1 / 51

เคมีนิวเคลียร์ ( Nuclear chemistry)

เคมีนิวเคลียร์ ( Nuclear chemistry). การค้นพบกัมมันตภาพรังสี. กัมมันตภาพรังสี (radioactivity) คือการปลดปล่อยรังสีออกมาเองโดยไม่ต้องกระตุ้น ซึ่งค้นพบโดย Becquerel ในปี ค.ศ. 1896. Antoine Henri Becquerel.

sheba
Download Presentation

เคมีนิวเคลียร์ ( Nuclear chemistry)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เคมีนิวเคลียร์(Nuclear chemistry)

  2. การค้นพบกัมมันตภาพรังสีการค้นพบกัมมันตภาพรังสี • กัมมันตภาพรังสี (radioactivity) คือการปลดปล่อยรังสีออกมาเองโดยไม่ต้องกระตุ้น ซึ่งค้นพบโดย Becquerel ในปี ค.ศ. 1896 Antoine Henri Becquerel • ในการค้นพบกัมมันตภาพรังสีนี้ Marie Curie มีส่วนร่วมในการทดลองด้วยหลายครั้ง และทั้งคู่ได้รับรางวัลโนเบลร่วมกันในปี ค.ศ. 1903 • จากการทดลองพบว่ากัมมันตภาพรังสีเกิดจากการสลายตัวของนิวเคลียสที่ไม่มีเสถียรภาพ Marie Curie

  3. อนุภาคมูลฐานของอะตอม อะตอม = นิวเคลียส + อิเล็กตรอน = (โปรตอน+นิวตรอน) + อิเล็กตรอน อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีจำนวน p เท่ากัน สมบัติบางประการของอนุภาคมูลฐาน

  4. สัญลักษณ์นิวเคลียร์

  5. อะตอม แบ่งเป็น 3 ประเภทตามจำนวน p, n และ นิวคลีอออน 1. p เท่ากันไอโซโทป (Isotope) 2. n เท่ากันไอโซโทน (Isotone) 3. นิวคลีออน เท่ากัน (A หรือ เลขมวล เท่ากัน) ไอโซบาร์(Isobar)

  6. ปฏิกิริยานิวเคลียร์แตกต่างจากปฏิกิริยาเคมีอย่างไร ? ปฏิกิริยาเคมีเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับอิเล็กตรอน (ซึ่งอยู่นอกนิวเคลียส) ปฏิกิริยานิวเคลียร์เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงจำนวนอนุภาค p & n (ซึ่งอยู่ในนิวเคลียส)

  7. ตารางเปรียบเทียบปฏิกิริยาเคมีกับปฏิกิริยานิวเคลียร์ตารางเปรียบเทียบปฏิกิริยาเคมีกับปฏิกิริยานิวเคลียร์

  8. สมบัติของนิวเคลียส 1. ขนาดของนิวเคลียส การทดลองของ Rutherford “ปริมาตรของนิวเคลียส(VNC ) เป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนนิวคลีออน (เลขมวล) ในนิวเคลียส” VNCARNC3 RNC(A)1/3  RNC= R0(A)1/3  where R0 = const, RNC=รัศมีของนิวเคลียส อะตอมและนิวเคลียสส่วนใหญ่ มีลักษณะใกล้เคียงทรงกลม RNC 10-4Ratom to 10-5Ratom

  9. 2. รูปร่างของนิวเคลียส “Magic Number” นิวเคลียสที่มี n หรือ p = 2, 8, 20, 50, 82 และ 126 นิวเคลียสที่มี n หรือ p = Magic Number มีรูปเป็นทรงกลม นิวเคลียสที่มี n หรือ p ออกห่าง Magic Number มีรูปเป็นทรงรักบี้ 3. แรงนิวเคลียร์ แรงคูลอมบ์= แรงผลักระหว่างอนุภาคที่มีประจุเหมือนกัน “กำแพงคูลอมบ์” ทำหน้าที่กั้นไม่ให้อนุภาคประจุบวกเข้ามาในนิวเคลียส แรงคูลอมบ์แปรผกผันกับระยะห่างระหว่างนิวเคลียส เมื่ออนุภาคที่มีประจุเข้ามาใกล้นิวเคลียสน้อยกว่า RNC(ซ้อนเหลื่อมกัน) แรงผลักจะไม่มีความหมาย โดยอนุภาคที่มีประจุนั้นจะเข้าไปรวมตัวกับนิวคลีออนในนิวเคลียส เกิดแรงนิวเคลียร์ยึดระหว่างนิวคลีออนทั้งหมดไว้ด้วยกัน

  10. กัมมันตภาพรังสี(Radioactivity) = การแผ่รังสีของธาตุกัมมันตรังสี ธาตุที่มีหลายไอโซโทป (p เท่ากัน, n ต่างกัน) ไอโซโทปที่ไม่เสถียร จะมีการคายพลังงานออกมาในรูปของการแผ่รังสีและการแตกสลายตัว Radioactive Decay (นิวเคลียสไม่เสถียร) นิวไคลด์กัมมันตรังสี(Radio nuclide) ไอโซโทปกัมมันตรังสี(Radio isotope) สารกัมมันตรังสี(Radioactive)

  11. การแผ่รังสีและการแตกสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสีการแผ่รังสีและการแตกสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี “Parent”  “Daughter” Alpha decay – การสลายตัวให้อนุภาค Alpha Beta decay - การสลายตัวให้อนุภาค Beta หรือ e- Positron decay – การสลายตัวให้Positron Electron capture – การจับยึดอิเล็กตรอน เพื่อเปลี่ยน p n Gamma emission – การแผ่รังสีแกมมา () เพื่อคายพลังงาน หลักการในการเขียนสมการนิวเคลียร์เพื่อดูการแผ่รังสีและการแตกสลายตัว

  12. Alpha decay – การสลายตัวให้อนุภาค Alpha or 42He • อนุภาค Alpha คือ นิวเคลียสของ He ประกอบด้วย 2p + 2n = อนุภาคประจุบวก (+2) • อำนาจทะลุทะลวงต่ำไม่สามารถผ่านกระดาษ หรือแผ่นโลหะบางๆได้ • เบี่ยงเบนไปทางขั้วลบของสนามไฟฟ้า และขั้ว S ในสนามแม่เหล็ก ปฏิกิริยาการสลายตัวให้ นิวไคลด์ใหม่ที่เกิดขึ้น จะมี p ลดลง 2 และ n ลดลง 2 (A ลดลง 4 ) Note : การที่อะตอมมี p เปลี่ยนไป จะกลายเป็น นิวไคลด์ใหม่ซึ่งจะเป็นธาตุใดดูได้จาก ตารางธาตุ เช่น ธาตุที่ 82 ในตารางธาตุคือ Pb

  13. Beta decay - การสลายตัวให้อนุภาค Beta 0-1 or -หรือ e- • อนุภาค Beta คือ อิเล็กตรอน = อนุภาคประจุลบ (-1) • อำนาจทะลุทะลวงสูงกว่า  จึงสามารถผ่านกระดาษ หรือแผ่นโลหะบางๆ ได้ • เบี่ยงเบนไปทางขั้วบวกของสนามไฟฟ้า และขั้ว N ในสนามแม่เหล็ก ปฏิกิริยาการสลายตัวให้อนุภาค Beta สารตั้งต้นต้องมี n > p นิวไคลด์ใหม่ที่เกิดขึ้น จะมี p เพิ่มขึ้น 1 และ n ลดลง 1 (A ไม่เปลี่ยน)

  14. Positron decay – การสลายตัวให้ Positron ( 0+1 or +) • อนุภาค positron คือ อนุภาค beta ที่มีประจุบวก (+1) และไม่เสถียร ปฏิกิริยาการสลายตัวให้ สารตั้งต้นต้องมี p > n นิวไคลด์ใหม่ที่เกิดขึ้น จะมี p ลดลง 1 และ n เพิ่มขึ้น 1 (A ไม่เปลี่ยน)

  15. Electron capture – การจับยึดอิเล็กตรอน เพื่อเปลี่ยน p n เนื่องจากนิวไคลด์ตั้งต้น มีพลังงานไม่พอที่จะเปลี่ยน p n โดยการสลายให้positron ดังนั้นนิวเคลียสนั้นจึงต้องจับอิเล็กตรอนที่โคจรรอบนิวเคลียสนั้น ปฏิกิริยาการจับยึดอิเล็กตรอน สารตั้งต้นต้องมี p > n นิวไคลด์ใหม่ที่เกิดขึ้น จะมี p ลดลง 1 และ n เพิ่มขึ้น 1 (A ไม่เปลี่ยน) เหมือนการสลายตัวให้positron

  16. Gamma emission – การแผ่รังสีแกมมา () เพื่อคายพลังงาน • รังสีคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความยาวคลื่น 0.001 – 1.5 pm • (ความยาวคลื่นน้อยกว่า X-ray ดังนั้น มีพลังงานมากกว่า X-ray) • อำนาจทะลุทะลวงสูง สามารถผ่านโลหะหนาได้ • ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็ก การแผ่รังสี เป็นการเปลี่ยนระดับพลังงานในนิวเคลียสจาก สภาวะเร้า เป็นสภาวะพื้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวน p และ n ดังนั้นสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์จะเป็นตัวเดียวกัน

  17. อันตรายจากรังสี • เมื่อสสารดูดกลืนรังสีจะทำให้เกิดความเสียหายต่อสสาร โดยระดับของความเสียหายจะขึ้นอยู่กับพลังงานของรังสีและสมบัติของสสาร • ความเสียหายต่อโลหะที่ใช้ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูจะเกิดจากการชนด้วยนิวตรอนซึ่งจะทำให้โลหะอ่อนแอหรือสมบัติของโลหะที่ถูกชนเปลี่ยนไป • ความเสียหายต่ออวัยวะของสิ่งมีชีวิตจะขึ้นอยู่กับผลของการไอโอไนซ์ในเซลล์ของอวัยวะ ซึ่งจะทำให้การทำงานของอวัยวะเปลี่ยนไป • ความเสียหายจากรังสีจะขึ้นอยู่กับอำนาจการทะลุทะลวงของรังสีด้วย

  18. หน่วยของการวัดรังสี • คูรี (curie, Ci) : เป็นหน่วยที่ใช้วัดกัมมันตภาพ(activity) หรือความแรงของสารรังสี โดยสารรังสีที่มีกัมมันตภาพ 1 Ciจะสามารถปล่อยรังสีได้ 3.7 x 1010ครั้ง/วินาที • เบ็กเคอเรล (becquerelย่อว่า Bq) เป็นหน่วยที่ใช้วัดกัมมันตภาพมีค่าเท่ากับการสลายของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 1 ครั้งต่อวินาที หรือ 1 ดีพีเอส (dpsย่อมาจาก disintegration per second) เบ็กเคอเรลเป็นหน่วยที่มาแทนที่หน่วยคูรี มีขนาดเล็กกว่าหน่วยคูรีเป็น อันมาก กล่าวคือ 1 Ci =3.7x1010Bq • เรินต์เกน (roentgen, R) : เป็นหน่วยที่ใช้วัดปริมาณรังสี ที่สามารถผลิตประจุไฟฟ้าจำนวน 3.33 x 10-10 C ในอากาศปริมาตร 1 ลบ.ซม. ภายใต้สภาวะปกติ หรือเป็นปริมาณรังสีที่สามารถถ่ายทอดพลังงาน 8.78 mJให้กับอากาศแห้งมวล 1 kg ที่สภาวะปกติ

  19. แร็ด (radiation absorbed dose, rad) : เป็นหน่วยที่ใช้วัดพลังงานที่ถูกดูดกลืนโดยวัตถุ โดย 1 rad คือพลังงานที่วัตถุดูดกลืนจำนวน 10 mJ/kg • เรม (radiation equivalent in man, rem) : เป็นหน่วยที่ใช้วัดปริมาณรังสีดูดกลืนเปรียบเทียบระหว่างชนิดของรังสี ทั้งนี้เพราะผลกระทบทางชีววิทยาของชนิดรังสีจะแตกต่างกัน ปริมาณรังสีในหน่วย rem = ปริมาณรังสีในหน่วย rad x RBE RBE=Radio Biological Effect ซึ่งจะมีค่าแตกต่างกันสำหรับรังสีต่างชนิดกัน

  20. แฟคเตอร์ RBE ของรังสีชนิดต่างๆ จะเป็นดังตาราง

  21. ระดับของรังสีที่ปลอดภัยระดับของรังสีที่ปลอดภัย • รังสีจากธรรมชาติ เช่น ถ่านหิน ดิน หรือ รังสีคอสมิคจากดวงอาทิตย์ ซึ่งถือเป็น background จะมีค่าประมาณ 0.31 rem/yr • ระดับของรังสีที่ยอมรับได้คือ 0.5 rem/yr (ไม่รวม background) • สำหรับผู้ทำงานทางรังสีระดับรังสีที่ยอมรับได้ทั้งร่างกายคือ 5 rem/yr • 50% ของผู้รับรังสี 400-500 rem จะเสียชีวิต

  22. หน่วยวัดรังสีในระบบ SI แบบใหม่คือ gray (Gy) แทน rad และ Sievert (Sv) แทน rem

  23. The Uraium Decay Series การแตกสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี ในแต่ละขั้น “Parent”  “Daughter” ถ้า N = จำนวนนิวไคลด์กัมมันตรังสี = ค่าคงที่การสลายตัว (decay constant) A (Activity) = อัตราการสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี = จำนวนการแตกสลายตัวของสาร/เวลา อัตราการสลายตัว = หรือแอกทิวิตี้(A) เมื่ออินทิเกรต จะได้ เมื่อN0และ N = จำนวนนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ t = 0 และ t = t A0และ A = แอกทิวิตี้ของกัมมันตรังสีที่ t = 0 และ t = t

  24. ลักษณะกราฟ lnA = lnA0 -  t A= A0exp(-t)

  25. ครึ่งชีวิต (Half-life) เวลาที่นิวไคลด์กัมมันตรังสีแตกสลายตัวจนเหลือจำนวนครึ่งหนึ่งของปริมาณเริ่มต้น Uranium-238 Dating ประโยชน์ของครึ่งชีวิต 1. ใช้ในการทำนายชนิดของกัมมันตรังสี 2. ใช้ในการทำนายอายุของวัตถุโบราณ or Dating (see more later)

  26. นิวเคลียร์ฟิชชัน (Nuclear fission) การยิงนิวเคลียสหนัก ด้วยนิวตรอนช้า เพื่อให้แตกสลายตัวได้นิวเคลียสขนาดลดลง เช่น การระดมยิงนิวเคลียสของ U-235 ด้วยนิวตรอนช้า ปฏิกิริยาหนึ่งที่จะเกิดได้เช่น (โดยปกติจะเกิดปฏิกิริยาได้หลายแบบ) คำนวณจาก BEพลังงาน = ( BE ของผลิตภัณฑ์-  BE ของสารตั้งต้น) คำนวณจากมวลพร่อง “มวลพร่อง 1 amuคิดเป็น 931 MeVหรือ 1.49 x 10-10 J”

  27. ปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ (Nuclear chain reaction) เป็นปฏิกิริยา nuclear fission ที่เกิดต่อเนื่อง มวลวิกฤติ (critical mass) = มวลน้อยที่สุดที่ทำให้เกิด nuclear chain reaction Non-critical – No chain reaction ปริมาณของสารตั้งต้นมีน้อยกว่ามวลวิกฤต จึงไม่ เพียงพอที่จะจับกับนิวตรอนที่ปล่อยออกมา ในแต่ละขั้นได้จึงไม่เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ • Critical – Chain reaction • ปริมาณของ สารตั้งต้นมีมากพอ ที่จะจับกับนิวตรอนที่ปล่อยออกมาในแต่ละขั้นได้จึงเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่

  28. A chain reaction of 235U ข้อดี -ไอโซโทปชนิดใหม่ๆ มากมาย - พลังงานมหาศาล ข้อเสีย ระเบิดปรมณู

  29. ปฏิกิริยาลูกโซ่ • นิวตรอนที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาแบ่งแยกตัวมีโอกาสถูกดูดกลืนโดยนิวเคลียสอื่นๆ ของ 235Uซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาอย่างต่อเนื่อง เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain reaction) • ถ้าไม่มีการควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่ จะนำไปสู่การระเบิด ซึ่งเป็นหลักการของระเบิดปรมาณู • ถ้าสามารถควบคุมได้จะสามารถนำพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาไปใช้ประโยชน์ในทางสันติ เช่น ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณู สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า

  30. เตาปฏิกรณ์ปรมาณู • Enrico Fermi ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1938 เป็นคนแรกที่สามารถพัฒนาเตาปฏิกรณ์ปรมาณูดังรูปได้สำเร็จในปี ค.ศ.1942

  31. เตาปฏิกรณ์ปรมาณู • เตาปฏิกรณ์ปรมาณูแบบที่ใช้น้ำเป็นตัวลดทอนพลังงาน (moderator) เป็นแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีลักษณะดังรูป • เตาปฏิกรณ์แบบนี้จะใช้ 235U ซึ่งมีความเข้มข้นประมาณ 3% เป็นเชื้อเพลิง (แร่ยูเรเนียมในธรรมชาติจะมี 238U 99.3% และ235U 0.7%) • เนื่องจากปฏิกิริยาลูกโซ่ในแท่งเชื้อเพลิงจะทำให้อุณหภูมิของน้ำที่อยู่ใน primary loop ร้อนจัด ซึ่งต้องควบคุมน้ำภายใต้ความดัน • น้ำใน primary loop จะถูกปั๊มไปยัง heat exchanger เพื่อนำความร้อนไปสู่น้ำใน secondary loop • น้ำใน secondary loop จะกลายเป็นไอน้ำ เพื่อนำไปหมุน turbine ทำให้เกิดการผลิตกระแสไฟฟ้าตามต้องการ

  32. นิวเคลียร์ฟิวชัน (Nuclear Fusion) ปฏิกิริยาการหลอมรวมนิวเคลียสเพื่อให้นิวเคลียสที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และเสถียรมากขึ้น พลังงานต่อกรัม 34 x 1010 J 10 x 1010 J 31 x 1010 J นิวเคลียร์ฟิวชัน เป็นปฏิกิริยาที่มี Eaสูง (เนื่องจากเป็นการรวมตัวกันของ p และ n) ดังนั้นจะเกิดได้ที่อุณหภูมิสูงมากเป็นร้อยล้านองศา  ปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ (Thermonuclear reaction) เช่นปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์ 15 ล้าน C

  33. เตาปฏิกรณ์ชนิดเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชันเตาปฏิกรณ์ชนิดเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชัน • เนื่องจากเงื่อนไขของอุณหภูมิและความหนาแน่น ทำให้ p-p cycle ไม่สามารถเป็นไปได้ในเตาปฏิกรณ์บนโลก • ปฏิกิริยาที่อาจเป็นไปได้ในเตาปฏิกรณ์ชนิดเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชัน คือปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับ ดิวเทอเรียม (deuterium) และทริเทียม (tritium) : • ข้อได้เปรียบของเตาปฏิกรณ์ชนิดนี้คือการมีเชื้อเพลิงไม่จำกัดเพราะเราสามารถผลิตดิวเทอเรียม 0.12 g จากน้ำ 1 แกลลอน และมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2 บาท

  34. ลักษณะเตาปฏิกรณ์แบบเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชันลักษณะเตาปฏิกรณ์แบบเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชัน

  35. การหาอายุของซากสิ่งมีชีวิตและวัตถุโบราณ (Radiocarbon dating) • สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ และมี14C/12Cคงที่ขณะที่มีชีวิตอยู่ • เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง การเกิดการสลายตัวของ 146C147N + 0-1eดังนั้น 14C/12Cลดลง • ครึ่งชีวิตของ 14C เท่ากับ 5730 ปี 5730 ปี 14C14Cลดลงครึ่งหนึ่ง 14C/12C14C/12Cลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อ A = ปริมาณรังสีที่วัดได้ต่อนาทีต่อกรัม (การแตกสลาย/นาที.กรัม) = จำนวนครั้งของการแตกสลายของ 14C ต่อนาทีต่อกรัม (การแตกสลาย/นาที.กรัม)

  36. Ex. หินที่เกิดจากซากต้นไม้ที่ตายวัดกัมมันตภาพรังสี (แอกทิวิตี้,A) ของ14Cได้ 7.0 การแตกสลายต่อนาทีต่อกรัมของ 14Cในขณะที่ ต้นไม้ที่ ยังมีชีวิตในปัจจุบันวัดได้15.3 การแตกสลายต่อนาทีต่อกรัมของ 14C จงหาว่าต้นไม้ที่กลายเป็นหินตายมาแล้วกี่ปี กําหนดt½ ของ 14Cเท่ากับ 5730 ปี วิธีทำ ln A = lnA0 - t ln 7 = ln 15.3 – (1.21x104)t t = (ln 15.3 - ln 7)/ (1.21x104) t = 6,462 ~ 6.5x103 yr Ans.

  37. วิธีทำ ln A = lnA0 - t t = (lnA0 - ln A)/= ln (A0 /A)/ t = ln (A0 / 0.0045A0)/(1.21x104) t = 44,658 ~ 4.47x104yr Ans.

  38. การหาอายุของหิน • คำนวณจากการสลายตัวของไอโซโทปกัมมันตรังสีบางชนิดที่มีในหิน เช่น 238U206Pb • เมื่อเวลาผ่านไป 238U ลดลง ในขณะที่206Pbเพิ่มขึ้น โดยถือว่าน้ำหนักทั้งหมดของ 206Pbที่วัดได้มาจากการสลายตัวของ 238U • ครึ่งชีวิตของ 238U เท่ากับ 4.5 x 109ปี 238U206Pb ที่เวลาเริ่มต้น X+Yโมล 0 โมล เวลาผ่านไป - Y โมล +Y โมล ณ เวลาt X โมล Y โมล ln N= ln N0 -  t เมื่อ N = จำนวนโมลของ 238U ที่เวลา t N0 = จำนวนโมลของ 238U ที่เวลาเริ่มต้น ln(X) = ln (X+Y) - t

  39. Ex. ตัวอย่างหินแร่ชนิดหนึ่ง มี 238U 2.499 กรัม และ Pb 2.169 กรัม จงหาอายุของหินแร่นี้ วิธีทำ ครึ่งชีวิตของ 238U เท่ากับ 4.5 x 109ปี 238U206Pb ที่เวลาเริ่มต้น X+Yโมล 0 โมล เวลาผ่านไป - Y โมล +Y โมล ณ เวลาt X โมล Y โมล ln(X) = ln (X+Y) - t ln(2.499/238.03) = ln (2.499/238.03+2.169/207.2) – 1.54x10-10t  อายุของหินแร่ (t)= 4,491,507,361 ~4.5x109ปี Ans.

  40. ให้นิสิตอ่านเพิ่มเติมให้นิสิตอ่านเพิ่มเติม การประยุกต์ใช้รังสี ชนิดของการประยุกต์ใช้รังสี • การประยุกต์ทางการเกษตร • การประยุกต์ทางการแพทย์ • การประยุกต์ทางการศึกษาวิจัยและผลิตไอโซโทป • การประยุกต์ทางการผลิตกระแสไฟฟ้า

  41. การประยุกต์ใช้รังสีทางการเกษตรการประยุกต์ใช้รังสีทางการเกษตร • ผลผลิตทางการเกษตร (พืชและสัตว์) มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะใช้เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค • ในอดีตเคยมีพันธุ์พืชนับพันล้านชนิด แต่ปัจจุบันเหลือน้อยมาก เพราะถูกทำลายด้วยแมลงและโรคระบาด • การเน่าเปื่อยของเนื้อสัตว์ตามกาลเวลาและการระบาดของเชื้อโรคและพยาธิในเนื้อสัตว์ ทำให้มนุษย์มีข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ • นอกเหนือจากการตากในแสงแดด การอบด้วยความร้อย การอุ่นหรือต้มด้วยคลื่นไมโครเวฟแล้ว ยังสามารถใช้รังสีในกระบวนการผลิตและถนอมอาหารด้วย

  42. ผลที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีพืชหรืออาหารผลที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีพืชหรืออาหาร • เมื่อฉายรังสีกับพืชหรืออาหารจะทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงานแก่โมเลกุลของพืชหรืออาหาร ทำให้โมเลกุลถูกไอโอไนซ์กลายเป็นโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้าและอนุมูลอิสระ • อนุมูลอิสระจะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลอื่นๆ และโมเลกุลของน้ำซึ่งมีอยู่ในพืชและอาหารกลายเป็นโมเลกุลใหม่ที่มีสมบัติทางชีวเคมีเปลี่ยนไป • โมเลกุลเหล่านั้นอาจทำหน้าที่เพี้ยนไปทำให้เซลล์ของพืชตายไปหรืออาจรบกวนการแบ่งเซลล์ของพืชทำให้จุลชีพที่อยู่ในพืชหรืออาหาร เช่น บักเตรี เชื้อรา พยาธิและแมลง ตายหรือเป็นหมันได้ • การฉายรังสีพืชหรืออาหารจึงมีประโยชน์ต่อกระบวนการผลิตหรือถนอมอาหารและสามารถเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืชด้วยการกลายพันธุ์ได้

  43. ชนิดของรังสีที่ใช้ในการฉายรังสีชนิดของรังสีที่ใช้ในการฉายรังสี • องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) มีความเห็นร่วมกันว่าการฉายรังสีในประมาณไม่เกิน 10 kgray ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ • ชนิดของรังสีที่อนุญาตให้ฉายได้ คือ • รังสีแกมมาจาก Co-60 และ Cs-137 • รังสีเอ็กซ์จากเครื่องผลิตรังสีที่ใช้ความต่างศักย์ไม่เกิน 5 ล้านโวลต์ • อิเล็กตรอนจากเครื่องเร่งอนุภาคที่ใช้ความต่างศักย์ไม่เกิน 5 ล้านโวลต์

  44. ลักษณะการประยุกต์ใช้รังสีทางการเกษตรลักษณะการประยุกต์ใช้รังสีทางการเกษตร • ควบคุมการงอกของพืช-ผัก เช่น หอมหัวใหญ่ กระเทียมและมันฝรั่งในระหว่างการเก็บรักษา • ควบคุมการแพร่พันธุ์ของแมลงเช่น ในข้าวสาร ถั่วเขียวและมะขามหวาน ในระหว่างการเก็บรักษา • ยืดอายุการเก็บรักษาอาหารสด เช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์และผลไม้ • ทำลายเชื้อโรคและพยาธิในอาหาร เช่น เชื่อ Salmonella เพื่อป้องกันโรคอุจจาระร่วงและพยาธิตัวกลม • เหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์เพื่อคัดเลือกลักษณะเด่นของพืชเอาไว้และกำจัดลักษณะด้อยทิ้งไป เช่น ในข้าว ข้าวสาลี มันฝรั่ง และข้าวโพด

  45. ลักษณะการประยุกต์ใช้รังสีทางการแพทย์ลักษณะการประยุกต์ใช้รังสีทางการแพทย์ • เพื่อการตรวจและวินิจฉัย เช่น การตรวจฮอร์โมนและเอนไซม์ในเลือด การตรวจโรคคอหอยพอกด้วย I-125 และการทำงานของต่อมธัยรอยด์ และการเอกซ์เรย์ปอดและกระดูก • เพื่อการบำบัดรักษา เช่น ใช้รังสีแกมมาจากCo-60รักษาโรคมะเร็ง และใช้ I-131 รักษาโรคต่อมธัยรอยด์ • เพื่อการทำปลอดเชื้อผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่น การปลอดเชื้อในเข็มเย็บแผล เข็มฉีดยา ผ้าปิดแผล ทำการปลอดเชื้อในเภสัชภัณฑ์ เช่นการปลอดเชื้อในยาปฏิชีวนะและสเตียรอยด์ และการปลอดเชื้อในเนื้อเยื่อสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น การปลูกถ่ายกระดูกและการปลูกถ่ายผิวหนัง

  46. ลักษณะการประยุกต์ใช้รังสีทางการศึกษาวิจัยและผลิตไอโซโทปลักษณะการประยุกต์ใช้รังสีทางการศึกษาวิจัยและผลิตไอโซโทป • เพื่อศึกษาวิจัยในการสร้างเครื่องมือตรวจสอบวัสดุหรือสารชนิดต่างๆ เช่น • วัตถุระเบิด ยาเสพติดและของผิดกฎหมาย • ตรวจหาแหล่งน้ำมัน ถ่านหินและแร่ต่างๆ • ตรวจระดับกัมมะถันในอากาศรอบๆ โรงไฟฟ้าถ่านหิน • เพื่อการผลิตไอโซโทปที่ใช้ในทางการแพทย์ เช่น การผลิต I-131โดยอาศัยเตาปฏิกรณ์ปรมาณู

More Related