330 likes | 1.09k Views
หน่วยที่ 2 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ อินเตอร์เน็ต. คุณธรรม หมายถึง ความสามารถในการพิจารณาและจำแนกได้ว่าการกระทำอย่างใดถูกและอย่างใดผิด ตามเจตนาและแรงจูงใจในการใช้อินเตอร์เน็ต ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ หมายถึง การประกบอาชีพด้วยความสุจริต รักในอาชีพที่ทำอยู่ ไม่นำสิ่งปลอมปนมาใช้ในการประกอบอาชีพ
E N D
หน่วยที่ 2 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต
คุณธรรม หมายถึง ความสามารถในการพิจารณาและจำแนกได้ว่าการกระทำอย่างใดถูกและอย่างใดผิด ตามเจตนาและแรงจูงใจในการใช้อินเตอร์เน็ต • ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ หมายถึง การประกบอาชีพด้วยความสุจริต รักในอาชีพที่ทำอยู่ ไม่นำสิ่งปลอมปนมาใช้ในการประกอบอาชีพ • ซื่อสัตย์ต่อตนเอง หมายถึง การรู้จักยับยั้งชั่งใจไม่ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง รู้จักควบคุมอารมณ์และจิตใจตนเอง
จริยธรรม จริยธรรม หมายถึง หลักศีลธรรมที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือ ควบคุมการใช่ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ • ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ • ความถูกต้องของสารสนเทศ • สิทธิครอบครองสารสนเทศ • สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข้อควรปฏิบัติในการใช้อินเตอร์เน็ต
1. ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ • สิทธิในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าไปอ่าน e-mail ของตน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารในบริการต่างๆของเว็บไซต์ • สิทธิในข้อมูลส่วนตัว • สิทธิในการถูกเฝ้าดูหรือติดตามพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน
2. ความถูกต้องของสารสนเทศ • สารสนเทศต้องมีความถูกต้อง • น่าเชื่อถือ • มีการตรวจสอบ • ให้สิทธิผู้เป็นเจ้าของเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้
3. สิทธิครอบครองสารสนเทศ • ทรัพย์สิน มีทั้ง จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ • จับต้องได้ เช่น เครื่องคอมและอุปกรณ์ • จับต้องไม่ได้ เช่น ซอฟท์แวร์ • ต้องยอมรับข้อตกลงในลิขสิทธิ์ตามเงื่อนไข
4. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข้อควรปฏิบัติในการใช้อินเตอร์เน็ต • การบริหารระบบต้องมีการกำหนดระดับความสำคัญของบุคคลที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ในระดับใด • อาจกำหนดเป็นรหัสผ่านในการเข้าถึงข้อมูล • การลักลอบเข้าไปในสิทธิของผู้อื่น เป็นการละเมิดข้อมูลและจริยธรรมอย่างมาก
ข้อควรปฏิบัติในการใช้อินเตอร์เน็ตข้อควรปฏิบัติในการใช้อินเตอร์เน็ต • ไม่ควรบอกข้อมูลส่วนตัวกับบุคคลที่ติดต่อมาในอินเตอร์เน็ต • ใช้ภาษาสุภาพในการติดต่อสื่อสารกัน • ไม่ควรนัดพบกับผู้ที่รู้จักกันอินเตอร์เน็ตเป็นการส่วนตัว • ไม่ใช้อินเตอร์เน็ตในการโจรกรรมข้อมูลและข่าวสารของผู้อื่น • การ Log in ควรใช้ชื่อบัญชีของตนเองเท่านั้น • ไม่คัดลอกโปรแกรมหรือข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์มาเป็นของตนเอง • การสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต ควรสืบค้นจากหลายๆที่ แล้วนำข้อมูลมาสรุปเป็นชิ้นงานของตนเอง • ไม่ส่งไวรัสไปทำความเสียหายให้กับเครื่องอื่นๆ • ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐาน • เคารพกฏระเบียบในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างเคร่งครัด
5. พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ฉบับย่อ เข้าใจง่าย พรบ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งได้ประกาศ และบังคับใช้แล้วนั้น ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 นี้ 1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป ... เจอ คุก 6 เดือน 2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้าน แล้วเที่ยวไปโพนทะนาให้คน อื่นรู้ ... เจอคุกไม่เกินปี 3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของ เขา ... เจอคุกไม่เกิน 2 ปี 4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วเรา ทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา ... เจอคุกไม่เกิน 3 ปี 5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ เราดันมือบอนไปโมมันซะ งั้น ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
5. พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 6. ระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้านทำงานอยู่ดี ๆ เราดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojanหรือ worm หรือ (โอ๊ยเยอะ ) เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ย ง ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี 7. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเล้ย เราก็ทำตัวเป็นอีแอบเซ้าซี้ ส่งให้เขาซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ ... เจอปรับไม่ เกินหนึ่งแสนบาท 8. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วมันสร้างความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า งานนี้มีซวยแน่ เจอคุกสิบปีขึ้น 9. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใคร ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ในข้อข้างบน ๆ ได้ ... เจอคุกไม่เกินปีนึง เหมือนกัน 10.โป๊ก็โดน, โกหกก็โดน, เบนโลก็โดน, ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี • ที่มา http://it.nkc.kku.ac.th/ict_law.aspx