ่วมช่วยชีวิต กรมแพทย์ทหารบก
วัตถุประสงค์ • ทราบนิยามของการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน • เข้าใจการทำงานของระบบหายใจและระบบไหลเวียน • ทราบความสำคัญของการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน • ทราบขั้นตอนการปฏิบัติ และสามารถปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง • สามารถเข้าถึงระบบการบริการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง
ร่างกายเรามีชีวิตอยู่ได้อย่างไร?ร่างกายเรามีชีวิตอยู่ได้อย่างไร? • ออกซิเจนจากอากาศที่หายใจเข้าไป และอาหารที่กิน • เลือดจะเป็นตัวนำออกซิเจนและอาหารไปยังเซลต่างๆในร่างกาย โดยมีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ • ถ้าหัวใจหยุดทำงาน !!!! • เซลต่างๆจะหยุดทำงาน เซลที่ไวต่อการขาดออกซิเจนที่สุดคือ..... • สมอง • ดังนั้นผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้น หรือหยุดหายใจ จะหมดสติ ปลุกไม่ตื่น • เราจะช่วยเขาได้อย่างไร?
Fact ขาดออกซิเจนแต่ยังไม่ตาย…แก้ไขได้..!!! Fact : สมองตายแล้วแก้ไขไม่ได้..!!!
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานคืออะไร?การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานคืออะไร? • การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน คือ การช่วยชีวิตในผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้น หรือหยุดหายใจ ประกอบด้วย • การประเมินว่าผู้ป่วยหมดสติ ปลุกไม่ตื่น • ให้การช่วยเหลือโดยการ • A: (Airway) เปิดทางเดินหายใจ • B: (Breathing) ประเมินการหายใจและช่วยหายใจ • C: (Circulation) ประเมินระบบไหลเวียนและกดหน้าอกนวดหัวใจ • ในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ต้องกระทำทันทีที่พบผู้ป่วย ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยน้อยที่สุด หรือไม่มีเลย
ความจำเป็นของการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานความจำเป็นของการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน • ตั้งแต่หัวใจหยุดเต้น อัตราการรอดชีวิตจะลดลงร้อยละ ๗-๑๐ ทุกๆนาที่ที่ผ่านไป • การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานจะช่วยพยุงให้มีระบบไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนที่สำคัญในร่างกาย เพื่อรอความช่วยเหลือขั้นต่อไป • ถ้าการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อาจช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นคืนชีพได้
Cardio-Pulmonary Arrest HEART LUNG STOP • โรคหัวใจ • ไฟฟ้าช็อต • จมน้ำ = ขาดอากาศ • โรคสมอง • แพ้ยา / แพ้แมลง • บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ • เจ็บป่วยอาการหนัก
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิต • ห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต ถ้าสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนทั้งหมดอย่าง ต่อเนื่องได้ภายในครึ่งชั่วโมง โอกาสรอดชีวิตจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๓๐ • ประกอบด้วย • การประเมินและขอความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว • การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานอย่างรวดเร็ว • การกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว • การช่วยชีวิตขั้นสูงอย่างรวดเร็ว
การขอความช่วยเหลือในระบบบริการแพทย์ฉุกเฉินการขอความช่วยเหลือในระบบบริการแพทย์ฉุกเฉิน • หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน คือ๑๖๖๙ • เมื่อโทร.ขอความช่วยเหลือ ตั้งสติให้ดี เมื่อเจ้าหน้าที่รับสาย ให้แจ้งเหตุช้าๆและชัดเจน รอให้เจ้าหน้าที่สอบถามรายละเอียด • เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รายละเอียดแล้ว แจ้งว่าจะส่งรถพยาบาลมารับ รอให้เจ้าหน้าที่วางสายก่อน จึงค่อยวางสาย เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่ได้ข้อมูลครบถ้วน
เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติ ท่านควรทำอย่างไร? • ประเมินสถานการณ์ และความปลอดภัยในที่เกิดเหตุ • ประเมินการรู้สติของผู้ป่วยโดยการจับไหล่ เขย่าตัว เรียกปลุกดังๆ
การจัดท่าที่เหมาะกับการช่วยชีวิตการจัดท่าที่เหมาะกับการช่วยชีวิต • จัดให้ผู้ป่วยนอนหงาย บนพื้นที่แข็งพอสมควร • ในผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ต้องระวังเรื่องการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังส่วนคอ ควรประคองศีรษะและคอให้ดี
การประเมินและการเปิดทางเดินหายใจA: Airway • ในผู้ที่หมดสติ กล้ามเนื้อลิ้นจะอ่อนแรง ทำให้ลิ้นตกไปปิดทางเดินหายใจธีแก้ไข ทำได้โดยการดันหน้าผากให้ศีรษะเงยไปข้างหลัง เชยคางขึ้น ลิ้นที่ติดอยู่กับกระดูกกรามจะถูกยกขึ้น ทางเดินหายใจเปิดโล่ง
A : Airway • กดหน้าผาก • เชยคาง
การประเมินการหายใจและการช่วยหายใจB: Breathing • เมื่อเปิดทางเดินหายใจแล้ว ให้ประเมินว่าผู้ป่วยหายใจหรือไม่โดย การมองดูว่าหน้าอกขยับตามจังหวะการหายใจ, ฟังเสียงลมหายใจ, รับสัมผัสลมหายใจ • ใช้เวลาประเมินประมาณ ๕ วินาที เพื่อสังเกตว่าผู้ป่วยหายใจได้ปกติหรือไม่ • ถ้าผู้ป่วยหายใจได้ปกติ ให้จัดผู้ป่วยนอนท่าพักฟื้น เพื่อให้ทางเดินหายใจเปิดตลอดเวลา
B-Breathing ประเมินอาการ Look ตาดู Listen หูฟัง Feel แก้มรับสัมผัส กรณีที่บาดเจ็บระวังคอหัก !!!
การจัดท่าพักฟื้นRecovery Position
การช่วยหายใจ ในกรณีผู้ป่วยหยุดหายใจ จโดยการเป่าปาก • หายใจเข้าปกติ เลื่อนนิ้วมือที่ดันหน้าผากมาบีบจมูกผู้ป่วยให้ปิดสนิท ประกบปากเข้ากับปากผู้ป่วยให้สนิท แล้วเป่าลมเข้าไป ใช้เวลา ๑-๒ วินาที คอยมองดูว่าถ้าหน้าอกผู้ป่วยขยายยกขึ้นตามลมหายใจที่เป่าเข้าไป ก็พอเพียงแล้ว • ถอนปากออก ปล่อยให้ลมหายใจออกตามปกติ แล้วประกบปากเป่าอีกครั้งหนึ่ง
ถ้าเป่าครั้งแรก แล้วเป่าไม่เข้า • ให้จัดเปิดทางเดินหายใจใหม่ แล้วลองเป่าอีกครั้ง • ถ้ายังเป่าไม่เข้าแสดงว่าอาจมีสิ่งแปลกปลอมอุดทางเดินหายใจ ให้เปิดปากและจัดการนำสิ่งแปลกปลอมออกจากปาก • อย่าเป่าลมเข้ามากเกินไป อาจมีอันตรายต่อผู้ป่วยได้
เป่าไม่เข้า? ดูในปาก-คออีกที ถ้าโล่งดีให้จัดท่าใหม่ ประกบปากให้สนิท BASIC LIFE SUPPORT B Breathing หน้าอกขยับขึ้น-ลง มีลมหายใจออก
C Circulation ประเมินอาการหลังช่วยหายใจ • Breathing มีการหายใจ • Coughไอ,สำลัก • Movement ขยับตัว เคลื่อนไหว
C Circulation ไม่หายใจ ไม่ขยับ ไม่มีอะไรเลย !!! Pump …
ถ้าไม่มีชีพจร เริ่มกดหน้าอก นวดหัวใจ • กดที่ตำแหน่ง ครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก • วัดหาตำแหน่งกด โดยใช้ระยะ ๒ นิ้วมือจากลิ้นปี่ วางมือต่อจากนิ้วที่วัด • ประกบมือซ้อนกัน กระดกปลายนิ้วขึ้น อย่าวางนิ้วมือแนบไปกับหน้าอก • เหยียดแขนตึง บีบศอกเข้าหากัน
ท่าที่เหมาะสมในการกดหน้าอก นวดหัวใจ • ทิ้งน้ำหนักตัวผ่านแขนลงมาตรงๆ ตั้งฉากกับลำตัวผู้ป่วย ให้หน้าอกยุบตามต้องการ
การกดหน้าอกที่ถูกต้องการกดหน้าอกที่ถูกต้อง กดแรงและเร็ว
การกดหน้าอกที่ถูกต้องการกดหน้าอกที่ถูกต้อง ปล่อยให้หน้าอกกลับสู่ปกติ แล้วค่อยกดซ้ำอีกครั้ง
การกดหน้าอกและการช่วยหายใจการกดหน้าอกและการช่วยหายใจ • กด ๓๐ ครั้ง • กดลึก ๑ ๑/๒ – ๒ นิ้ว หรือให้หน้าอกยุบลงประมาณ ๑/๒ – ๑/๓ ของขนาดรอบอก • กดในอัตราความเร็ว ๑๐๐ ครั้ง/นาที • อัตราส่วนการกดหน้าอก : การเป่าปาก = ๓๐ : ๒ นับเป็นหนึ่งรอบ • ประเมินซ้ำเมื่อครบ ๕ รอบ (ทุก ๒-๓ นาที) • ทำไปอย่างต่อเนื่อง จนกว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวหรือได้รับความช่วยเหลือ
กดอก 30 ครั้ง เป่าช้าๆ 2 ครั้ง อกขยับขึ้น เรียกคนมาช่วย เมื่อครบ 5 รอบ
เป่าช้าๆ 2 ครั้ง/รอบ กด 30ครั้ง/รอบ 1-2-3-4-5-6 7-8-9-10 . . . 30 ครบ 5 รอบแล้ว ดูอาการผมอีกครั้ง
สรุปขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสรุปขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน • ประเมินความปลอดภัยในที่เกิดเหตุ • ประเมินการรู้สติของผู้ป่วยโดยการเขย่าตัว และเรียกปลุกดังๆ • ถ้าผู้ป่วยไม่รู้สติ เรียกขอความช่วยเหลือ • เปิดทางเดินหายใจ โดยการเงยศีรษะ-เชยคาง • ประเมินการหายใจ โดยการดู ฟัง รับสัมผัส • ถ้าผู้ป่วยหายใจ จัดผู้ป่วยนอนในท่าพักฟื้น • ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ช่วยหายใจโดยการเป่าปาก ๒ ครั้ง • กดหน้าอกที่กลางหน้าอก เหนือลิ้นปี่ ๒ นิ้วมือ กดลึก ๑.๕-๒ นิ้ว กดทั้งหมด ๓๐ ครั้ง แล้วเป่า ๒ ครั้ง นับเป็น ๑ รอบ • ทำซ้ำทั้งหมด ๕ รอบ แล้วประเมินผู้ป่วยอีกครั้ง ถ้ายังไม่รู้สติให้ทำต่อไป จนกว่าจะได้รับความช่วยเหลือ
การช่วยชีวิตโดยผู้ช่วยเหลือ ๒ คน • ได้ประสิทธิภาพมากกว่า, เหนื่อยน้อยกว่า • แบ่งหน้าที่ กดหน้าอกนวดหัวใจ และเป่าปากช่วยหายใจ • อัตราส่วนการกดหน้าอก : การเป่าปาก = ๓๐ : ๒
การช่วยชีวิตโดยผู้ช่วยเหลือ ๒ คน • สลับเปลี่ยนหน้าที่กันได้ • ควรสลับเปลี่ยนหน้าที่กัน ทุก ๕ รอบ ( ๒-๓ นาที) • การสลับตำแหน่งควรทำให้เสร็จภายใน ๕ วินาที
ทางเดินหายใจถูกอุดกั้นจากการสำลักทางเดินหายใจถูกอุดกั้นจากการสำลัก สาเหตุ • อาหาร • ฟันปลอม • เมาสุรา อาเจียน • ของเล่น • อื่นๆ
อาการ และการช่วยเหลือเมื่อสำลัก • ถ้าสำลัก ผู้ป่วยยังหายใจได้พอ จะพยายามไอ หรือ ขาก เอาสิ่งแปลกปลอมออกมาเอง ไม่ต้องให้ความช่วยเหลือ • ถ้าสำลักแล้วหายใจได้น้อย จะมีอาการหายใจเสียงดังหวีด หน้าเขียว กลุ่มนี้ต้องให้ความช่วยเหลือ • ถ้าสำลักแล้วหายใจไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการพูดไม่ได้ หน้าเขียว เอามือกุมคอ กลุ่มนี้ต้องให้ความช่วยเหลือ
การช่วยเหลือเมื่อสำลักการช่วยเหลือเมื่อสำลัก • ถามยืนยันว่าผู้ป่วยสำลัก และบอกว่าจะทำการช่วยเหลือ • ยืนอยู่หลังผู้ป่วย สอดมือทั้งสองโอบรอบลำตัวผู้ป่วย กำมือข้างหนึ่งวางไว้ที่ตำแหน่ง กึ่งกลางระหว่างสะดือและลิ้นปี่ เอามืออีกข้างรองไว้ • ดึงรัดมือทั้งสองข้างเข้าหาตัว ในทิศทางเฉียงขึ้นจากช่องท้องไปช่องอก ๔-๕ ครั้ง • การรัด กระแทก จะทำให้เกิดแรงดันในช่องท้องและช่องอก ดันให้สิ่งแปลกปลอมที่ติดอยู่เลื่อน ออกมาจนผู้ป่วยสามารถสำรอกสิ่งแปลกปลอมนั้นออกมาได้
การช่วยเหลือกรณีเด็กสำลักการช่วยเหลือกรณีเด็กสำลัก เด็กเล็ก (แรกเกิด-๑ ปี) เด็กโต (๑-๘ ปี)
สรุป • ความหมายของการช่วยชีวิต • ความสำคัญของการช่วยชีวิต • การขอความช่วยเหลือจากระบบบริการแพทย์ฉุกเฉิน • ขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยชีวิต • การช่วยเหลือกรณีผู้ป่วยสำลักสิ่งแปลกปลอม
Take Home 1.Early Assess ประเมินให้ไว 2.Early CPR ภายใน 4 นาที 3.ABC จำแม่น A B C A-Airway ทางเดินหายใจคล่อง ส่องดูในปาก B-Breathing ช่วยหายใจไม่ยาก C-Circulation กดหน้าอก
คำถาม ?