840 likes | 1.69k Views
แบบจำลองอะตอม โดย ครูเกษศิรินทร์ พลหาญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนทัพราชวิทยา. อะตอม คือ?.
E N D
แบบจำลองอะตอมโดย ครูเกษศิรินทร์ พลหาญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนทัพราชวิทยา
ดิโมคริตุส และลูซิพปุส นักปราชญ์ชาวกรีกเชื่อว่าถ้าแบ่งสารให้มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ในที่สุดจะได้หน่วยย่อย ซึ่งไม่สามารถแบ่งให้เล็กลงได้อีก และเรียกหน่วยย่อยนี้ว่า อะตอม อะตอม (Atom) คือ หน่วยพื้นฐานของสสาร
ภาพจำลองอะตอมของทองคำที่สร้างขึ้นจากเครื่องมือ atomic force microscope (AFM)
มารูจักแบบจำลองอะตอมกันก่อนเลยจ๊ะมารูจักแบบจำลองอะตอมกันก่อนเลยจ๊ะ แบบจำลองอะตอม คือ มโนภาพที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่ออธิบายลักษณะของอะตอม โดยได้จากการแปลผลจากข้อมูลที่ได้จากการทดลอง และนำมาสร้างเป็นมโนภาพหรือแบบจำลอง
ทฤษฎีอะตอมของดอลตัน 1.ธาตุ ประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆ เรียกว่า อะตอม อะตอมแบ่งแยกและทำให้สูญหายไม่ได้ 2. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน แต่มีสมบัติแตกต่างจากอะตอมของธาตุอื่น 3. สารประกอบ เกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่าหนึ่งชนิดทำปฏิกิริยากันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวน้อยๆ
แบบจำลองอะตอมของดอลตันมีลักษณะเป็นทรงกลมทึบตันแบบจำลองอะตอมของดอลตันมีลักษณะเป็นทรงกลมทึบตัน
การนำไฟฟ้าของของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
การนำไฟฟ้าของก๊าซ • ก๊าซที่ภาวะปกติไม่นำไฟฟ้า แต่ก๊าซจะนำไฟฟ้าได้เมื่ออยู่ในภาวะ 1. ลดความดันของก๊าซให้ต่ำมากๆ 2. เพิ่มความต่างศักดิ์ระหว่างขั้วไฟฟ้าให้สูงมากๆ
การทดลองเกี่ยวกับรังสีแคโทดพบว่า เมื่อลดความดันของก๊าซให้ต่ำมากๆและเพิ่มความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้าให้สูงมากๆ จะมีรังสีแคโทดพุ่งมาจากขั้วแคโทดไปยังแอโนด
ภาพการทดลองของออยเกน โกลด์ชไตน์
จากการทดลองหลายครั้ง ๆ - โดยการเปลี่ยนชนิดของแก๊สในหลอดแก้ว ปรากฏว่าอนุภาคที่มีประจุบวกเหล่านี้มี อัตราส่วนของประจุต่อมวลไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของแก๊สที่ใช้ - เมื่อทดลองโดย เปลี่ยนโลหะที่ใช้ทำขั้วไฟฟ้าหลาย ๆ ชนิด แต่ใช้แก๊สในหลอดแก้วชนิดเดียวกัน ปรากฏว่าผลการทดลองได้ อัตราส่วนของประจุต่อมวลเท่ากัน *แสดงว่าอนุภาคบวกในหลอดรังสีแคโทดเกิดจากแก๊ส ไม่ได้เกิดจากขั้วไฟฟ้า
- เมื่อผ่านรังสีนี้ไปยังสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า รังสีนี้จะเบี่ยงเบนไปในทิศทางตรงข้ามกับรังสีแคโทด แสดงว่ารังสีนี้ประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก • อนุภาคที่มีประจุบวกเหล่านี้มีอัตราส่วนประจุต่อมวล (e/m) ไม่คงที่ และถ้าบรรจุแก๊สไฮโดรเจนไว้ในหลอดรังสีแคโทด จะได้อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวกเท่ากับประจุไฟฟ้าลบ เรียกอนุภาคบวกในรังสีแคแนลของไฮโดรเจนว่า “โปรตอน” “โปรตอน” มีอนุภาคที่มีประจุเป็นบวก มีมวล 1.66 x 10-24 g
สรุปการทดลองของออยเกน โกลด์ชไตน์ 1. พบอนุภาคที่มีประจุบวก 2. ประจุบวกเหล่านี้มีอัตราส่วนประจุ/มวลไม่คงที่ ขึ้นกับชนิดของแก๊สที่บรรจุในหลอดรังสีแคโทด 3. เรียกประจุบวกนี้ว่า โปรตอน
การทดสอบสมบัติของรังสีแคโทดการทดสอบสมบัติของรังสีแคโทด
สรุปการทดลองของทอมสันสรุปการทดลองของทอมสัน 1. รังสีแคโทดประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุลบ 2. หาอัตราส่วนประจุ/มวล ได้ค่าคงที่เท่ากับ 1.76 X 108 คูลอมบ์ต่อกรัม 3. อะตอมทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุลบเป็นองค์ประกอบ เรียกอนุภาคนี้ว่า อิเล็กตรอน
แบบจำลองอะตอมของทอมสันแบบจำลองอะตอมของทอมสัน อะตอมเป็นรูปทรงกลม ประกอบด้วยเนื้ออะตอมซึ่งมีประจุบวกและมีอิเล็กตรอนซึ่งเป็นประจุลบกระจายอยู่ทั่วไป อะตอมในสภาพที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีจำนวนประจุบวกเท่ากับจำนวนประจุลบ
การหามวลของอิเล็คตรอนการหามวลของอิเล็คตรอน ปี 2451 รอเบิร์ต แอนดรูส์ มิลลิแกน หาค่าประจุของอิเล็คตรอนได้เท่ากับ 1.60 x 10 -19 คูลอมบ์ นำไปแทนค่าใน e/m = 1.76 X 108 คูลอมบ์ต่อกรัม หามวลของอิเล็คตรอนได้เท่ากับ 9.11 x 10 -28 กรัม
การทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ด ในปี พ.ศ. 2453 เซอร์ เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Sir Ernest Rutherford) ได้ศึกษาแบบจำลองอะตอมของทอมสัน และเกิดความสงสัยว่าอะตอมจะมีโครงสร้างตามแบบจำลองของทอมสันจริงหรือไม่ โดยตั้งสมมติฐานว่า “ถ้าอะตอมมีโครงสร้างตามแบบจำลองของทอมสันจริง ดังนั้นเมื่อยิงอนุภาคแอลฟาซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเข้าไปในอะตอม แอลฟาทุกอนุภาคจะทะลุผ่านเป็นเส้นตรงทั้งหมดเนื่องจากอะตอมมีความหนาแน่นสม่ำเสมอเหมือนกันหมดทั้งอะตอม”
เพื่อพิสูจน์สมมติฐานนี้ รัทเทอร์ฟอร์ดได้ทำการทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำบาง ๆ โดยมีความหนาไม่เกิน 10–4cm โดยมีฉากสารเรืองแสงรองรับ
ปรากฏผลการทดลองดังนี้ปรากฏผลการทดลองดังนี้ • 1. อนุภาคส่วนมากเคลื่อนที่ทะลุผ่านแผ่นทองคำเป็นเส้นตรง • 2. อนุภาคส่วนน้อยเบี่ยงเบนไปจากเส้นตรง • 3. อนุภาคส่วนน้อยมากสะท้อนกลับมาด้านหน้าของแผ่นทองคำ
แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด • “อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนรวมกันอยู่ตรงกลาง นิวเคลียสมีขนาดเล็กแต่มีมวลมาก และมีประจุบวก ส่วนอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบและมีมวลน้อยมากวิ่งอยู่รอบ ๆนิวเคลียส”
การอธิบายโครงสร้างอะตอมด้วยแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดการอธิบายโครงสร้างอะตอมด้วยแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
การค้นพบนิวตรอน เซอร์เจมส์ แชดวิก ทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปยังโลหะชนิดต่างๆ พบว่ามีอนุภาคซึ่งไม่มีประจุไฟฟ้า มีมวลใกล้เคียงกับโปรตอน อยู่รวมกับโปรตอนในนิวเคลียส เรียกชื่อว่า อนุภาคนิวตรอน
เลขอะตอม (Atomic number : Z) เป็นค่าเฉพาะของธาตุแต่ละชนิดแสดงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส 1 อะตอมของธาตุนั้น ซึ่งอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันต้องมีจำนวนโปรตอนเท่ากันเสมอ เลขอะตอม (Z) = จำนวนโปรตอน (p)
เลขมวล (Mass number, A)เป็นตัวเลขแสดงผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอนของธาตุ ถ้าทราบเลขอะตอมจะสามารถหาจำนวนนิวตรอนของอะตอมได้โดยนำเลขอะตอมไปลบเลขมวล
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ • สัญลักษณ์นิวเคลียร์ (Nuclear Symbol,X) คือสัญลักษณ์ของธาตุที่แสดงอนุภาคมูลฐานของอะตอม ซึ่งจะเขียนเลขอะตอมแทน จำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอน ไว้ที่มุมซ้ายล่างของสัญลักษณ์ และเขียนเลขมวลไว้ที่มุมซ้ายบนของสัญลักษณ์ ดังนี้
ตัวอย่างสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุตัวอย่างสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ
การคำนวณอนุภาคมูลฐานของอะตอมจากสัญลักษณ์นิวเคลียร์ อะตอมของธาตุเป็นกลางทางไฟฟ้า คือ อะตอมของธาตุจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน เช่น
จงหาจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมธาตุต่อไปนี้ จากสัญลักษณ์นิวเคลียร์
p = 15 n = 16 5 กำหนดโครงสร้างอะตอมของธาตุฟอสฟอรัสให้ดังนี้ สัญลักษณ์นิวเคลียร์คือข้อใด ก. 1615P ข. 1516P ง. 3116P ค. 3115P
การหาจำนวนอนุภาคมูลฐานในไอออนการหาจำนวนอนุภาคมูลฐานในไอออน ไอออน คืออะตอมที่มีประจุไฟฟ้า มี 2 ชนิด • ไอออนบวก เกิดจากอะตอมเสียอิเลคตรอน เช่น Na เสีย 1e เกิดเป็น Na + Mg เสีย 2e เกิดเป็น Mg 2+ 2. ไอออนลบ เกิดจากอะตอมรับอิเลคตรอน เช่น Cl รับ 1e เกิดเป็น Cl - O รับ 2e เกิดเป็น O 2-
30 จากสัญลักษณ์นิวเคลียร์ 3216S2- จงพิจารณาว่าข้อใดถูกต้อง ก. มี 18 อิเล็กตรอน ข. มี 16อิเล็กตรอน ค. มี 32 อิเล็กตรอน ง. มี 14 โปรตอน
30 ธาตุ A มีโปรตอน 90 นิวตรอน 148 ธาตุ B มีโปรตอน 94 นิวตรอน 142 ข้อใดถูกต้อง • ธาตุ A มีเลขมวล 148 • เลขอะตอม 90 ข. ธาตุ B มีเลขมวล 236 เลขอะตอม 142 ค. ธาตุ A มีเลขมวล 238 เลขอะตอม 58 ง. ธาตุ B มีเลขมวล 236 เลขอะตอม 94
ไอโซโทป (Isotope) หมายถึง อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันที่มีเลขมวลต่างกัน (มีจำนวนอนุภาคนิวตรอนต่างกัน)
ตัวอย่างไอโซโทป คาร์บอนมี 3 ไอโซโทปคือ 126C136C 146C ฟอสฟอรัส 3115P 3215P
5 ธาตุ 2 ธาตุเป็นไอโซโทปซึ่งกันและกัน มีสิ่งใดที่ต่างกัน ก. เลขอะตอม ข. จำนวนอิเล็กตรอน ค. จำนวนระดับพลังงาน ง. จำนวนนิวตรอน
60 ธาตุ X และ Y เป็นธาตุไอโซโทปกัน ธาตุ X มีจำนวนโปรตอนเท่ากับ 10 และมีเลขมวลเท่ากับ 20 ธาตุ Y มีจำนวนนิวตรอนมากกว่าธาตุ X อยู่ 2 นิวตรอน ข้อใดเป็นสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ Y ก. 2012Y ข. 2210Y ค. 128Y ง. 1210Y
5 อะตอมของธาตุใดไม่มีนิวตรอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน อะลูมิเนียม
ไอโซบาร์ (Isobar) ไอโซบาร์ (Isobar) หมายถึง ธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน แต่มีมวลอะตอมและจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน เช่น 3015P กับ 3014Si มีเลขมวลเท่ากันคือ 30
ไอโซโทน (Isotone) ไอโซโทน (Isotone) หมายถึง ธาตุต่างชนิดกันที่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน แต่มีเลขมวลและเลขอะตอมไม่เท่ากัน เช่น 188O 199F เป็นไอโซโทนกัน มีนิวตรอนเท่ากันคือ n = 10
ทำแบบฝึกหัด 1.1 • หน้า 13