961 likes | 7.02k Views
บุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา. จัดทำโดย เด็กหญิง ศุทธินี อินทร์ทะผา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2/1 เลขที่30 เสนอ อาจารย์ จริญญา ม่วงจีน อาจารย์ ภาวนา พลอินทร์. คำนำ.
E N D
บุคคลสำคัญในสมัยอยุธยาบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา จัดทำโดย เด็กหญิงศุทธินี อินทร์ทะผา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2/1 เลขที่30 เสนอ อาจารย์ จริญญา ม่วงจีน อาจารย์ ภาวนา พลอินทร์
คำนำ สื่อ power point เรื่อง บุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา จัดทำขึ้นเกี่ยวกับ พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ รวมถึงวีรกรรม ของบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา ซึ่งพระราชประวัติจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของบุคลสำคัญ ส่วนพระราชกรณียกิจและวีรกรรม ที่เป็นผลงานเด่นๆ แล้วยังมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องของบุคคลสำคัญบางเหตุการณ์ด้วย เพื่อให้ผู้อ่าน และผู้ศึกษาได้มีความรู้เกี่ยวกับ “บุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา” มากขึ้น ผู้จัดทำ ศุทธินี อินทร์ทะผา
บุคคลสำคัญในสมัยอยุธยาบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่1 สมเด็จพระสุริโยทัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่1 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ออกญาเสนาภิมุข ชาวบ้านบางระจัน
สมเด็จพระรามาธิบดีที่1สมเด็จพระรามาธิบดีที่1 พระราชประวัติ • สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา • เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๘๗๕ • ได้รับถวายพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตร พระเจ้าอยู่หัว กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา ฯ • ทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๑๘๙๓ - ๑๙๑๒ พระราชกรณียกิจ • ก่อตั้งอาณาจักรและขยายพระราชอาณาเขตอยุธยา • ทรงสถาปนาอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๓ ปีขาล โทศก ณ วันศุกร์ เดือนห้า เวลาสามนาฬิกา ห้าบาท • นำรูปแบบการปกครองแบบจตุสดมภ์มาใช้ในการบริหารบ้านเมืองแบ่งการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ เป็นเมืองลูกหลวงหัวเมืองชั้นในหัวเมืองชั้นนอกและหัวเมืองประเทศราชทำให้การปกครองกรุงศรีอยุธยามีระบบและความเข้มแข็งยิ่งขึ้น • มีการติดต่อค้าขายกับจีน
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชประวัติ • สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จพระราชยสภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๗๔ พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ • เมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เสด็จไปครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๙๑ พระชนมายุได้ ๑๗ พรรษา • สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๑ พระราชกรณียกิจ • ทรงปฏิรูปการปกครอง มี สมุหพระกลาโหม สมุหนายก ระบบการปกครอง หัวเมือง เมืองจัตวา เมือง เอก โท ตรี เมืองประเทศราช • ทรงประกาศใช้กฎหมายลักษณะสำคัญหลายอย่าง เช่น ทำเนียบศักดินาซึ่งกำหนดสิทธิหน้าที่ของมูลนายและไพร่ • ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและอักษรศาสตร์ มีวรรณคดีที่สำคัญ • ทรงทำสงครามกับอาณาจักรล้านนาหลายครั้ง
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่1สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่1 พระราชประวัติ • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ มีพระนามเดิมว่า ขุนหลวงพะงั่ว • ทรงเป็นพระเชษฐาของพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง • เดิมครองเมืองสุพรรณบุรี • พระองค์ทรงเป็นนักรบที่สามารถ ตั้งแต่ในรัชสมัยพระเจ้าอู่ทอง • ขุนหลวงพะงั่วเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๑ ครองราชย์ได้ ๑๘ ปี พระราชกรณียกิจ • ได้ยกกำลังไปตีหัวเมืองเหนือหลายครั้ง โดยได้ไปตีเมืองชากังราวสามครั้ง • ได้ส่งราชทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับจักรพรรดิจีนหลายครั้ง มีการแลกเปลี่ยน เครื่องราชบรรณาการซึ่งกันและกัน • ในด้านพระพุทธศาสนา ได้สร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาขนาดใหญ่
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชประวัติ • ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 และทรงเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระไชยราชาธิราช • ได้ขึ้นครองราชย์เพราะขุนนางประหารชีวิตขุนวรวงศาธิราชแล้วอัญเชิญขึ้นครองราชย์เมื่อพระองค์ทรงผนวชอยู่ โดยครองราชย์ระหว่างปี 2091 - 2111 พระราชกรณียกิจ • ปรับปรุงกิจการทหาร และเสริมสร้างบ้านเมืองให้มั่นคงแข็งแรงกว่าเดิม • ทรงสถาปนาขุนพิเรนทรเทพ เป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าและให้ไปปกครองเมืองพิษณุโลก • โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รื้อป้อมปราการตามหัวเมือง ไม่ให้ข้าศึกอาศัยเป็นที่ตั้งมั่น • โปรดให้จับม้าและช้างเข้ามาใช้ในราชการ จนสามารถจับช้างเผือกได้ ๗ เชือก จึงได้รับขนานพระนามว่า “ พระเจ้าช้างเผือก ”
สมเด็จพระสุริโยทัย พระราชประวัติ สันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์สุโขทัย ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาได้เพียง ๗ เดือน เมื่อ พ.ศ.๒๐๙๑ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และพระมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่า-รามัญเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนาน นามว่า "วัดสบสวรรค์" (หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์)
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระราชประวัติ • เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชากับพระวิสุทธิกษัตรี • เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๘ ที่เมืองพิษณุโลก • พระนามเดิม พระองค์ดำ หรือพระนเรศวร • มีพระเชษฐภคินี คือพระสุพรรณเทวี และพระอนุชา คือ สมเด็จพระเอกาทศรถ • ขึ้นครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2133-2148 รวมเวลาในการครองราชย์เป็นเวลา 15 ปี • เมื่อพระองค์มีพระชันษาได้ 9 ปี พระเจ้าหงสาวดีได้ขอไปเป็นพระราชบุตรบุญธรรม พระองค์ได้ประทับอยู่ที่หงสาวดีถึง 6 ปี ก็ได้ทรงศึกษาวิชาศิลปและได้ทราบยุทธวิธีของชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ ได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ เช่น การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมากเมื่อพระชันษาได้ 15 ปี จึงได้เสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา • สมเด็จพระนเรศวรเสด็จสวรรคต ขณะที่พระองค์ทรงยกกองทัพไปตีเมืองอังวะ เมื่อเสด็จถึงเมืองหาง พระองค์ทรงประชวรเป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์กลายเป็นพิษ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ พระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ครองราชย์ได้ ๑๕
พระราชกรณียกิจ • ได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ • ทรงกอบกู้อิสรภาพให้กับกรุงศรีอยุธยาและทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่าในปี พ.ศ.2135 • ทรงส่งทูตไปจีนและติดต่อค้าขายกับสเปน ซึ่งปกครองฟิลิปปินส์อยู่ในขณะนั้น • สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้ปรับปรุงการปกครองหัวเมืองใหม่เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ยกเลิกระบบเมืองพระยามหานคร จัดแบ่งหัวเมืองเป็นหัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี ยกเลิกการให้เจ้านายไปปกครองเมืองเหล่านี้ แล้วให้ขุนนางไปปกครองแทน
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชประวัติ • อีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ์ • สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าปราสาททอง และ พระนางเจ้าสิริกัลป์ยานี อัครราชเทวี • พระราชมารดาเป็น พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม • เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 • มีพระเชษฐาคือ สมเด็จเจ้าฟ้าไชย มีพระอนุชาคือ เจ้าฟ้าอภัยทศ พระไตรภูวนาทิตยวงศ์ พระองค์ทอง และพระอินทราชา • พระองค์ได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๙ • ระยะเวลาครองราชย์32 ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 27 • สมเด็จพระนารายณ์ ฯ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๑ เมื่อพระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ครองราชย์ได้ ๓๒ ปี
พระราชกรณียกิจ • พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ทรงพระปรีชาสามารถมาก ทำให้กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของพระองค์ มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในทุกด้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การต่างประเทศ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม วรรณคดี • ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงปราบปรามเมืองน้อยใหญ่ ให้เป็นมาสวามิภักดิ์ ทั้งหัวเมืองทางเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน • ทรงชำนาญในการศึก คล้องช้าง และทรงซื้ออาวุธจากต่างชาติ สำหรับกิจการของกองทัพด้วย • มีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่างๆ มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักร เป็นจำนวนมาก และโปรดฯ ให้แต่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้งด้วยกัน • พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย • สมเด็จพระนารายณ์นับว่าเป็นทั้งนักรบและกวี ทรงพระ-ราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเรื่อง เช่น โคลงพุทธไสยาสน์ป่าโมก โคลงพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม เป็นต้น • ในระหว่างปีพุทธศักราช 2228-2230 รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คณะ-บาทหลวงเจชูอิตชาวฝรั่งเศส ได้มาเผยแพร่ดาราศาสตร์ ในประเทศไทย มีสิ่งก่อสร้าง เช่น หอดูดาววัดสันเปาโล เป็นหอดูดาวแห่งแรกในประเทศไทย
ออกญาเสนาภิมุข ประวัติ • เป็นหัวหน้ากองทหารอาสาญี่ปุ่น • ดำรงตำแหน่งขุนนางระดับสูงในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม • มีบทบาทในการเจริญพระราชไมตรีระหว่างราชสำนักอยุธยาและโชกุนของญี่ปุ่น • ได้ร่วมมือกับออกญากลาโหมสุริยวงศ์สนับสนุนพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมให้ขึ้นครองราชย์สืบต่อ • แต่ที่สุดถูกออกญากลาโหมหาวิธีกำจัดออกญาเสนาภิมุขโดยส่งไปปราบกบฏที่เมืองนครศรีธรรมราชจนที่สุดออกญาเสนาภิมุขและผู้ติดตามจำนวนมากต้องเสียชีวิตจากการต่อต้านของกลุ่มเมืองนครศรีธรรมราช
ชาวบ้านบางระจัน ประวัติ ชาวบ้านบางระจันรวบรวมชาวบ้านได้จำนวนมาก จึงตั้งค่ายสู้รบกับพม่า พม่าได้พยายามเข้าตีค่ายบางระจันถึง 7 ครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จใน ที่สุดสุกี้ซึ่งเป็นพระนายกองของพม่าได้อาสาปราบชาวบ้านบางระจัน โดยตั้งค่ายประชิดค่ายบางระจัน แล้วใช้ปืนใหญ่ยิงเข้าไปในค่ายแทนการสู้รบกันกลางแจ้ง ทำให้ชาวบ้านเสียชีวิตไปจำนวนมาก ชาวบ้านบางระจันไม่มีปืนใหญ่ยิงตอบโต้ฝ่ายพม่า จึงมีใบบอกไปทางกรุงศรีอยุธยาให้ส่งปืนใหญ่มาให้ แต่ทางกรุงศรีอยุธยาไม่กล้าส่งมาให้ เพราะเกรงว่าจะถูกฝ่ายพม่าดักปล้นระหว่างทาง ชาวบ้านจึงช่วยกันหล่อปืนใหญ่โดยบริจาคของใช้ทุกอย่างที่ทำด้วยทองเหลืองมาหล่อปืนได้สองกระบอก แต่พอทดลองนำไปยิง ปืนก็แตกร้าวจนใช้การไม่ได้ถึงแม้ว่าไม่มีปืนใหญ่ ชาวบ้านบางระจันก็ยังคงยืนหยัดต่อสู้กับพม่าต่อไปจนกระทั่งวันแรม 2 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 2309 ค่ายบางระจันก็ถูกพม่าตีแตกและสามารถยึดค่ายไว้ได้ หลังจากที่ยืนหยัดต่อสู้กับข้าศึกมานานถึง 5 เดือนจากวีรกรรมของชาวบ้านบางระจันทำให้ได้รับการยกย่องว่า เป็นวีรกรรมของคนไทยที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในการเสียสละชีวิตให้แก่ชาติบ้านเมือง และแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีและความกล้าหาญของคนไทยในการต่อสู้กับข้าศึก ทางราชการจึงได้สร้างอนุสาวรีย์วีรขนค่ายบางระจันเป็นรูปหล่อวีรชนที่เป็นหัวหน้าทั้ง 11 คน ขึ้นบริเวณหน้าค่ายบางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เพื่อเป็นอนุสรณ์สืบต่อไป
อ้างอิง • http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/1804-00/ • http://writer.dek-d.com/pay3king/story/viewlongc.php?id=385951&chapter=8 • http://www.ayutthayastudies.aru.ac.th/content/view/172/32/ • http://61.19.202.164/works/nakhonsithammarat/history/05-04.html