1 / 25

ครอบครัวแป้งหอม

ครอบครัวแป้งหอม. เหตุผลในการจัดการศึกษา. แนวคิดพื้นฐานของพ่อแม่ไม่สอดคล้องกับระบบการศึกษาในปัจจุบัน. บุคลิกภาพ. ธรรมชาติ ของตัวลูก. พฤติกรรม. ไม่เหมาะกับการศึกษาในระบบ. ลักษณะนิสัย. แนวคิดการจัดการศึกษาของครอบครัวแป้งหอม. ศักยภาพ ความถนัดความสนใจ ทักษะเฉพาะทาง. อิสระ.

sheila
Download Presentation

ครอบครัวแป้งหอม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ครอบครัวแป้งหอม

  2. เหตุผลในการจัดการศึกษาเหตุผลในการจัดการศึกษา แนวคิดพื้นฐานของพ่อแม่ไม่สอดคล้องกับระบบการศึกษาในปัจจุบัน บุคลิกภาพ ธรรมชาติ ของตัวลูก พฤติกรรม ไม่เหมาะกับการศึกษาในระบบ ลักษณะนิสัย

  3. แนวคิดการจัดการศึกษาของครอบครัวแป้งหอมแนวคิดการจัดการศึกษาของครอบครัวแป้งหอม ศักยภาพ ความถนัดความสนใจ ทักษะเฉพาะทาง อิสระ เน้นพัฒนาการตามธรรมชาติของลูก ยึดลูกเป็นศูนย์กลาง สร้างค่านิยมและทัศนคติด้านการศึกษา ให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นคนดีที่มีความสุข แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล

  4. แนวคิดการจัดการศึกษาของครอบครัวแป้งหอม (ต่อ) บูรณาการวิถีชีวิตของครอบครัวกับแววของลูก ยืดหยุ่นเรื่องเวลา แบบแผนการเรียนรู้ กิจกรรม จัดแบบต่อเนื่อง ไม่มีช่วงชั้น ไม่มีภาคการศึกษา ปรับไปตามพัฒนาการและความก้าวหน้า

  5. ลักษณะการจัดการศึกษา ครอบครัวเดี่ยว ร่วมกิจกรรมกลุ่มกับบ้านเรียน และเด็กในโรงเรียน ธรรมชาติผสมผสาน กับเทคโนโลยีที่จำเป็น

  6. แนวทางในการจัดสาระการเรียนรู้แนวทางในการจัดสาระการเรียนรู้ ตามศักยภาพและพัฒนาการของลูก ค่อย ๆ พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง คัดเลือกสาระที่จำเป็น เหมาะสมกับสภาพและวัย เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในการใช้ชีวิตที่เป็นจริงกับข้อมูล บูรณาการสรรพวิชาเข้าด้วยกัน

  7. การประเมินผล การประเมินผลของครอบครัวใช้การประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic assessment) เป็นการประเมินจากข้อมูลเชิงประจักษ์ เน้นถึงผลงานและกระบวนการกระทำตามธรรมชาติในชีวิตจริงเป็นหลัก โดยการสังเกตความงอกงาม ความก้าวหน้า พัฒนาการของลูก การศึกษาผลงานของลูก ประกอบกับการให้ลูกมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง ครอบครัวจะพิจารณาว่าลูกรู้อะไร และสามารถทำอะไรได้บ้าง เน้นที่จำได้ ใช้ได้ ทำได้ อ่านได้ เขียนได้ เข้าใจ โต้ตอบได้ มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการยอมรับ การวิเคราะห์การปรับตัวที่เหมาะสมแต่ถ้าเรียนแล้วสอนแล้วยังจำไม่ได้ ทำไม่ได้ อ่านไม่ได้ เขียนไม่ได้ ไม่เข้าใจ มีความผิดพลาดหลงลืม ครอบครัวถือว่าไม่ผ่านการประเมินผลตามแบบที่ครอบครัววางไว้ ต้องมีการปรับเนื้อหาสาระ การย้ำ การทบทวน จนเกิดความมั่นใจและเข้าใจ จำได้ ทำได้ ฉะนั้นหลายเรื่องจึงเกิดการเรียนรู้และประเมินผลไปพร้อม ๆ กัน เน้นย้ำและสะสมความรู้ไปเรื่อย ๆ จนตกผลึกและสามารถต่อยอดองค์ความรู้ได้

  8. วิธีประเมินผล ประเมินจากสภาพจริง ดูพฤติกรรมการเรียนรู้ ความตั้งใจ ความสนใจ ดูพัฒนาการและความก้าวหน้าในทุกด้าน เก็บร่องรอยการเรียนรู้ ชิ้นงาน แฟ้มงาน สมุดงาน งานประดิษฐ์ สัมภาษณ์ พูดคุย โต้ตอบกันในสถานการณ์ต่าง ๆ สอบถามข้อมูลจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง บันทึกข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรและภาพถ่ายโดยพ่อแม่

  9. สื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้สื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ พ่อแม่ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หนังสือ ตำรา เอกสาร วิทยุ โทรทัศน์ วีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

  10. ผลที่ได้รับจากการจัดการศึกษาผลที่ได้รับจากการจัดการศึกษา สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวลูกโดยตรง เรียนรู้ตามธรรมชาติ ไม่เครียดจากงานที่มากมายและการเปรียบเทียบแข่งขัน รู้ถึงความสามารถของตัวเอง มีความก้าวหน้าในองค์ความรู้ที่หลากหลาย ใช้ความรู้ที่มีได้อย่างเหมาะสมกับวัย เชื่อมโยงความรู้กับความจริง เป็นเด็กดีที่มีความสุข

  11. ผลที่ได้รับจากการจัดการศึกษา (ต่อ) แนวทางการจัดการศึกษา ลูกเป็นศูนย์กลาง ลูกออกแบบและกำหนดหลักสูตร ลูกเลือกกิจกรรม ลูกมีพัฒนาการและความก้าวหน้าตามธรรมชาติ สอดคล้องกับ มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

  12. ผลที่ได้รับจากการจัดการศึกษา (ต่อ) การจัดกระบวนการเรียนรู้ สอดคล้องกับความถนัดความสนใจ เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา สอดคล้องกับ มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

  13. หลักสูตรครอบครัวของครอบครัวแป้งหอมหลักสูตรครอบครัวของครอบครัวแป้งหอม ปฐมวัย (3- 5 ปี) ช่วงที่ 2 และ 3 (6 - 8 ปี) สี สนุกกับตัวเลขตัวอักษร ฟังพ่อแม่อ่านหนังสือที่ลูกเลือก เล่นกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกันมารยาท ระเบียบวินัย การอยู่ร่วมกันในครอบครัว เป็นต้น แววนักกีฬาเริ่มเด่น เน้นกีฬา 3 ประเภท ว่ายน้ำ วิ่ง จักรยาน บูรณาการชีวิตประจำวันกับสาระที่จำเป็น เริ่มเรียนภาษาอังกฤษกับครูคนไทย เป็นต้น

  14. หลักสูตรครอบครัวของครอบครัวแป้งหอมหลักสูตรครอบครัวของครอบครัวแป้งหอม ช่วงที่ 4 (8 - 9 ปี) กีฬาเด่นชัดต่อเนื่องเป็นศักยภาพหลักของลูก เน้นสาระมากขึ้น แต่ยังคงเป็นการบูรณาการ กิจกรรมกลุ่ม เน้นกีฬาและธรรมชาติวิทยา

  15. กิจกรรมของครอบครัวแป้งหอมกิจกรรมของครอบครัวแป้งหอม กิจกรรมร่วมกับสถาบันการศึกษาเช่น • กิจกรรมการนำเสนอโครงงาน โรงเรียนวรรณสว่างจิต กรุงเทพฯ • วัตถุประสงค์ • เพื่อให้รู้และสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่ได้อบรมมา • รายละเอียดวิธีการจัดการเรียนรู้ • เมื่ออบรมตามกิจกรรมครั้งที่แล้ว วิทยากรได้กำหนดระยะเวลาให้ 2 เดือน โดยให้แต่ละครอบครัวหรือเด็กแต่ละคนทำโครงงานมานำเสนอ ลูกเลือกการเลี้ยงลูกอ๊อด เพราะเริ่มมีไข่กบมาให้เห็นและสนใจเอง อยากรู้ความเปลี่ยนแปลง แม่จึงเลือกนำมาทำเป็นงานนำเสนอ • กลุ่มสาระการเรียนรู้ / มาตรฐานการเรียนรู้ • ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศึกษาความเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต เรียนรู้กระบวน-การธรรมชาติรอบตัว แยกแยะสิ่งมีชีวิตว่าเป็นสัตว์ประเภทใด ฝึกการสังเกตและการวาดภาพจากสิ่งที่เห็น • การวัดและประเมินผล • ดูการนำเสนอของลูกที่เป็นการเล่าเรื่องราวที่ตัวเองทำมา การตอบคำถามที่ได้รับจากผู้ฟัง สามารถตอบได้ตรงและขยายความประกอบได้

  16. กิจกรรมของครอบครัวแป้งหอมกิจกรรมของครอบครัวแป้งหอม กิจกรรมร่วมกับกลุ่มบ้านเรียนเช่น กิจกรรมค่ายนักปั่น สวนแสงอรุณ จังหวัดปราจีนบุรี วัตถุประสงค์ ฝึกกายฝึกใจ ฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ฝึกการทำงานเป็นทีม ฝึกการช่วยเหลือตัวเอง รายละเอียดวิธีการจัดการเรียนรู้ เน้นความอดทนของร่างกายและจิตใจในการปั่นจักรยานทางไกล การช่วยเหลือกันในกลุ่มเพื่อบรรลุเป้าหมาย การแบ่งหน้าที่ในกลุ่ม ความพร้อมในการเผชิญสถานการณ์และการปรับตัวกับสถานที่ ๆ แตกต่างจากที่บ้าน ศึกษาวิถีชีวิตของชาวบ้านและชุมชนในพื้นที่จัดกิจกรรม เรียนรู้เรื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ ของจักรยานและอุปกรณ์เสริมในการช่วยทุ่นแรง การทำกิจกรรมตามที่กลุ่มกำหนดและการเป็นผู้ตามที่ดี กลุ่มสาระการเรียนรู้ / มาตรฐานการเรียนรู้ สังคมศึกษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลศึกษา การงานอาชีพ วัดพละกำลังของร่างกายและจิตใจ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดต่อตนเองและผู้อื่น การวัดและประเมินผล ดูจากสภาพจริงในการเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งลูกมีความพยายามและพึงพอใจที่จะปฏิบัติตามกลุ่ม สามารถแยกนอนตามลำพังกับพี่ ๆ ได้ ตักอาหารเอง กินเอง ล้างจานเอง ทำตามผู้นำกลุ่มได้อย่างสนุกสนาน

  17. กิจกรรมของครอบครัวแป้งหอมกิจกรรมของครอบครัวแป้งหอม กิจกรรมของครอบครัว เช่น เยี่ยมปู่ย่า จังหวัดกำแพงเพชร และเยี่ยมตายาย จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบกิจกรรม เป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ครอบครัวและห้องเรียนโลกกว้าง รายละเอียดกิจกรรม การพาลูกไปเยี่ยมเยียนเครือญาติผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดที่สุด ครอบครัวเราทำเป็นประจำเมื่อมีเวลาในการไปแต่ละครั้งนอกจากเป็นการสร้างความสัมพันธ์ครอบครัวแบบไทยให้แนบแน่นแล้วยังเกิดกระบวนการเรียนรู้ การอบรมบ่มเพาะจากปู่ย่าตายายที่สอนหลานตามวิธีการดั้งเดิมแบบไทย ๆ ซึ่งเป็นแนวทางบ้านเรียนตามวิถีครอบครัวที่เรายึดถือเป็นแกนหลักในการจัดการเรียนการสอนทุกเรื่องให้ลูก ทุกเรื่องเริ่มที่ครอบครัวและสานต่อเป็นสายใยความรัก ความรู้ควบคู่กันไปตลอดเวลา เป้าหมายของกิจกรรม ให้ลูกได้ซึมซับความเป็นไทยผ่านคนแต่ละรุ่นที่เติบโตต่างกาลเวลา ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่หลากหลาย เข้าใจความสัมพันธ์ที่ดีที่สุดในความรัก ความเอาใจใส่ ความอบอุ่นจากบุพการี ผ่านการกระทำ เข้าใจถึงความกตัญญูรู้คุณบิดามารดา ผ่านการปฏิบัติของพ่อแม่ที่ปฏิบัติต่อปู่ย่าตายาย ได้เรียนรู้วิถีชีวิตที่แตกต่างแต่สามารถผสมผสานกันได้ มีโอกาสรับการถ่ายทอดความรู้มากมายอย่างเป็นธรรมชาติและเต็มไปด้วยคุณค่า ได้เรียนรู้ความเป็นมาของพ่อแม่และตนเอง สร้างความสัมพันธ์ครอบครัวเรียนรู้ร่วมกันให้ครบสมบูรณ์

  18. การประเมินผลจากสถานการณ์จริงการประเมินผลจากสถานการณ์จริง ที่เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น “ลูกเล่นตุ๊กตาไอ้มดแดงที่สามารถถอดต่อประกอบแขนขาได้ ลูกลงมือแยกชิ้นส่วนตุ๊กตา และสลับแขนสลับตัวกัน ตัวสีเขียวต่อด้วยแขนสีแดง ตัวสีน้ำเงินต่อด้วยแขนสีเขียวสลับกันจนครบทั้งสี่ตัว และตั้งชื่อให้ตุ๊กตาแต่ละตัวใหม่” “ลูกตั้งชื่อโดยเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เช่น Rider green red, Rider blue green จนครบทั้งสี่ตัว การที่ลูกใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ โดยไม่ได้ผ่านบังคับทุกอย่างเกิดขึ้นเป็นธรรมชาติ ทำให้สามารถประเมินผลการเรียนรู้อย่างอิสระที่เกิดขึ้นว่าลูกนำความรู้ที่สะสมไว้ในสมองมาใช้อย่างถูกต้อง นับว่าลูกมีพัฒนาการที่ก้าวหน้า มีความคิดเป็นศิลปะ มีการคิดวิเคราะห์” ในกระบวนการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ไม่มีการท่องศัพท์ แต่เป็นการเรียน ผ่านการอ่าน การเขียน ไปตามวัยและพัฒนาการของลูก เป็นการสะสมประสบการณ์จากการเรียนแบบค่อยเป็นค่อยไป

  19. รายงานการประเมินผลการฝึกฝนทักษะการว่ายน้ำของเด็กชายมาศวัฒน์ แป้งหอม โดย นายณัฐชัย อุทัยพัฒน์ ผู้ฝึกสอน 1.การพัฒนาความก้าวหน้าในการฝึกซ้อม มีการพัฒนาทักษะของท่าว่ายน้ำทั้ง 4 ท่าได้ดีขึ้น และสามารถว่ายตามโปรแกรมการ ฝึกซ้อมที่ผู้สอนกำหนดได้ดี 2.การเคารพเชื่อฟังผู้ฝึกสอน ปฏิบัติและเชื่อฟังผู้ฝึกสอนดี และมีความเคารพผู้ฝึกสอน 3.การปฏิบัติตามกำระเบียบของโรงเรียนสอนว่ายน้ำ สามารถปฏิบัติตามได้อย่างเคร่งครัด 4.การให้ความร่วมมือในกิจกรรมของโรงเรียนสอนว่ายน้ำ ให้ความร่วมมือในกิจกรรมของโรงเรียนด้วยดีเสมอมา 5.ลักษณะนิสัย พฤติกรรมและมารยาท ร่าเริงสามารถเข้ากับเพื่อน ๆ ได้ดีมาก และเป็นเด็กมีสัมมาคารวะ 6.การเรียนรู้กฎกติกา มารยาทในการแข่งขัน มีความสนใจในการเรียนรู้กำกติกาในการแข่งขัน เมื่อมีข้อสงสัยจะซักถามผู้ฝึกสอน ทันที 7.การพัฒนาทางด้านร่างกาย เด็กมีพัฒนาทางด้านร่างกายที่เหมาะสมพร้อมที่จะรับการฝึกฝนตามโปรแกรมทั้งบน บกและในน้ำ 8.ปัญหาและจุดบกพร่องที่ต้องแก้ไขปรับปรุง ควรมีการพัฒนาทักษะกาว่ายน้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อที่เด็กจะได้ไม่ลืม โดยรวมเด็กมีการ พัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจ อารมณ์ในทางที่ดี พร้อมที่จะฝึกทักษะการว่ายน้ำขั้นสูงต่อไป

  20. ตารางโครงสร้างหลักสูตรครอบครัวช่วงชั้นที่ 1

  21. สาระการเรียนรู้ ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ค่าน้ำหนัก (หน่วยกิต) ระดับผลการเรียน ค่าน้ำหนัก (หน่วยกิต) ระดับผลการเรียน ค่าน้ำหนัก (หน่วยกิต) ระดับผลการเรียน 1. ภาษาไทย 3 2.21 3 2.66 3 2.66 2. คณิตศาสตร์ 1 1.60 1 2.10 1 2.42 3. วิทยาศาสตร์ 5 3.00 5 3.25 5 2.60 4. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3 3.00 3 3.35 3 2.62 5. สุขศึกษา และพลศึกษา 5 3.50 5 3.60 5 3.45 6. ศิลปะ 1 2.00 1 2.58 1 2.31 7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี 3 3.00 3 3.20 3 2.80 8. ภาษาต่างประเทศ 3 2.50 3 2.71 3 2.63 9. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ไม่ผ่าน ไม่ผ่าน ไม่ผ่าน รวม 20.89 23.45 28.89 ผลการเรียนเฉลี่ย 2.60 2.45 2.68 ผลการเรียนเฉลี่ยรวม 2.57 ตารางบันทึกผลการประเมินผลการเรียนช่วงชั้นที่ 1

  22. ปัญหาและอุปสรรค กระบวนการ แนวทางและวิธีการ รวมถึงเนื้อสาระและกิจกรรมที่นำสู่ความรู้ของลูก ไม่เหมือนกับการศึกษาในโรงเรียน หากให้มีการปฏิบัติด้านอื่น ๆ เช่นเดียวกับการศึกษาในระบบ จึงยากที่จะมีแบบวัดและประเมินที่ยุติธรรมต่อการจัดการศึกษาโดยครอบครัว หลักการและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ไม่ได้ถูกถ่ายทอดลงไปสู่กฎกระทรวงหรือหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างครบถ้วน ทำให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวเกิดความยุ่งยากในการทำงาน เนื่องจากตีความต่างกัน เข้าใจต่างกัน เพราะกฎกระทรวงไม่สอดคล้องกับกฎหมายหลักด้านการศึกษา ครอบครัวต้องการการสนับสนุนด้านอื่น ๆ นอกเหนือไปจากเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวและเงินสนับสนุนการเรียนฟรี

  23. ปัญหาและอุปสรรค (ต่อ) คณะศึกษานิเทศก์เกิดปัญหาในการตัดสินจบช่วงชั้นเพราะมีหลายท่านซึ่งทัศนคติ ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัวไม่ตรงกัน เพราะกฎกระทรวงฯ, แนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาทางเลือกฯ และคู่มือการดำเนินงานฯ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ออก ขาดความสอดคล้องกัน จึงไม่รู้จะเลือกตีความอย่างไรในการปฏิบัติต่อครอบครัว สังคมโดยรวมรู้จักการจัดการศึกษาโดยครอบครัวน้อยมาก จึงทำให้เกิดปัญหาติดขัดเวลาไปร่วมกิจกรรมอย่างเป็นทางการกับหน่วยภาครัฐและเอกชน ทำให้เด็กเสียโอกาสในการร่วมกิจกรรมหลายครั้ง

  24. ข้อเสนอแนะ กระทรวงศึกษาธิการควรให้มีหน่วยงานดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัวขึ้นเฉพาะ เพื่อให้ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครองได้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์กฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องไปยังภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หรือทำงานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนได้ทราบถึงการศึกษาทางเลือกที่มีอยู่ในขณะนี้ จัดงบประมาณอบรม ชี้แจง และสร้างความเข้าใจให้แก่เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัว รวมไปถึงครอบครัวที่ต้องการจัดการศึกษา อย่างน้อยปีละครั้ง

  25. ข้อเสนอแนะ (ต่อ) กระทรวงศึกษาธิการควรให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกัน เพื่อพัฒนาการศึกษาทางเลือก อันเป็นส่วนสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบัน การจัดงบประมาณในการอบรบให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองซึ่งจัดการศึกษาโดยครอบครัวให้เกิดการพัฒนาทักษะในการจัดการศึกษาให้แก่ลูกหลานได้ดียิ่งขึ้น

More Related