1.19k likes | 1.46k Views
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหมอภาษี คลินิคภาษี กระทรวงการคลัง รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 14-17 พฤษภาคม 2556. กฎหมายภาษีสรรพสามิต. โดย วรพจน์ ด้วงพิบูลย์ นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักกฎหมาย กรมสรรพสามิต. พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
E N D
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหมอภาษี คลินิคภาษี กระทรวงการคลัง รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 14-17 พฤษภาคม 2556
กฎหมายภาษีสรรพสามิต โดย วรพจน์ ด้วงพิบูลย์ นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักกฎหมาย กรมสรรพสามิต
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 พระราชบัญญัติไพ่ พุทธศักราช 2486 พระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสุรา พ.ศ. 2527
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต 1. นิยามศัพท์ต่าง ๆ 2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี 3. ฐานในการคำนวณภาษี 4. ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี 5. สิทธิของผู้มีหน้าที่เสียภาษี 6. การควบคุมการจัดเก็บภาษี 7. ฐานความผิด 8. มาตรการบังคับในการจัดเก็บภาษี
คำนิยามที่สำคัญตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 สินค้า หมายความว่า สิ่งซึ่งผลิตหรือนำเข้าและระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วย พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต บริการ หมายความว่า การให้บริการในทางธุรกิจในสถานบริการตามที่ระบุ ไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต รายรับ หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่อาจคำนวณได้เป็นเงินที่ได้รับหรือพึงได้รับ เนื่องจากการให้บริการ
คำนิยามที่สำคัญตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ผลิต หมายความว่า ทำ ประกอบ ปรับปรุง แปรรูป หรือแปร สภาพสินค้า หรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แต่มิให้ รวมถึงการประดิษฐ์ค้นคว้าที่มิได้ทำขึ้นเพื่อ ขาย โรงอุตสาหกรรม หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการผลิตสินค้ารวมตลอดทั้ง บริเวณแห่งสถานที่นั้น และให้หมายความ รวมถึงเครื่องขายเครื่องดื่มด้วย
คำนิยามที่สำคัญตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 สถานบริการ หมายความว่า สถานที่สำหรับประกอบกิจการใน ด้านบริการและให้หมายความถึง สำนักงานใหญ่ที่จัดตั้งขึ้นในการ ประกอบกิจการในกรณีที่ไม่อาจ กำหนดสถานที่ให้บริการได้แน่นอน แสตมป์สรรพสามิต หมายความว่า แสตมป์ที่รัฐบาลทำหรือจัดให้มีขึ้น เพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีตาม พระราชบัญญัตินี้ เครื่องหมายแสดง หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้แสดงการเสียภาษี การเสียภาษีแทนแสตมป์สรรพสามิต
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี 1. ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 2. ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ 3. ผู้นำเข้าสินค้า 4. ผู้อื่นที่ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต กำหนด - ผู้ที่ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดอัตราภาษี หรือผู้โอนและผู้รับโอน กรณีที่สิทธิที่ได้รับการยกเว้นหรือลดอัตราภาษีสิ้นสุดลง (มาตรา 11, มาตรา 12) - เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน กรณีสินค้าขาดไปจากบัญชีคุม (มาตรา 42)
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี - ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการที่ได้ตั้ง ขึ้นใหม่โดยการควบเข้ากันหรือรายเดิมที่โอนและที่รับโอนกรณีที่ มีการควบกิจการเข้าด้วยกันหรือโอนกิจการ (มาตรา 57) - ผู้ชำระบัญชีและกรรมการผู้อำนวยการหรือผู้จัดการกรณีนิติ บุคคลเลิกกิจการ โดยมีการชำระบัญชี (มาตรา 58 วรรคแรก) - บุคคลผู้มีอำนาจจัดการ กรณีนิติบุคคลเลิกกิจการโดยไม่มี การชำระบัญชี (มาตรา 58 วรรค 2) - ผู้ดัดแปลง รถยนต์ กระบะ หรือสิ่งใด ๆ ตามที่กำหนดใน กฎกระทรวงให้เป็นรถยนต์นั่งหรือเป็นรถยนต์โดยสารที่มี ที่นั่งไม่เกินสิบคน (มาตรา 144 เบญจ) - ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 161 หรือ 162
ฐานในการคำนวณภาษีพ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 8 1. ตามมูลค่า (ราคา) หรือ 2. ตามปริมาณ (สภาพ) ตามอัตราที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ใช้อยู่ ในเวลาที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น
ฐานในการคำนวณภาษีพ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 4 สินค้าใดที่ระบุอัตราภาษีทั้งตามมูลค่าและตามปริมาณ ให้เสียภาษีในอัตราที่คิดเป็นเงินสูงกว่า
ฐานภาษีตามมูลค่าสำหรับสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 8(1) 1. ฐานภาษีสำหรับสินค้าผลิตในราชอาณาจักร ให้ถือตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม โดยให้รวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระด้วย 2. ในกรณีที่ไม่มีราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม หรือราคาขาย ณ โรง อุตสาหกรรมมีหลายราคา ให้ถือตามราคาที่อธิบดีกำหนดตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง 3. เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจ ประกาศมูลค่าของสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการ คำนวณภาษีโดยกำหนดจากราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติ ได้
ฐานภาษีตามมูลค่า สำหรับสถานบริการพ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 8(2) ในกรณีบริการ ให้ถือตามรายรับของสถานบริการ 1. สนามแข่งม้า - รายรับที่ต้องเสียภาษีคือ ค่าผ่านประตู และรายรับที่หักไว้จากผู้เล่น การพนันแข่งม้า ให้หักเงินรางวัลที่ต้องจ่ายคืนให้แก่ผู้เล่นการพนัน แข่งม้าดังกล่าว 2. สนามกอล์ฟ - รายรับจากค่าสมาชิก และค่าใช้การสนามกอล์ฟ
ฐานภาษีตามมูลค่า สำหรับสถานบริการพ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 8(2) 3. ไนท์คลับ ดิสโกเธค - รายรับของสถานที่สำหรับดื่มกินและเต้นรำโดยจัดให้มีการแสดงดนตรี หรือใช้เครื่องเสียง หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง 4. อาบน้ำ อบตัว และนวด - รายรับของการให้บริการอาบน้ำหรืออบตัว และนวด โดยมีผู้ให้บริการ
ฐานภาษีตามมูลค่าสำหรับสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรพ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 8(3) 1. สินค้าที่นำเข้า ให้ถือ - ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้า - บวกอากรขาเข้า - บวกค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน - บวกภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร
ฐานภาษีตามมูลค่าสำหรับสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรพ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 8 (3) 2. กรณีที่ผู้นำเข้า ได้รับยกเว้นหรือลดอากรขาเข้า - ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน - ตามกฎหมายอื่น ให้นำอากรขาเข้าซึ่งได้รับยกเว้นหรือลดอัตราดังกล่าวมารวมในการคำนวณ มูลค่าด้วย (ยกเว้นหรือลดอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรไม่ต้องนำมา รวมในการคำนวณภาษีตามมูลค่า)
ฐานภาษีตามมูลค่าสำหรับสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรพ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 8(3) 3. ราคา ซี.ไอ.เอฟ ได้แก่ราคาสินค้าบวกด้วยค่าประกันภัยและค่า ขนส่งถึงด่านศุลกากรในราชอาณาจักร เว้นแต่ - กรณีที่อธิบดีกรมศุลกากรประกาศให้ราคาท้องตลาดสำหรับของ ประเภทใดประเภทหนึ่งที่ต้องเสียอากรตามราคาเป็นรายเฉลี่ย ตาม กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรให้ถือราคานั้นเป็นราคาสินค้าใน การคำนวณราคา ซี.ไอ.เอฟ. - กรณีที่เจ้าพนักงานศุลกากรประเมินราคาเพื่อเสียอากรขาเข้าใหม่ ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ถือราคานั้นเป็นราคาสินค้าในการ คำนวณราคา ซี.ไอ.เอฟ.
ฐานภาษีตามปริมาณการคำนวณปริมาณสินค้าพ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 9 สินค้าที่ต้องเสียภาษีตามปริมาณ ให้ถือตามหน่วยตามน้ำหนักสุทธิหรือ ตามปริมาณของสินค้านั้น เว้นแต่ 1. สินค้าประเภทอาหารที่บรรจุภาชนะ โดยมีของเหลวหล่อเลี้ยงด้วยเพื่อประโยชน์ใน การถนอมอาหาร น้ำหนักที่ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณภาษี ให้ถือเอาน้ำหนักสินค้ารวมทั้งของเหลวที่ บรรจุในภาชนะ 2. สินค้าที่บรรจุในหีบห่อหรือภาชนะใด ๆ เพื่อจำหน่ายทั้งหีบห่อหรือภาชนะ และมี เครื่องหมายหรือป้ายแสดงปริมาณสินค้าติดไว้ที่หีบห่อหรือภาชนะ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณ ภาษีอธิบดีจะถือว่าหีบห่อหรือภาชนะนั้น ๆ บรรจุสินค้าตามปริมาณที่แสดงไว้ก็ได้
ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี (มาตรา 10 (1)) (1) กรณีสินค้าที่ผลิตขึ้นในราชอาณาจักรให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี เกิดขึ้นเมื่อ (1.1) นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม (1.2) นำสินค้าไปใช้ในโรงอุตสาหกรรม (1.3) นำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนฯ เขตปลอดอากร หรือเขตอุตสาหกรรมส่งออก ยื่นแบบรายการภาษี และชำระภาษีก่อนความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น (1.4) ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นก่อนนำสินค้าออกจาก โรงอุตสาหกรรมหรือคลังทัณฑ์บน ยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีก่อนความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น หรือภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี เกิดขึ้น หรือก่อนการนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน แล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นก่อน (มาตรา 48 (1))
ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี (มาตรา 10 (2)) (2) กรณีบริการ ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นเมื่อ ได้รับชำระราคาค่าบริการ เว้นแต่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการ ยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือน ถัดจากเดือนที่มีความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น (มาตรา 48 (2))
ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี (มาตรา 10 (3)) (3) กรณีสินค้านำเข้า ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากร ยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีในเวลาที่ออกใบขนสินค้าขาเข้าตามกฎหมายศุลกากร (มาตรา 48 (3))
การนำสินค้าที่มิได้เสียภาษีออกจากโรงอุตสาหกรรมฯ (มาตรา 19) ห้ามมิได้นำสินค้าที่ยังไม่เสียภาษีโดยถูกต้องครบถ้วนออกจากโรงอุตสาหกรรมคลังสินค้าทัณฑ์บน คลังสินค้าทัณฑ์บนศุลกากร เขตปลอดอากร หรือเขตอุตสาหกรรมส่งออก เว้นแต่ - นำไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนฯ เขตปลอดอากร หรือเขตอุตสาหกรรม ส่งออก - นำจากคลังสินค้าทัณฑ์บนฯ เขตปลอดอากรหรือเขตอุตสาหกรรมส่งออก กลับคืนไปเก็บไว้ในโรงอุตสาหกรรมคลังสินค้าทัณฑ์บนฯ อีกแห่งหนึ่ง - ได้รับอนุมัติให้ชำระภาษีภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่นำ สินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บนฯ โดยมีหลักประกัน - เป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษี - นำสินค้าออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายหรือคำสั่งโดยชอบกฎหมาย - นำสินค้าออกไปทดสอบประสิทธิภาพในขั้นตอนการผลิตหรือจำหน่าย (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่ห้าเท่าถึงยี่สิบเท่าของค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 147))
สิทธิของผู้มีหน้าที่เสียภาษีสิทธิของผู้มีหน้าที่เสียภาษี (การยกเว้น การลดหย่อน การลดอัตรา และการคืนภาษี)
สินค้านำเข้าที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 99 1. เป็นสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคที่ว่าด้วยของที่ได้รับ ยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร (พิกัดอัตรา ศุลกากร ภาค 4) 2. ได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตด้วย 3. การได้รับยกเว้นภาษีเป็นไปตามเงื่อนไขเดียวกับที่บัญญัติไว้ใน กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
สินค้าที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 100 1. เป็นสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากร 2. ได้รับยกเว้นหรือคืนภาษีหรือลดอัตราภาษีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง 3. สินค้าที่นำออกจาก - คลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร - เขตปลอดอากร
สินค้าที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 100 - เขตอุตสาหกรรมส่งออก หรือสินค้าที่นำออกจาก - คลังสินค้าทัณฑ์บน - คลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร - เขตปลอดอากร - เขตอุตสาหกรรมส่งออก แห่งหนึ่งเข้าไปอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายศุลกากรให้ ได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตด้วย
การลดหย่อนภาษีพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 101 1. ผู้มีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีคือผู้ประกอบอุตสาหกรรม 2. ขอลดหย่อนภาษีได้เฉพาะสินค้า (ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต) ที่กำหนดในกฎกระทรวง 3. ลดหย่อนโดยการนำจำนวนเงินภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ที่ได้เสียไว้แล้ว
การลดหย่อนภาษี - สินค้าที่กำหนดไว้คือ น้ำมัน รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ แบตเตอรี่ เครื่องดื่ม (กฎกระทรวง ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2534) แก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้ายโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 37 (พ.ศ.2548))
การยกเว้นภาษีพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 101 ทวิ 1. สินค้า (ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต) ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้าประเภทหรือชนิดเดิมหรืออีกประเภทหรืออีกชนิดหนึ่ง (เฉพาะตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต) 2. สินค้า (ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต)ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก (เฉพาะตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต)
การยกเว้นภาษีพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 101 ทวิ 3. อธิบดีกรมสรรพสามิต มีอำนาจยกเว้นภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี 4. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง - กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้า พ.ศ. 2545
สินค้าที่บริจาคหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ได้รับเอกสิทธิ์และน้ำมันเติมเรือหรืออากาศยานสินค้าที่บริจาคพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 102 1. สินค้าที่บริจาคแก่ประชาชนเป็นการสาธารณกุศล โดยผ่านส่วนราชการ หรือองค์การสาธารณกุศล 2. สินค้าที่บริจาคเป็นการสาธารณประโยชน์ให้แก่ส่วนราชการ หรือโดยผ่านองค์การสาธารณกุศล
สินค้าที่บริจาคหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ได้รับเอกสิทธิ์และน้ำมันเติมเรือหรืออากาศยานสินค้าที่บริจาคพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 102 3. ต้องเป็นสินค้าเฉพาะที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง - กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2542) กำหนดให้เครื่องดื่มเป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้นหรือคืนภาษีในกรณีนี้ 4. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษี
สินค้าที่บริจาคหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ได้รับเอกสิทธิ์และน้ำมันเติมเรือหรืออากาศยานสินค้าที่จำหน่ายให้แก่ผู้ได้รับเอกสิทธิ์มาตรา 102 1. เป็นสินค้าที่จำหน่ายให้แก่ผู้ได้รับเอกสิทธิ์ ตามข้อตกลงหรือ ความสัมพันธ์กันระหว่างประเทศ 2. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี
สินค้าที่บริจาคหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ได้รับเอกสิทธิ์และน้ำมันเติมเรือหรืออากาศยานน้ำมันเติมเรือหรืออากาศยานมาตรา 102 1. น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่เติม - ในอากาศยาน - ในเรือที่มีขนาดเกินกว่าห้าร้อยตันกรอสส์ 2. พนักงานศุลกากรได้ปล่อยให้ไปต่างประเทศแล้ว 3. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี
บริการที่มีการบริจาครายรับพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 102 ทวิ 1. บริการที่บริจาครายรับ - ให้แก่ประชาชนเป็นการสาธารณกุศล โดยผ่านส่วนราชการ หรือ องค์การสาธารณกุศล - เป็นการสาธารณประโยชน์แก่ส่วนราชการ หรือโดยผ่านองค์การ สาธารณกุศล 2. เฉพาะบริการตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง - กฎกระทรวง ฉบับที่ 34 (พ.ศ. 2542) กำหนดให้ สนามแข่งม้า และ สนามกอล์ฟ เป็นบริการที่ผู้ประกอบกิจการสถานบริการมีสิทธิ ได้รับยกเว้นภาษี
เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 103 1. เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ 2. เพื่อความผาสุกของประชาชน 3. รัฐมนตรี โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศ - ลดอัตราภาษี - ยกเว้นภาษี สำหรับสินค้าหรือบริการใด ๆ โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้
สินค้าที่เสียหาย หรือเสื่อมคุณภาพจนใช้การไม่ได้พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 104 1. สินค้าที่พิสูจน์ได้ว่าเสียหายหรือเสื่อมคุณภาพจนใช้การไม่ได้ ให้ยกเว้นภาษีสำหรับ 2. เฉพาะสินค้าที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2542) คือ - เครื่องดื่ม - แบตเตอรี่ 3. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิได้รับคืนภาษี
สินค้าที่นำเข้าและต่อมาได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรส่งกลับออกไปในสภาพเดิมพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 105 1. เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งได้เสียภาษีแล้ว 2. ส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร 3. คืนภาษีให้แก่ผู้นำเข้าตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและใน อัตราส่วนเดียวกับการคืนเงินอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วย ศุลกากร - การคืนภาษีสรรพสามิตในกรณีนี้ ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับ กรณีตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ (ฉบับที่ 9) มาตรา 19 (- นำเข้าแล้วส่งกลับไปสภาพเดิม, - มิได้ใช้ประโยชน์, - ส่งกลับออกไปภายใน 1 ปีนับแต่วันนำเข้า, - ขอคืนภาษีภายใน 6 เดือนนับแต่วันส่งกลับออกไป, -ได้คืนภาษี 9 ใน 10 ส่วน หรือส่วนที่เกินหนึ่งบาทของจำนวนที่ได้เรียกเก็บภาษีไว้ แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า)
สินค้าที่นำเข้าและต่อมาได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นำเข้ามาผลิตเป็นสินค้าส่งออกพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 106 1. สินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งได้ผลิตด้วยสินค้านำเข้า ซึ่งได้เสียภาษี 2. ให้คืนภาษีสำหรับสินค้าที่ได้เสียภาษีแล้วให้แก่ผู้นำเข้า ตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เดียวกับการคืนเงินอากรขาเข้า ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร - การคืนภาษีสรรพสามิตในกรณีนี้ ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับกรณีตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ (ฉบับที่ 9) มาตรา 19 ทวิ (- ส่งกลับออกไป 1ปี, ต้องขอคืนเงินภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไป แต่อธิบดีจะขยายเวลาออกไปตามที่เห็นสมควรก็ได้, - ได้คืนเต็มจำนวนที่ได้เรียกเก็บภาษีไว้ )
สินค้าที่นำเข้าและต่อมาได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร นำเข้ามาผลิตเป็นสินค้าส่งออกพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 106 ข้อสังเกต 1. การคืนภาษีสรรพสามิตในกรณีนี้ ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับกรณีตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ (ฉบับที่ 9) มาตรา 19 ทวิ 2. การคืนภาษีในกรณีนี้ ต้องเป็นการนำเข้าสินค้าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ไปใช้ผลิตสินค้าใหม่ขึ้น โดยสินค้าชิ้นใหม่ต้องเป็นสินค้าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตด้วย - เช่น นำแบตเตอรี่เข้ามาจากต่างประเทศไปประกอบในรถจักรยานยนต์และส่งออก จึงจะเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับการคืนภาษีสรรพสามิต
ยกเว้นภาษีตามกฎหมายอื่นยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 97 ฉ คือ 1. การนำเข้าและการผลิตของที่กระทำในเขตปลอดอากรให้ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต 2. การนำเข้าและการผลิตของที่กระทำในเขตปลอดอากรให้ได้รับยกเว้นภาษีสุรา การปิดแสตมป์ และค่าธรรมเนียม ตามกฎหมายว่าด้วยสุรา กฎหมายว่าด้วยยาสูบ และกฎหมายว่าด้วยไพ่ โดยให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการยกเว้นและการจัดเก็บภาตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิตมาใช้บังคับกับการยกเว้นภาษี การปิดแสตมป์ และค่าธรรมเนียมดังกล่าว
ยกเว้นภาษีตามกฎหมายอื่นยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 1. ยกเว้นภาษีตามมาตรา 48 และ 50 ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการค้าเพื่อส่งออกในเขตอุตสาหกรรมส่งออก ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อากรขาเข้าภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต - สำหรับของที่เป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ รวมทั้ง ส่วนประกอบของสิ่งดังกล่าว ที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือ การค้าเพื่อส่งออก - ของที่ใช้ในการสร้าง ประกอบหรือติดตั้ง เป็นโรงงานหรืออาคารใน เขตอุตสาหกรรมส่งออก
ยกเว้นภาษีตามกฎหมายอื่นยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 - เท่าที่นำเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก ตามที่คณะกรรมการอนุมัติ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขคณะกรรมการกำหนด และของเหล่านี้ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร รวมทั้งผลิตภัณฑ์ สิ่งพลอยได้ และสิ่งอื่นที่ได้จากการผลิตในเขตอุตสาหกรรมส่งออก หากส่งออก ไปนอกราชอาณาจักร ก็ให้ได้รับยกเว้นอากรขาออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิตด้วย
ยกเว้นภาษีตามกฎหมายอื่นยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 2. ยกเว้นภาษีตามมาตรา 49 ซึ่งกำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับของที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการค้าเพื่อส่งออกนำเข้ามาในราชอาณาจักร และนำเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก - เพื่อใช้ในการผลิตสินค้า - เพื่อการค้าเพื่อส่งออก - รวมถึงของที่นำออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกแห่งหนึ่งไปยังเขต อุตสาหกรรมส่งออกอีกแห่งหนึ่งด้วย
การควบคุมการจัดเก็บภาษีการควบคุมการจัดเก็บภาษี
การควบคุมการจัดเก็บภาษีที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิตการควบคุมการจัดเก็บภาษีที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต 1. การจดทะเบียน 2. แสตมป์สรรพสามิตและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี 3. เครื่องมืออุปกรณ์ 4. บัญชีและหลักฐานการปฏิบัติ 5. พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำ ณ สถานที่ผลิต 6. คลังสินค้าทัณฑ์บน 7. การตรวจสอบ จับกุมและปราบปราม
ลักษณะความผิด • ความผิดเกี่ยวกับทะเบียน • ความผิดเกี่ยวกับสินค้า • ความผิดเกี่ยวกับการกระทำ
ความผิดเกี่ยวกับทะเบียนความผิดเกี่ยวกับทะเบียน • ม.25 โทษตาม ม.148(ไม่จดทะเบียนโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ) • ม.28 โทษตาม ม.151 (ไม่แสดงใบทะเบียนสรรพสามิต) • ม.29 โทษตาม ม.151 (ละเลยไม่ยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนสรรพสามิตในกรณีชำรุด/สูญหาย) • ม.30 โทษตาม ม.148 (ไม่แจ้งย้ายโรงอุตสาหกรรม/สถานบริการ) • ม.31 โทษตาม ม.148 (ไม่แจ้งการเลิก/โอนกิจการ) • ม.32 โทษตาม ม.148 (กรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรมตาย และทายาทประกอบกิจการต่อโดยไม่ยื่นขอ จดทะเบียนสรรพสามิต)
ม.161 (การครอบครอง)ม.162 (การขาย/มีไว้เพื่อขาย) ความผิดเกี่ยวกับสินค้า