1 / 58

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริกาญจน์ จันทร์เรือง สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.

tameka
Download Presentation

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริกาญจน์ จันทร์เรือง สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  2. กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • การจัดการศึกษาที่ยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด โดยกระบวนการจัดการศึกษาจะต้องส่งเสริม ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตาม ศักยภาพ

  3. บทบาทของครูผู้สอน (ผศ.อาภรณ์ ใจเที่ยง)

  4. บทบาทของครูผู้สอน

  5. บทบาทของครูผู้สอน

  6. บทบาทของครูผู้สอน

  7. รูปแบบการจัดการเรียนการสอน คือ วิธีการสอนที่ได้รับการจัดอย่างเป็นระบบ มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี / หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ และสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดม่งหมายของรูปแบบนั้น ๆ เทคนิคการสอน คือ กลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน หรือการดำเนิน การทางการสอนใดๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น

  8. รูปแบบหรือเทคนิคการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบหรือเทคนิคการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) • การเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research–based Learning) • การเรียนแบบโครงงาน (Project-based Learning) • การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative/Collaborative Learning) • เทคนิคการใช้ Concept Mapping • เทคนิคหมวก 6 ใบ

  9. การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning) • สร้างความรู้ใหม่ จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงเป็นบริบท (context) ของการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษาด้วย • ลักษณะที่สำคัญของ PBL ก็คือ • ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered learning) • การเรียนรู้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เรียนที่มีขนาดเล็ก

  10. การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning) • ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ (guide) • ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ • ปัญหาที่นำมาใช้มีลักษณะคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ปัญหา 1 ปัญหาอาจมีคำตอบได้หลายคำตอบหรือแก้ไขปัญหาได้หลายทาง (illed- structure problem) • ผู้เรียนเป็นคนแก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (self-directed learning) • ประเมินผลจากสถานการณ์จริง โดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติ (authentic assessment)

  11. ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(จาก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)

  12. ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(จาก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)

  13. ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(จาก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)

  14. ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(จาก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)

  15. การเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research-based Learning) • ลักษณะใหญ่ ๆ ของการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ • การสอนโดยใช้วิธีวิจัยเป็นวิธีสอน • การสอนโดยผู้เรียนร่วมทำโครงการวิจัยกับอาจารย์หรือเป็นผู้ช่วยโครงการวิจัยของอาจารย์ • การสอนโดยผู้เรียนศึกษางานวิจัยของอาจารย์และของนักวิจัยชั้นนำในศาสตร์ที่ศึกษา • การสอนโดยใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน

  16. รูปแบบของการจัดการศึกษาแบบ RBL(ผศ.ดร.กฤษดา กรุดทอง ) • RBL ที่ใช้ผลการวิจัยเป็นสาระการเรียนการสอน • เรียนรู้ผลการวิจัย/ใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน • เรียนรู้จากการศึกษางานวิจัย/การสังเคราะห์งานการวิจัย • RBL ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอน • เรียนรู้วิชาวิจัย/วิธีทำวิจัย • เรียนรู้จากการทำวิจัย/รายงานเชิงวิจัย • เรียนรู้จากการทำวิจัย/ร่วมทำโครงการวิจัย • เรียนรู้จากการทำวิจัย/วิจัยขนาดเล็ก • เรียนรู้จากการทำวิจัย/วิทยานิพนธ์

  17. ตัวอย่างวิธีการจัดกิจกรรมการศึกษาแบบ RBL การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ผลการวิจัย • วัตถุประสงค์ • ให้ผู้เรียนเรียนรู้เนื้อหาสาระของศาสตร์จากผลงานวิจัย • กิจกรรมการเรียนการสอน • ผู้สอนรวบรวมบทคัดย่องานวิจัย • ผู้สอนแนะนำวิธีการอ่าน การจับประเด็นสำคัญ • ให้นักศึกษาศึกษาสาระของศาสตร์จากบทคัดย่องานวิจัยและสรุปความรู้ • ให้นักศึกษาค้นคว้างานวิจัยเพิ่มเติม

  18. ตัวอย่างวิธีการจัดกิจกรรมการศึกษาแบบ RBL • การประเมิน • ประเมินการแสวงหาแหล่งความรู้ • ประเมินความสามารถในการสรุปสังเคราะห์ความรู้ • ประเมินสาระความรู้ของศาสตร์

  19. การเรียนรู้แบบโครงงานการเรียนรู้แบบโครงงาน • เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกัน ได้แก่ กระบวนการกลุ่ม การฝึกคิด การแก้ปัญหา การเน้นกระบวนการ การสอนแบบปริศนาความคิด และการสอนแบบร่วมกันคิด • เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงหลักการพัฒนาการคิดของบลูม (Bloom) ทั้ง 6 ขั้น กล่าวคือ ความรู้ความจำ (Knowledge) ความเข้าใจ (Comprehension) การนำไปใช้ (Application) การวิเคราะห์ (Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis) การประเมินค่า (Evaluation)

  20. การเรียนรู้แบบโครงงานการเรียนรู้แบบโครงงาน

  21. การเรียนรู้แบบโครงงานการเรียนรู้แบบโครงงาน

  22. การเรียนรู้แบบโครงงานการเรียนรู้แบบโครงงาน

  23. การเรียนรู้แบบโครงงานการเรียนรู้แบบโครงงาน

  24. การเรียนรู้แบบโครงงานการเรียนรู้แบบโครงงาน • เทคนิคการตั้งคำถาม • สนใจเรื่องอะไรบ้าง (กำหนดเนื้อหา) • ทำไมถึงสนใจอยากเรียนเรื่องนี้ (แนวคิด) • ทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้ในเรื่องนี้ (กำหนดวิธีการศึกษา/กิจกรรม) • จะไปศึกษาที่ใดบ้าง (กำหนดแหล่งความรู้/ข้อมูล) • ผลที่ผู้เรียนคาดว่าจะได้รับคืออะไร (สรุปความรู้/สมมติฐาน) • ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าผลงานดีหรือไม่ดี จะให้ใครเป็นผู้ประเมิน (กำหนดการวัดและประเมินผล) • เผยแพร่ผลงานให้ผู้อื่นรู้ได้อย่างไร (นำเสนอผลงาน รายงาน)

  25. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning and Collaborative Learning) • การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning and Collaborative Learning) หรือนักวิชาการบางท่านได้แปล Collaborative Learning ว่าคือ การเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทีม ตามระบอบประชาธิปไตย และเป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ทำให้สามารถปรับตัวอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข(สุภิดา ปุสุรินทร์คำ)

  26. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning and Collaborative Learning) แนวคิดสำคัญ 6 ประการ (Kagan) • เป็นกลุ่ม (Team) ซึ่งเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ประมาณ 2-6 คน เปิดโอกาสให้ทุกคนร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน ภายในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่แตกต่างกัน • มีความตั้งใจ (Willing) เป็นความตั้งใจที่ร่วมมือในการเรียนและทำงาน โดยช่วยเหลือกันและกัน มีการยอมรับซึ่งกันและกัน • มีการจัดการ (Management) การจัดการเพื่อให้การทำงานกลุ่มเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ • มีทักษะ (Skills) เป็นทักษะทางสังคมรวมทั้งทักษะการสื่อความหมาย การช่วยสอนและการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งทักษะเหล่านี้จะช่วยให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  27. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning and Collaborative Learning) 5.มีหลักการสำคัญ 4 ประการ (Basic principles) เป็นตัวบ่งชี้ว่าเป็นการเรียนเป็นกลุ่มหรือการเรียนแบบร่วมมือ การเรียนแบบร่วมมือต้องมีหลักการ 4 ประการ ดังนี้ • การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเชิงบวก (Positive interdependence) การช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกันเพื่อสู้ความสำเร็จและตระหนักว่าความสำเร็จของแต่ละคนคือความสำเร็จของกลุ่ม • ความรับผิดชอบรายบุคคล (Individual accountability) ทุกคนในกลุ่มมีบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบในการค้นคว้าทำงาน สมาชิกทุกคนต้องเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนเหมือนกันจึงถือว่าเป็นความสำเร็จของกลุ่ม • ความเท่าเทียมกันในการมีส่วนร่วม (Equal participation) ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการทำงาน ซึ่งทำได้โดยกำหนดบทบาทของแต่ละคน • การมีปฏิสัมพันธ์ไปพร้อม ๆ กัน (Simultaneous interaction) สมาชิกทุกคนจะทำงาน คิด อ่าน ฟัง ฯลฯ ไปพร้อม ๆ กัน

  28. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning and Collaborative Learning) 6. มีเทคนิคหรือรูปแบบการจัดกิจกรรม (Structures) รูปแบบการจัดกิจกรรมหรือเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือเป็นสิ่งที่ใช้เป็นคำสั่งให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน เทคนิคต่าง ๆ จะต้องเลือกใช้ให้ตรงกับเป้าหมายที่ต้องการแต่ละเทคนิคนั้นออกแบบได้เหมาะกับเป้าหมายที่ต่างกัน

  29. เทคนิคที่ใช้ในการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคที่ใช้ในการเรียนแบบร่วมมือ • เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือมีอยู่ 2 แบบ • เทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนตลอดคาบเรียนหรือตั้งแต่ 1 คาบเรียนขึ้นไป • เทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ในขั้น ตอนใดขั้นตอนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละคาบ คือ ใช้ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน โดยสอดแทรกในขั้นตอนใด ๆ ของการสอน ขั้นทบทวนหรือขั้นวัดผลงานของคาบเรียนใดคาบเรียนหนึ่ง โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ เป็นวิธีที่ใช้เวลาช่วงสั้นประมาณ 5-10 นาที จนถึง 1 คาบเรียน

  30. เทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ (Student Teams Achievement Divisions หรือ STAD) • จัดสมาชิกในกลุ่ม 4 คน ระดับสติปัญญาต่างกัน เช่น เก่ง 1 คน ปานกลาง 2 คน และอ่อน 1 คน • ผู้สอนกำหนดบทเรียนและการทำงานของกลุ่มไว้แล้ว • ผู้สอนทำการสอนบทเรียนให้ผู้เรียนทั้งชั้น • กลุ่มทำงานตามที่กำหนด ผู้เรียนในกลุ่มช่วยเหลือกัน ผู้เรียนเก่งช่วยเหลือและตรวจงานของเพื่อนให้ถูกต้องก่อนนำส่งผู้สอน • ผู้เรียนต่างคนต่างทำข้อสอบแล้วนำคะแนนของทุกคนมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม • ผู้สอนจัดลำดับคะแนนของทุกกลุ่มปิดประกาศให้ทุกคนทราบ

  31. เทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคการตรวจสอบเป็นกลุ่ม (Group Investigation) • สมาชิกในกลุ่มมี 2-6 คน • แต่ละกลุ่มเลือกหัวเรื่องที่ต้องการศึกษาค้นคว้า • สมาชิกในกลุ่มแบ่งงานกันทั้งกลุ่ม มีการวางแผน การดำเนินงานตามแผน การวิเคราะห์และสังเคราะห์งานที่ทำ • นำเสนอผลงาน หรือรายงานต่อหน้าชั้น • ให้รางวัลหรือคะแนนให้เป็นกลุ่ม

  32. เทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคจิกซอ (Jigsaw) เป็นเทคนิคที่ใช้กับบทเรียนที่หัวข้อที่เรียน แบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ • ผู้สอนแบ่งหัวข้อที่จะเรียนเป็นหัวข้อย่อย ๆ ให้เท่ากับจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม • จัดกลุ่มผู้เรียน โดยให้มีความสามารถคละกันภายในกลุ่ม เป็นกลุ่มบ้าน (home group) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มอ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ตนได้รับมอบหมายเท่านั้น โดยใช้เวลาตามที่ผู้สอนกำหนด • จากนั้นผู้เรียนที่อ่านหัวข้อย่อยเดียวกันมานั่งด้วยกัน เพื่อทำงาน ซักถาม และทำกิจกรรม ซึ่งเรียกว่ากลุ่มเชี่ยวชาญ (expert group) สมาชิกทุก ๆ คนร่วมมือกันอภิปรายหรือทำงานอย่างเท่าเทียมกันโดยใช้เวลาตามที่ผู้สอนกำหนด

  33. เทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลับมายังกลุ่มบ้าน (home group) ของตน จากนั้นผลัดเปลี่ยนกันอธิบายให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟัง เริ่มจากหัวข้อย่อย 1,2,3 และ 4 เป็นต้น • ทำการทดสอบหัวข้อย่อย 1-4 กับผู้เรียนทั้ง ห้อง คะแนนของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มรวมเป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รับการติดประกาศ

  34. เทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือร่วมกลุ่ม (Co-op Co-op) • ผู้เรียนช่วยกันอภิปรายหัวข้อที่จะศึกษาแบ่งหัวข้อใหญ่เป็นหัวข้อย่อย • จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มตามความสามารถที่แตกต่างกัน • กลุ่มเลือกหัวข้อที่จะศึกษาตามความสนใจของกลุ่ม • กลุ่มแบ่งหัวข้อย่อยเป็นหัวข้อเล็ก เพื่อผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มเลือกไปศึกษาและมีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ของแต่ละคนภายในกลุ่ม • ผู้เรียนศึกษาเรื่องที่ตนเลือกและนำเสนอต่อกลุ่ม • กลุ่มรวบรวมหัวข้อต่าง ๆ จากผู้เรียนทุกคนในกลุ่ม • รายงานผลงานต่อชั้น • ประเมินผลงานของกลุ่ม

  35. เทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคคู่ตรวจสอบ (Pairs check : Kagan 1995 : 32-33) • สมาชิกในกลุ่มจับคู่กันทำงาน • รับคำถามหรือปัญหาจากผู้สอน • ผู้เรียนคนหนึ่งจะเป็นคนทำและอีกคนหนึ่งทำหน้าที่เสนอแนะ • หลังจากที่ทำข้อที่ 1 เสร็จ ผู้เรียนคู่นั้นจะสลับหน้าที่กัน เ • เมื่อทำเสร็จครบแต่ละ 2 ข้อ แต่ละคู่จะนำคำตอบมาแลกเปลี่ยนและตรวจสอบคำตอบของคู่อื่น

  36. เทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคร่วมกันคิด (Numbered heads together : Kagan 1995 : 28-29) • แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มด้วยกลุ่มละ 4 คน ที่มีความสามารถคละกัน แต่ละคนมีหมายเลขประจำตัว • ผู้สอนถามคำถาม หรือมอบหมายงานให้ทำ • ผู้เรียนอภิปรายในกลุ่มย่อยจนมั่นใจว่าสมาชิกในกลุ่มทุกคนเข้าใจคำตอบ • ผู้สอนเรียกผู้เรียนตามหมายเลขประจำตัว หมายเลขที่ผู้สอนเรียกจะเป็นผู้ตอบคำถามดังกล่าว (Kagan 1995 : 28-29)

  37. เทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคแบบมุมสนทนา (Corners : Kagan 1995 : 20-21) • ผู้สอนเสนอปัญหา และประกาศมุมต่าง ๆ ภายในห้องเรียนแทนแต่ละข้อ • ผู้เรียนแต่ละกลุ่มย่อยเขียนหมายเลขข้อที่ชอบมากกว่า และเคลื่อนเข้าสู่มุมที่เลือกไว้ • ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายภายในกลุ่มตามมุมต่างๆ • ผู้เรียนในมุมใดมุมหนึ่งอภิปรายเรื่องราวที่ได้ศึกษาให้เพื่อนในมุมอื่นฟัง

  38. เทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคการคิดเดี่ยว คิดคู่ ร่วมกันคิด (Think - pair - share Kagan. 1995 : 46-47) • ผู้สอนกำหนดปัญหา • ผู้เรียนแต่ละคนคิดหาคำตอบด้วยตนเองก่อน • ผู้เรียนนำคำตอบไปอภิปรายกับเพื่อนที่เป็นคู่ • แต่ละคู่นำคำตอบมาอภิปรายพร้อมกัน 4 คน เมื่อมั่นใจว่าคำตอบของตนถูกต้องหรือดีทีสุด จึงนำคำตอบเล่าให้เพื่อนทั้งชั้นฟัง

  39. เทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคโครงงานเป็นทีม (Team project : Kagan. 1995 : 42-43) • ผู้สอนอธิบายโครงงานให้ผู้เรียนเข้าใจก่อน • กำหนดเวลา และกำหนดบทบาทที่เท่าเทียมกันของสมาชิกในกลุ่มและมีการหมุนเวียนบทบาท • แจกอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำโครงงานที่ได้รับมอบหมาย • นำเสนอโครงงานของแต่ละกลุ่ม

  40. เทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนเทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน • เทคนิคแลกเปลี่ยนปัญหา (Trade-a-problem : Kagan. 1995 : 59) • ผู้เรียนแต่ละคู่ตั้งคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่เรียนและเขียนคำตอบเก็บไว้ • ผู้เรียนแต่ละคู่แลกเปลี่ยนคำถามกับเพื่อนคู่อื่น • ผู้เรียนแต่ละคู่จะช่วยกันแก้ปัญหาจนเสร็จ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับวิธีการแก้ปัญหาของเพื่อนเจ้าของปัญหานั้น

  41. เทคนิคการใช้ Concept Mapping • มโนทัศน์ หมายถึง ความคิด ความเข้าใจที่สรุปเกี่ยวกับการจัดกลุ่ม สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ เรื่องใด เรื่องหนึ่งที่เกิดจากการสังเกต หรือการได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งนั้น หรือเรื่องนั้น แล้วใช้คุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน จัด เข้าเป็นกลุ่มเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจสิ่งต่างๆได้ง่ายขึ้น  • กรอบมโนทัศน์ หมายถึง แผนผังหรือแผน ภาพ ที่แสดงความสัมพันธ์ของมโนทัศน์ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างมีระบบ และเป็นลำดับขั้น โดยอาศัยคำหรือข้อความเป็นตัวเชื่อมให้ความสัมพันธ์ ของมโนทัศน์ต่างๆเป็นไปอย่างมีความหมาย ซึ่งอาจจะมีทิศทางเดียว สองทิศ ทาง หรือมากกว่าก็ได้ กรอบมโนทัศน์ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ แผนภาพโครงเรื่อง”

  42. เทคนิคการใช้ Concept Mapping • การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์ เป็น กระบวนการที่ให้ผู้เรียนนำมโนทัศน์ในเนื้อหาสาระที่ได้เรียนรู้มาจัด ระบบ จัดลำดับ และเชื่อมโยงความสัมพันธ์แต่ละมโนทัศน์ที่มีความเกี่ยวข้อง เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นกรอบมโนทัศน์ขึ้น

  43. เทคนิคการใช้ Concept Mapping รูปแบบของกรอบมโนทัศน์ • Concept Map ผังมโนทัศน์ • Mind Map แผนที่ความคิด • Web Diagram แผนผังใยแมงมุม • Tree Structure แผนภูมิโครงสร้างต้นไม้ • Venn Diagram แผนภูมิเวนน์ • Descending Ladder แผนภูมิขั้นบันได • Cycle Graph แผนภาพวงจร • Flowchart Diagram แผนผังการดำเนินงาน • Matrix Diagram แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ • Fishbone Map แผนผังก้างปลา • Interval Graph แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ • Order Graph แผนภาพแสดงลำดับเหตุการณ์ • Classification Map แผนผังแสดงความสัมพันธ์แบบจำแนกประเภท

  44. ผังมโนทัศน์ (A Concept Map)

  45. การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์

  46. การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์

  47. การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์

  48. เทคนิคหมวก 6 ใบ • เทคนิคการคิดอย่างมีระบบ คิดอย่างมีโฟกัส มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้านๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก “การคิด” เป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด (Edward de Bono )

  49. เทคนิคหมวก 6 ใบ • เปรียบเสมือนความเป็นกลาง หมายถึง การคิดแบบอิงอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงข้อมูล และตัวเลข โดยไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง • ตัวอย่างของคำถาม เช่น • ได้ข้อเท็จจริงอะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน • ได้ข้อมูลที่ต้องการมาด้วยวิธีใด • สังเกตเห็นอะไรบ้างจากการทดลอง

  50. เทคนิคหมวก 6 ใบ • เปรียบเสมือนไฟ ความโกรธ ความรู้สึก หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของอารมณ์และความรู้สึก ลางสังหรณ์ สัญชาตญาณ ความประทับใจ สิ่งที่ไม่ต้องการข้อพิสูจน์ สิ่งที่ไม่ต้องเหตุหรือผลหรือหลักฐานมาอ้างอิง • ตัวอย่างของคำถาม เช่น • เรารู้สึกอย่างไร เมื่ออ่านบทความนี้จบ • มีความพอใจกับผลงานที่ทำหรือไม่ • ผลงานใดที่ประทับใจมากที่สุด

More Related