1 / 106

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล. ธรรมชาติของข้อมูล. Theory. Abstract statements that make claims about the world and how it works Research problems are usually stated at a theoretical level Poverty leads to poor health. Concepts.

sakura
Download Presentation

การเก็บรวบรวมข้อมูล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเก็บรวบรวมข้อมูล

  2. ธรรมชาติของข้อมูล

  3. Theory • Abstract statements that make claims about the world and how it works • Research problems are usually stated at a theoretical level • Poverty leads to poor health.

  4. Concepts • Building blocks of theory which are usually abstract and cannot be directly measured • poverty, poor health

  5. Indicators • Phenomena which point to the existence of the concepts • low income, poor living conditions, restricted diet, etc.

  6. Variables • Components of the indicators which can be measured • levels of overcrowding, levels of litter, etc.

  7. Values • Actual units of measurement of the variables. • These are data in their most concrete form. • numbers of people per room

  8. Example • Theory – Poverty leads to poor health • Concepts – Poverty, poor health • Indicators of Poverty – Low income, poor living conditions • Variables of Poor Living Conditions – Levels of overcrowding, levels of litter • Values of Levels of Overcrowding – Numbers of people per room

  9. แหล่งข้อมูล การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่มีข้อมูลที่ต้องการ แบ่งเป็น 1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ได้แก่ข้อมูลซึ่งมาจากแหล่งที่เกิดของข้อมูลโดยตรง เช่น ในการรวบรวมอายุผู้เข้าอบรม ถ้ารวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าอบรมแต่ละคน ข้อมูลอายุที่ได้มาเรียกว่าข้อมูลปฐมภูมิ 2 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ได้แก่ข้อมูลที่มาจากแหล่งที่ไม่ใช่แหล่งที่เกิดข้อมูลโดยตรง แต่ได้มาจากแหล่งอื่นที่รวบรวมข้อมูลนั้นไว้แล้ว เช่น ในการรวบรวมอายุผู้เข้าอบรม ถ้ารวมรวมข้อมูลจากสำนักทะเบียน หรือฝ่ายการเจ้าหน้าที่ ข้อมูลอายุที่ได้มา เรียกว่าข้อมูลทุติยภูมิ

  10. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) • คือข้อมูลใดๆที่ผู้วิจัยต้องเก็บขึ้นมาใหม่เพื่อวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้นๆ • เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ 1) การสำรวจ (Survey) เป็นวิธีการเก็บข้อมูลจากประชากรเป้าหมายที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ อาจใช้วิธี ดังนี้ สังเกตการณ์ (Observation) การสัมภาษณ์ (Interview) และ การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) แต่ถ้าเป็นการเก็บข้อมูลจากทุกๆ หน่วยในประชากร เรียกว่า การสำรวจสำมะโน (Census) 2)การทดลอง (Experiments) ได้แก่การรวบรวมข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลนั้นยังไม่มีอยู่ ต้องทำการทดลองโดยควบคุมปัจจัยบางปัจจัยก่อน หรือควบคุมตัวแปรทดลองให้ผันแปรตามที่ต้องการ จึงจะวัดข้อมูลจากหน่วยทดลองได้

  11. สังเกตการณ์ (Observation) การเก็บข้อมูลแบบสังเกตการณ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. การสังเกตการณ์แบบเข้าไปมีส่วนร่วม (Participant Observation) 2. การสังเกตการณ์แบบไม่ได้มีส่วนร่วม (Non-participant Observation)

  12. สังเกตการณ์ (Observation) ข้อดี • ได้ข้อมูลที่ลึกซึ้งกว่าวิธีการอื่น • เป็นข้อมูลที่ได้จากสถานการณ์จริง • เป็นข้อมูลที่มองถึงการเปลี่ยนแปลงของขั้นตอนต่างๆ ข้อเสีย • ใช้ได้เฉพาะบางเรื่องที่ศึกษา • สิ้นเปลือง ใช้เวลานาน • หาบุคลากรที่จะทำหน้าที่สังเกตการณ์ยาก • สรุปผลการศึกษายาก

  13. การสัมภาษณ์ (Interview) • เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องอาศัยคำถามจากผู้สัมภาษณ์และคำตอบจากผู้ตอบ สามารถถามบุคคลทุกระดับ ทุกเพศ ทุกวัย ยืดหยุ่นได้ และได้ข้อมูลครบถ้วน • ใช้การสังเกตการณ์ร่วมด้วยได้ เป็นวิธีที่ดีที่สุดเกี่ยวกับพฤติกรรม ความรู้สึกนึกคิดและทัศนคติ แต่อาจมีการบิดเบือนได้ อาจได้ข้อมูลไม่เพียงพอหากผู้ถูกสัมภาษณ์มีเวลาไม่พอ • ช่องทางสัมภาษณ์ เช่น • สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ • สัมภาษณ์ตัวต่อตัว

  14. การสัมภาษณ์ (Interview) ข้อดีของการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ • สามารถรับรู้เหตุการณ์ต่างๆ ทันเวลาที่เกิดขึ้น ณ สถานที่อื่น • รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย • อาจได้ข้อมูลที่เป็นความจริงมากที่สุด ข้อเสียของการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ • ไม่สามารถใช้วิธีสังเกตการณ์ได้ • จำกัดเฉพาะผู้มีโทรศัพท์เท่านั้น • ใช้เวลาในการสัมภาษณ์จำกัด

  15. การสัมภาษณ์ (Interview) ข้อดีของการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว • ระบุผู้สัมภาษณ์ได้แน่นอน • ถามคำถามได้มาก • ทำได้แน่นอนตามกำหนดเวลา ข้อเสียของการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว • ข้อมูลอาจถูกบิดเบือนได้ง่าย • ค่าใช้จ่ายสูง • ต้องแข่งกับเวลา • บางคนให้สัมภาษณ์ได้ยาก

  16. การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) • แบบสอบถาม คือชุดคำถามที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สามารถใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากได้ และง่ายต่อการวิเคราะห์ • วัตถุประสงค์ของการใช้แบบสอบถาม • สอบถามความจริง • สอบถามความคิดเห็น • สอบถามเหตุผล

  17. การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ข้อดี • ต้นทุนต่ำ • กระจายถึงกลุ่มตัวอย่างได้พร้อมๆ กัน • ตอบคำถามได้ง่าย • ผู้ตอบกล้าเปิดเผยข้อมูล ข้อเสีย • ผู้ตอบไม่สนใจตอบ การได้รับคืนต่ำ • ผู้ตอบไม่สามารถซักถามปัญหาได้ • ประชากรจำกัดแค่กลุ่มคนที่อ่านออกเขียนได้

  18. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) • คือข้อมูลใดๆ ที่มีผู้รวบรวมไว้แล้วในรูปแบบเอกสารเช่น ได้จากการศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุดต่างๆสถานที่ราชการ องค์กรเอกชนบุคคลต่างๆและแหล่งเอกสารอื่นๆ • ข้อควรพิจารณาในการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ • เก็บจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ • ข้อมูลต้องทันสมัย • ไม่ควรใช้การอ้างอิงหลายต่อมากเกินไป

  19. 3.2 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ข้อดีของข้อมูลที่มาจากเอกสาร • สะดวกรวดเร็ว • ไม่ต้องทำการเก็บใหม่ ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย • สามารถศึกษาย้อนหลังได้ไกลเท่าที่เอกสารนั้นจะทำได้ ทำให้ทราบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ข้อเสียของข้อมูลที่มาจากเอกสาร • ข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์พอ • ข้อมูลอาจผิดพลาดไม่ถูกต้อง • ข้อมูลไม่ทันสมัย

  20. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ 1. การวิเคราะห์ทางกายภาพ 2. การวิเคราะห์ทางสถิต

  21. การวิเคราะห์ทางกายภาพการวิเคราะห์ทางกายภาพ • คำถามชัดเจนหรือไม่ • ภาษาที่ใช้รัดกุมเหมาะสมหรือไม่ • คำสั่งชัดเจนหรือไม่ • ความยาวของเครื่องมือเหมาะสมหรือไม่ • รูปแบบของเครื่องมือเหมาะสมหรือไม่

  22. วิธีการทางสถิติ 1. ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือวิจัย 2. ใช้ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 3.1 สถิติเชิงบรรยายหรือเชิงพรรณนา 3. ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล วิธีการทางสถิติ 3.2.1 สถิติมีพารามิเตอร์ 3.2 สถิติอ้างอิงหรือเชิงอนุมาน 4. ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 3.2.2 สถิติไร้พารามิเตอร์

  23. การวิเคราะห์ทางสถิติ

  24. ความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง ความสามารถในการวัดได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการจะวัด และวัดได้ครอบคลุมพฤติกรรมลักษณะที่ต้องการ • ความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) • ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) • ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion Related Validity)

  25. ความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) • เครื่องมือหรือแบบสอบถามที่สร้างขึ้นให้ตรงตามโครงสร้างนั้น มีความสอดคล้อง ระหว่างเนื้อหาสาระของเครื่องมือ ที่สร้างขึ้นกับเนื้อหาสาระของสิ่งที่ต้องการวิจัยหรือวัตถุประสงค์การวิจัย โดยแบบสอบถามที่สร้างขึ้นมานั้น ต้องครอบคลุมกรอบของเนื้อหา (ตรงตามวัตถุประสงค์/กรอบแนวคิด/นิยามศัพท์) • การตรวจสอบโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง อย่างน้อย 3 ท่าน ตรวจสอบว่า มีความครอบคลุมเนื้อหาสาระหรือไม่ โดยสามารถใช้แบบตรวจสอบเพื่อทดสอบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันหรือไม่ (Index Objective Congruence: IOC)

  26. ความตรงตามเนื้อหา (Content Validity)

  27. ความหมายของคะแนน IOC • + 1 หมายถึง ข้อคำถามนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์นั้น • 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ • - 1 หมายถึง ข้อคำถามนั้นไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์นั้น

  28. ตัวอย่างการหาค่าคะแนน IOC

  29. ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) • การเครื่องมือหรือแบบสอบถามที่สร้างขึ้นนั้น สามารถวัดคุณลักษณะ/ขอบเขตตามโครงสร้างของเรื่องที่ทำการวิจัยได้หรือไม่ โดยมีขั้นตอนดำเนินการสร้างเครื่องมือวิจัย ดังนี้ 1. ผู้วิจัยพิจารณาจากวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดการวิจัยเป็นหลัก 2. การพิจารณาแนวคิดหรือทฤษฎี และนิยามศัพท์เฉพาะแนวทาง 3. การพิจารณาจากแบบสอบถามของผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วย 4. การพิจารณาจากจำนวนประชากรหรือขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ 5. การพิจารณาสถิติที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือตัวอย่าง ซึ่งทั้ง 5 ข้อจะต้องพิจารณาไปพร้อมๆ กันด้วย

  30. ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) มีวิธีการตรวจสอบหลายวิธี ได้แก่ • การเปรียบเทียบคะแนนระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมหรือคุณลักษณะนั้นแตกต่างกัน (Known-Group Technique) • การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ขอเสนอ 2 วิธี • วิธีของคาร์เวอร์ (Carver Method) • วิธีการหาค่าสหสัมพันธ์แบบฟี (Phi-Correlation)

  31. ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) ด้วยวิธีของคาร์เวอร์ (Carver Method) • ทำได้โดยการนำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นไปทดสอบกับกลุ่มผู้เรียนที่เรียนแล้วกับกลุ่มผู้เรียนที่ยังไม่เคยเรียน

  32. ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) วิธีการหาค่าสหสัมพันธ์แบบฟี (Phi-Correlation) • ทำได้โดยการหาความสัมพันธ์ของผู้เรียน 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้เรียนที่ยังไม่ได้รับการสอนหรือไม่ได้สอบก่อนเรียน และ 2) กลุ่มผู้เรียนที่เรียนแล้วหรือผ่านการสอบหลังเรียนแล้ว

  33. ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion Related Validity) • เป็นความเที่ยงตรงของเครื่องมือที่เกิดจากการเอาผลหรือคะแนนที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือที่สร้างขึ้น ไปสัมพันธ์กับเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษา แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ 1) ความตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) เกณฑ์ : คะแนนที่มีอยู่ในปัจจุบัน  แบบทดสอบที่สามารถวัดได้ตามสภาพความเป็นจริงของกลุ่มตัวอย่าง การทดสอบทำได้โดยนำคะแนนของแบบทดสอบที่สร้างขึ้นใหม่ไปหาค่าสหสัมพันธ์กับคะแนนของแบบทดสอบเดิมที่มีความเที่ยงตรง

  34. ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion Related Validity) 2) ความตรงตามพยากรณ์ (Predictive Validity) เกณฑ์ : คะแนนที่จะหาได้ในอนาคตความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ การหาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนผลการสอบกับเกณฑ์ของความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้คะแนนผลการสอบในการพยากรณ์ในอนาคตการทดสอบทำได้โดยการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบกับเกณฑ์ที่ใช้ในการวัดความสำเร็จ

  35. ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion Related Validity)

  36. การแปลผล r = 0 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์กันเลย < 0.5 แสดงว่าตัวแปรมีความสัมพันธ์กันน้อย 0.5 < < 0.8 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันปานกลาง > 0.8 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันสูง r = 1 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันเป็นบวกสมบูรณ์ r = -1 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันเป็นลบสมบูรณ์

  37. สรุปความตรงแต่ละประเภทที่จำเป็นสำหรับแบบวัดชนิดต่างๆสรุปความตรงแต่ละประเภทที่จำเป็นสำหรับแบบวัดชนิดต่างๆ

  38. ความเชื่อมั่น (Reliability) • หมายถึง ความคงที่ในการวัดเมื่อวัดซ้ำๆ กันหลายครั้งจะให้ค่าเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงกันและเชื่อถือได้ หรือกล่าวได้ว่า มีความคงที่ (Stability) ความเชื่อถือได้ (Dependability) ความสามารถทำนายได้(Predictability) และ ความถูกต้อง (Accuracy) ในการวัดสิ่งที่ต้องการวัด หรือไม่มีความคลาดเคลื่อนในการวัด (Measurement Error) • ค่าความเชื่อมั่นสูงสุดมีค่า = 1

  39. ความเชื่อมั่น (Reliability) วิธีการหาความเที่ยง • แบบสัมประสิทธิ์ของความคงตัว (Coefficient of Stability) 1. วิธีสอบซ้ำ (Test-Retest Method) 2. วิธีคู่ขนาน (Parallel Form Method) • แบบสัมประสิทธิ์ของความสอดคล้องภายใน (Coefficient of Internal Consistency) 1. วิธีแบ่งครึ่ง (Split-half Method) 2. วิธีวิเคราะห์ส่วนย่อย • การหาความคงที่ภายในแบบคูเดอร์ ริชาร์ทสัน (Kuder-Richardson) (KR 20 และ KR21) • การหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า โดยวิธีครอนบัค(Cronbach’s Alpha)

  40. แบบสัมประสิทธิ์ของความคงตัว (Coefficient of Stability) 1. วิธีสอบซ้ำ (Test-Retest Method) • การนำแบบวัดที่ต้องการหาความเที่ยงไปใช้วัดซ้ำในกลุ่มตัวอย่างเดิม โดยเว้นระยะช่วงเวลาหนึ่งจากนั้นไปหาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (ค่าความเชื่อมั่น) 2. วิธีคู่ขนาน (Parallel Form Method) • การหาความเชื่อมั่นวิธีนี้ทำได้โดยใช้แบบทดสอบ 2 ฉบับที่เหมือนกัน ทำในระยะเวลาที่ห่างกันเพียงเล็กน้อยแบบทดสอบที่เหมือนกันในที่นี้หมายความว่าทั้งสอบวัดในสิ่งเดียวกัน จำนวนข้อเท่ากัน มีโครงสร้างเหมือนกัน มีความยากง่ายในระดับเดียวกัน มีวิธีการทดสอบ การตรวจให้คะแนนและการแปลความหมายของคะแนนเหมือนกัน จากนั้นจึงนำคะแนนจากผลการทดสอบทั้ง 2 ฉบับไป หาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (ค่าความเชื่อมั่น)

  41. สูตรการหาค่าสหสัมพันธ์สูตรการหาค่าสหสัมพันธ์

  42. แบบสัมประสิทธิ์ของความสอดคล้องภายใน (Coefficient of Internal Consistency) 1. วิธีแบ่งครึ่ง (Split-half Method) แบบคะแนนออกเป็น 2 ส่วน เป็นฉบับแรกและฉบับหลัง หรือ ฉบับข้อคี่และฉบับข้อคู่ ไปคำนวณค่าสัมประสิทธิสหสัมพัทธ์ เป็นค่าครึ่งฉบับ ต้องนำมาคำนวณหาค่าความเที่ยงเต็มฉบับด้วยสูตร สเปียรแมน บราวน์

  43. ตัวอย่างวิธีแบ่งครึ่ง (Spilt-half Method)

  44. แบบสัมประสิทธิ์ของความสอดคล้องภายใน (Coefficient of Internal Consistency) 2. วิธีหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบตามวิธีของคูเดอร์ ริชาร์ทสัน (KR 20 และ KR 21) • ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบจะกระทำโดยการนำเอาแบบทดสอบไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพียงครั้งเดียว แล้วคำนวณหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบสอบทั้งฉบับ • เป็นการหาค่าความเที่ยงของแบบวัดที่มีการให้คะแนนแบบ 0 กับ 1

  45. วิธีหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบตามวิธีของคูเดอร์ ริชาร์ทสัน (KR20 และ KR21)

  46. วิธีหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบตามวิธีของคูเดอร์ ริชาร์ทสัน (KR20 และ KR21)

More Related