1 / 57

การประเมินบันไดขั้นที่ 1 สู่ HA

การประเมินบันไดขั้นที่ 1 สู่ HA. บันได 3 ขั้นสู่ HA. ขั้นที่ 3 วัฒนธรรมคุณภาพ เริ่มด้วยการประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA พัฒนาอย่างเชื่อมโยง เป็นองค์กรเรียนรู้ ผลลัพธ์คุณภาพที่ดีขึ้น ปฏิบัติตามมาตรฐาน HA ได้ครบถ้วน. ขั้นที่ 2 ประกันและพัฒนาคุณภาพ

tavorian
Download Presentation

การประเมินบันไดขั้นที่ 1 สู่ HA

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประเมินบันไดขั้นที่ 1 สู่ HA

  2. บันได 3 ขั้นสู่ HA • ขั้นที่ 3 วัฒนธรรมคุณภาพ • เริ่มด้วยการประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA • พัฒนาอย่างเชื่อมโยง เป็นองค์กรเรียนรู้ • ผลลัพธ์คุณภาพที่ดีขึ้น • ปฏิบัติตามมาตรฐาน HA ได้ครบถ้วน • ขั้นที่ 2 ประกันและพัฒนาคุณภาพ • เริ่มด้วยการวิเคราะห์เป้าหมายและกระบวนการ • ประกันและพัฒนาคุณภาพที่สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วย • ครอบคลุมกระบวนการสำคัญทั้งหมด • ปฏิบัติตามมาตรฐาน HA ในส่วนที่ไม่ยากเกินไป • ขั้นที่ 1 สำรวจและป้องกันความเสี่ยง • นำปัญหามาทบทวน เพื่อแก้ไขป้องกัน • ปฏิบัติตามแนวทางป้องกันปัญหา • ครอบคลุมปัญหาที่เคยเกิด/มีโอกาสเกิดสูง

  3. การทบทวน 12 กิจกรรม 1.การทบทวนขณะดูแลผู้ป่วย 2.การทบทวนความคิดเห็นและข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ 3.การทบทวนการส่งต่อ/ขอย้าย/ปฏิเสธการรักษา 4.การทบทวนการตรวจรักษาโดยผู้ชำนาญกว่า 5 การค้นหาและป้องกันความเสี่ยง 6.การป้องกันและเฝ้าระวังการติดเชื้อใน ร.พ. 7.การป้องกันการเฝ้าระวังการคลาดเคลื่อนทางยา 8.การทบทวนการดูแลผู้ป่วยจากเหตุการณ์สำคัญ 9.การทบทวนความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียน 10.การทบทวนการใช้ความรู้ทางวิชาการ 11.การทบทวนการใช้ทรัพยากร 12.การติดตามเครื่องชี้วัดที่สำคัญ

  4. กรณีศึกษา มารดาอายุ 25 ปีคลอดครั้งแรกปกติท้องที่สองอายุครรภ์ 41 สัปดาห์ประมาณการ น้ำหนักเด็ก 3500 กรัมมารพ.ด้วยอาการเจ็บครรภ์มาถึงรพ. 5 โมงเย็น ปากมดลูกเปิด 5 ซม. 2 ชม.แล้วไม่ก้าวหน้า สูติแพทย์ มาดูตอนทุ่มกว่าวินิจฉัย CPD set C/S ระหว่างทำผ่าตัดมี trauma มากผ่าตัดเสร็จ 2 ทุ่มกว่าส่งผู้ป่วยกลับ ward ให้ routine post-op ที่หอผู้ป่วยพยาบาลขึ้นเวร 1 คนพนักงานผู้ช่วย วัด VS ชั่วโมงที่สอง P เร็วขึ้น BP ไม่ drop ไม่ได้เปิดดูว่ามีการตกเลือดใต้ผ้าห่มหรือไม่ กว่าจะส่งเวรเสร็จคนไข้ arrest พอดีหมอสูติวิ่งมาทีม CPR คนอื่น ยังไม่มาเครื่องมือไม่พร้อมสุดท้ายผู้ป่วยเสียชีวิต ตอนตีหนึ่งครึ่ง

  5. ประเด็นที่ควรวิเคราะห์ประเด็นที่ควรวิเคราะห์ • Communication: การส่งต่อปัญหาของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง (trauma) หลังผ่าตัด? ความชัดเจนของข้อมูลส่งต่อในเวชระเบียน ? • Process design : การดูแลในช่วงพักฟื้นหลังผ่าตัด? • Human capita : พยาบาล 1 คน, ทีม CPR ไม่พร้อม เพราะจำนวนเจ้าหน้าที่ในแผนกอื่น ๆ มีน้อยเช่นกัน? • Equipment: ความไม่พร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ในการเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงในระยะวิกฤต (หลังผ่าตัดทันที) และในภาวะฉุกเฉิน(เมื่อผู้ป่วย arrest)

  6. ประเด็นที่ควรวิเคราะห์ประเด็นที่ควรวิเคราะห์ • Environment : นอกเวลา, ภาระงานของแต่ละแผนกในเวลาดังกล่าว ? • Competencyประสบการณ์แพทย์? พยาบาล ? • Process Monitoring ; การกำหนดลักษณะและติดตามอุบัติการณ์สำคัญที่ควรเฝ้าระวัง • Risk management : - การระบุความเสี่ยงและระบบรองรับเพื่อจัดการปัญหาเฉพาะหน้าในระหว่างผ่าตัด (criteria ที่ต้องการผู้ที่ชำนาญกว่า) - การระบุความเสี่ยงในผู้ป่วยหลังผ่าตัด / ความชัดเจนของการแบ่งระดับความรุนแรงในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเพื่อกำหนดระบบในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด (ทีมที่ควรดูแลกรณีเป็นผู้ป่วย high risk หลังผ่าตัด)

  7. ประเด็นที่ควรตระหนักทุกครั้งที่ทบทวน คือ????

  8. วิเคราะห์ให้ครอบคลุมทุกวิชาชีพ / ทุกแผนกที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ให้ครบทุกขั้นตอน / ทุกช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ให้ครบทั้งวิธีทำงานและกระบวนการบริหารจัดการ ของทุกวิชาชีพ /ทุกกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ มองขั้นตอนการ monitoring ภายในและระหว่างแผนก/ฝ่าย/วิชาชีพให้มากขึ้น วิเคราะห์ถึงความเพียงพอของการกำหนดนโยบายความปลอดภัยที่จำเป็น เช่น การดูแลผู้ป่วย high risk ให้อยู่ในความรับผิดชอบของทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และจัดหาเครื่องมือที่จำเป็นในการดูแลให้เพียงพอ เหมาะสม ให้แต่ละแผนกระบุความเสี่ยงสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังและติดตาม รายงานผลการทบทวนเป็นระยะ เป็นต้น

  9. Pitfall ของการทบทวน ที่พบบ่อย • ทบทวนไม่ตรงประเด็นสำคัญของหน่วยงาน • ทบทวนโดยไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการทบทวน • ทบทวนโดยยึดติดรูปแบบ เน้นเอกสาร รอประชุมครบทีม แยกออกจากงานประจำ • ข้อมูลที่นำมาทบทวนไม่เพียงพอ ไม่มีมุมมองวิชาชีพอื่น ทำให้ไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงได้ • การระบุประเด็นสำคัญ ไม่ได้นำมาปรับปรุงงานของตัวเอง ทบทวนเพื่อส่งพรพ.

  10. ภาพรวมลำดับขั้นของการพัฒนาภาพรวมลำดับขั้นของการพัฒนา 1.ขั้นเริ่มต้น : เริ่มกิจกรรม มีโครงสร้างหรือแนวทางปฏิบัติ 2.ขั้นพอใจ: เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง มีการสื่อสาร การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และยังมีสิ่งที่ต้องพัฒนาอีกมากพอสมควร 3.ขั้นดี:เริ่มเห็นผลลัพธ์ตามเป้าหมายของหัวข้อกิจกรรมนั้นๆ มีความครอบคลุมในสิ่งที่สำคัญ ทำกิจกรรมด้วยความเข้าใจ เป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 4. ขั้นดีมาก : เป็นขั้นที่ทำได้ดีเกินกว่าระดับเฉลี่ย มีการประสานงานที่ดี มีการประเมินผล มีการขยายขอบเขตออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น 5. ขั้นดีเยี่ยม : เป็นขั้นสมควรเป็นแบบอย่างสำหรับ รพ.อื่นๆ

  11. 1.การทบทวนขณะดูแลผู้ป่วย1.การทบทวนขณะดูแลผู้ป่วย วัตถุประสงค์ 1.ผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนได้รับการดูแลแบบเป็นองค์รวม 2.ทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพโดยอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ทีมงานเรียนรู้ของจริง ปฏิบัติจนเป็นปกติประจำวัน ไวต่อการรับรู้ปัญหา C3-THER

  12. C3-THER

  13. C3-THER (ต่อ)

  14. C3-THER (ต่อ)

  15. ความคาดหวัง • แพทย์และพยาบาลร่วมกันทบทวนผู้ป่วยทุกสัปดาห์ และเมื่อมีผู้ป่วยซับซ้อน • มีวิชาชีพอื่นมาร่วมทบทวนอย่างน้อยเดือนละครั้ง • มีการบันทึกกรณีที่น่าสนใจบางรายไว้เป็นบทเรียน • มีการวิเคราะห์ root cause อย่างเหมาะสม และนำไปสู่การปรับปรุงระบบงาน • สมาชิกในหน่วยงานสามารถแสดงวิธีการประยุกต์การทบทวนกับผู้ป่วยทุกรายที่กำลังนอนอยู่ในหอผู้ป่วย

  16. การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA แพทย์ พยาบาล ร่วมกันทบทวนทุกสัปดาห์ มีวิชาชีพ อื่นมาร่วมเมื่อจำเป็น ความครอบคลุม ทุกหอผู้ป่วย ในผู้ป่วยที่มีความ ซับซ้อน/ความเสี่ยงเป็นส่วนใหญ่ การวางแนวทางป้องกัน วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง ปรับปรุงระบบ ป้องกันการเกิดซ้ำโดยทีมสหสาขา การสื่อสารผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุปัญหา ที่สำคัญและแนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติมีหลักฐานการปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน

  17. 2.การทบทวนความคิดเห็น / คำร้องเรียนของผู้รับบริการ วัตถุประสงค์ 1.ความคิดเห็น/คำร้องเรียนได้รับการตอบสนองอย่างเหมาะสม 2.ความคิดเห็น/คำร้องเรียนถูกนำไปสู่การปรับปรุงระบบงานเพื่อป้องกันปัญหา 3.เพิ่มความไวในการรับรู้และการตอบสนองโดยทีมงาน

  18. ความคาดหวัง • มีระบบที่จะรับความคิดเห็น/คำร้องเรียนด้วยวิธีที่ proactive กว่ารอรับจากตู้ซึ่งนานๆ เปิดครั้ง • มีการวิเคราะห์จัดกลุ่มและจัดลำดับความสำคัญของ ความคิดเห็น/คำร้องเรียน • มีการเลือกความคิดเห็น/คำร้องเรียนที่สำคัญมาพิจารณา ปรับปรุงระบบงาน ในระดับหน่วยงานและในระดับ รพ. ตามความเหมาะสม • ไม่มีคำร้องเรียนที่สำคัญซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของ รพ. ที่เหลืออยู่โดยไม่ได้รับการตอบสนอง

  19. การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มีระบบอำนวยความสะดวกในการรับฟัง เช่น รับฟังทุกรูปแบบ มีการสรุปของความคิดเห็น/คำร้องเรียน จากหน่วยงานต่างๆ มาเป็นภาพรวมของ รพ. จัดกลุ่มและจัดลำดับความสำคัญ ความครอบคลุมทุกหน่วยงาน และมีการตอบสนองเรื่องที่ มีความสำคัญเป็นส่วนใหญ่ การวางแนวทางป้องกัน วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง ร่วมกับการใช้ความรู้ทางวิชาการ การสื่อสาร ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุปัญหาที่สำคัญและ แนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติ มีหลักฐานการปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน

  20. 3.การทบทวนการส่งต่อ/ ขอย้าย/ปฏิเสธการรักษา วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินศักยภาพในการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งความเหมาะสมในการดูแลก่อนที่จะมีการส่งต่อ

  21. ความคาดหวัง • มีการทบทวนผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อ/ขอย้าย/ ปฏิเสธการรักษาทุกราย • มีการวิเคราะห์สาเหตุ จุดอ่อน หรือโอกาสพัฒนา ในการดูแลผู้ป่วยแต่ละราย และนำมาปรับปรุง กระบวนการดูแลผู้ป่วย • มีการติดตามผลการดูแลผู้ป่วยจากโรงพยาบาลที่รับ การส่งต่อเพื่อนำมาปรับปรุง

  22. การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มีการวิเคราะห์สาเหตุ จุดอ่อน หรือโอกาสพัฒนาในการ ดูแลผู้ป่วยทุกรายหรือส่วนใหญ่ โดยทีมสหสาขา ความครอบคลุมทุกราย/เกือบทั้งหมด การวางแนวทางป้องกัน ปรับปรุงแนวทางโดยวิเคราะห์ หาสาเหตุที่แท้จริง ร่วมกับการใช้ข้อมูลทางวิชาการ การสื่อสาร  ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุปัญหาที่สำคัญและ แนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติ มีหลักฐานการปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน

  23. 4.การทบทวนการตรวจรักษาโดยผู้ที่ชำนาญกว่า4.การทบทวนการตรวจรักษาโดยผู้ที่ชำนาญกว่า วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ป่วยที่มารับบริการจะได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพและปลอดภัยในทุกช่วงเวลาของการรับบริการ

  24. ความคาดหวัง • มีการทบทวนการตรวจรักษานอกเวลาราชการโดย พยาบาลทุกวันทำการ โดยการเลือกกรณีที่มีข้อสงสัย ร่วมกับการสุ่ม • มีการติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจรักษาอย่างไม่เหมาะ สมมาตรวจรักษาใหม่ • มีการสรุปความผิดพลาดที่พบบ่อยเพื่อนำมาสู่การ ฝึกอบรมและการสร้างสื่อเรียนรู้ที่จำเป็น • มีการติดตามประเมินผลความผิดพลาดที่พบบ่อย

  25. การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มีการทบทวนทุกวันทำการโดยสุ่มเลือกกรณีที่มีข้อสงสัย ร่วมกับการสุ่ม ความครอบคลุมความผิดพลาดที่พบเป็นส่วนใหญ่ การวางแนวทางป้องกัน  มีการปรับปรุงแนวทางการ ตรวจรักษาโดยใช้ข้อมูลทางวิชาการ การสื่อสาร  ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุ ปัญหาที่สำคัญ และแนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติ มีหลักฐานการปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน มีการติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลอย่างไม่เหมาะสมมา ตรวจรักษาใหม่

  26. ผลที่ได้จากการทบทวน • เพิ่มพูนศักยภาพของพยาบาลที่ทำหน้าที่ตรวจรักษาแทนแพทย์ • กำหนดแนวทางการตรวจรักษาเฉพาะโรค(CPG/Gap analysis) • ข้อบ่งชี้ในการตามแพทย์ตรวจด้วยตนเอง • ข้อบ่งชี้ในการติดตามผู้ป่วยรับการตรวจโดยแพทย์ • คู่มือในการให้ยาเด็กเล็ก • ทบทวนรายการยาที่มีอันตรกิริยาต่อกัน (drug interaction) ฯลฯ

  27. 5.การค้นหาและป้องกันความเสี่ยง5.การค้นหาและป้องกันความเสี่ยง วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ป่วย ผู้รับบริการและผู้ปฏิบัติงาน จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย มีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์น้อยที่สุด

  28. การค้นหาความเสี่ยง • ตามสิ่งที่เคลื่อนไหวในระบบบริการ • ทบทวนในหน่วยงานถึงเหตุการณ์สำคัญที่เคยเกิด หรือมีโอกาสเกิด • จัดทีมนอกหน่วยงานเข้ามาสังเกตความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม • รวบรวมบัญชีรายการความเสี่ยงที่พบจากทุกหน่วยงานส่งให้แต่ละหน่วยทบทวนตนเอง • ติดตามปัญหาหรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานอื่น • นำโรคที่พบบ่อย หรือโอกาสที่ผลลัพธ์ในการดูแลรักษาที่จะไม่ดีมาพิจารณาความเสี่ยงด้านคลินิก

  29. แนวคิดพื้นฐานในการค้นหาความเสี่ยงแนวคิดพื้นฐานในการค้นหาความเสี่ยง ทุกคนคือผู้จัดการความสี่ยง ความเสี่ยงคืออะไร ผู้จัดการความเสี่ยงคือใคร การเขียนรายงานกับการประเมินผลการทำงานและการ พิจารณาความดีความชอบ ความเข้าใจในเรื่องการเขียนรายงานเป็นช่องทาง สำคัญที่จะทำให้องค์กรทราบจุดอ่อนของระบบที่มีอยู่ เพื่อหาโอกาสพัฒนา ปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น

  30. ความคาดหวัง • มีการสำรวจความเสี่ยงทาง ENV สม่ำเสมอและดำเนินการแก้ไขป้องกัน • มีการนำปัญหา/ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับ รพ. อื่นมาพิจารณา • มีการติดตาม Flow ของผู้รับบริการ วัสดุ ข้อมูลข่าวสาร เพื่อค้นหาความเสี่ยงและดำเนินการแก้ไขป้องกัน • มีการวิเคราะห์บัญชีความเสี่ยงหาโอกาสเกิดและดำเนินการแก้ไขป้องกัน • มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางคลินิกในกลุ่มผู้ป่วยสำคัญ • มีการค้นหาความเสี่ยงอื่นๆ เช่น เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เคยเกิดขึ้น • มีการวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความเสี่ยงและแสดงให้เห็นว่ามีการแก้ไขป้องกันในความเสี่ยงสำคัญ

  31. การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA ความครอบคลุมหน่วยงานบางหน่วย ผู้ป่วยที่ เสี่ยงทุกกลุ่ม และกระบวนการที่สำคัญ การวางแนวทางป้องกัน  มีการวิเคราะห์ หาสาเหตุและวางแนวทางป้องกันโดยทีม การสื่อสาร  ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุปัญหา ที่สำคัญและแนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติ มีหลักฐานการปฏิบัติตาม แนวทางป้องกัน

  32. 6.การป้องกันและ เฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างหลักประกันว่าผู้ป่วย และผู้ปฏิบัติงาน จะมีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อในโรงพยาบาลในระดับต่ำสุด

  33. ความคาดหวัง • มีระบบป้องกันการติดเชื้อเนื่องจากการปฏิบัติงานสำหรับ จนท. • มีการกำหนดการติดเชื้อที่เป็นความเสี่ยงสำคัญและเป็นเป้าหมายของ การควบคุมป้องกัน • มีการเก็บข้อมูลอัตราการติดเชื้อเหมาะสมกับระดับของโรงพยาบาล โดย มีคำจำกัดความที่ชัดเจน • มีการวิเคราะห์และนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ • มีการกำหนดมาตรการทั่วไปเพื่อป้องกันการติดเชื้อโดยให้ความสำคัญ กับเรื่องการล้างมือ เทคนิคปราศจากเชื้อและการแยกผู้ป่วย • มีการกำหนดมาตรการเฉพาะที่เป็นความเสี่ยงและเป็นเป้าหมายของ การลดระดับการติดเชื้อ โดยอาศัยข้อมูลวิชาการ

  34. ระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อในรพ.ระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อในรพ. • Hospital-wide surveillance • Targeted surveillance • Post discharge surveillance

  35. โรงพยาบาลขนาดใหญ่ Ventilator Association Pneumonia (VAP) Surgical Site Infection (SSI) IV Catheter-related Infection (CRI) Catheter-Association UTI (CAUTI) โรงพยาบาลชุมชน Surgical Site Infection (SSI) การติดเชื้อหลังคลอด การติดเชื้อแผลฝีเย็บ IV Catheter-related Infection (CRI) Catheter-Association UTI (CAUTI) ตัวอย่าง...การติดเชื้อที่ควรเฝ้าระวัง

  36. การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายการพัฒนาหรือทบทวนมาตรการที่ใช้อยู่ ความครอบคลุมกลุ่มผป. /กระบวนการที่มีความเสี่ยงสูง บางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวางแนวทางป้องกัน มีการวิเคราะห์หาสาเหตุกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ในการป้องกัน การสื่อสาร  ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุปัญหาที่สำคัญและแนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติ มีการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะ “ การล้างมือ เทคนิคการปราศจากเชื้อ การแยกผู้ป่วย การป้องกันการติดเชื้อสำหรับ จนท.”

  37. 7. การป้องกันและเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางยา วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างหลักประกันว่าผู้ป่วยได้ใช้ยาอย่างถูกต้องและปลอดภัย

  38. ความคาดหวัง • นำปัญหาความคลาดเคลื่อนทางยา/เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาที่เคยเกิดขึ้นที่ รพ.อื่นมาวิเคราะห์ระบบและกำหนดแนวทางป้องกัน • พิจารณายาที่มีโอกาสเกิดปัญหา หรือผลไม่พึงประสงค์ หรือความคลาดเคลื่อนสูง และกำหนดมาตรการป้องกันที่รัดกุม • กำหนดแนวทางปฏิบัติงานที่ชัดเจนเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา เช่น การเขียนคำสั่งใช้ยา การใช้คำย่อ การยืนยันคำสั่งด้วยวาจา การเก็บยาไว้ในหอผู้ป่วย การใช้ยาที่ผู้ป่วยนำมาเอง • มีการเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางยา และทบทวนประสิทธิภาพของการเฝ้าระวังเป็นระยะ

  39. การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มีการเฝ้าระวัง ME ทั้งในส่วนความรับผิดชอบของแพทย์ พยาบาลและเภสัชกร ความครอบคลุมทุกกลุ่มผู้ป่วย การป้องกันครอบคลุมยาที่มีโอกาสเกิดปัญหาส่วนใหญ่ การวางแนวทางป้องกัน พิจารณายาที่มีโอกาสเกิดปัญหา / ผลไม่พึงประสงค์ / ความคลาดเคลื่อนสูง และกำหนดมาตรการป้องกันที่รัดกุม

  40. การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA การสื่อสาร ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุปัญหาที่ สำคัญและแนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติ มีหลักฐานการปฏิบัติตามแนวทาง ที่กำหนด

  41. 8.การทบทวนการดูแลผู้ป่วยจากเหตุการณ์สำคัญ วัตถุประสงค์ เพื่อเรียนรู้และปรับเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ใช้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นมาสร้างหลักประกันว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ซ้ำ โดยเน้นการป้องกันไปที่การวางระบบ

  42. ความคาดหวัง • ทบทวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต/เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงทุกราย • ทบทวนการเกิดภาวะแทรกซ้อน(การติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ผลข้างเคียงจากยา ปฏิกิริยาให้เลือด)และการรักษาซ้ำ(การผ่าตัดซ้ำ การรับไว้รักษาซ้ำด้วยโรคเดิม)ทันทีเพื่อวิเคราะห์สาเหตุและหาวิธีการป้องกัน • ทบทวนอุบัติการณ์ตามระดับความรุนแรง และวิเคราะห์ภาพรวมเป็นระยะ • มีการทำความเข้าใจ/ให้ความสำคัญกับกรณี “เกือบพลาด” • มีการวิเคราะห์ความเพียงพอของการปรับปรุงระบบที่ได้ดำเนินการไปแล้ว

  43. การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มีการทบทวนอุบัติการณ์ตามความรุนแรง โดยเข้าใจเป้าหมาย ความครอบคลุมทบทวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตหรือเหตุการณ์ไม่ พึงประสงค์ที่รุนแรงส่วนใหญ่ การวางแนวทางป้องกัน  RCA วิเคราะห์ ปรับปรุงระบบ เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ โดยทีม การสื่อสาร ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุปัญหาที่ สำคัญและแนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติ มีหลักฐานการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด

  44. 9.การทบทวนความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียน9.การทบทวนความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียน วัตถุประสงค์ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากเวชระเบียน สำหรับการสื่อสารระหว่างการดูแลผู้ป่วย และการประเมินคุณภาพของการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่

  45. ความคาดหวัง • มีการทบทวนความสมบูรณ์ของเวชระเบียนระหว่างการดูแลผู้ป่วย และเพิ่มเติมบันทึกให้สมบูรณ์ตามความเหมาะสม • มีระบบการทบทวนที่สม่ำเสมอ (เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคนทบทวนเวชระเบียนสัปดาห์ละ 3-5 ฉบับ) • ความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียนมีแนวโน้มที่ดีขึ้น

  46. การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินเวชระเบียนที่เหมาะสม มีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 4 เดือน ความครอบคลุมครอบคลุม >5% ของเวชระเบียนผู้ป่วยใน กระจายในผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน การวางแนวทางป้องกัน มีการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการ ปรับปรุงที่ชัดเจน การสื่อสาร ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุจุดอ่อน เป้าหมาย และแนวทาง การปรับปรุง การปฏิบัติ ความสมบูรณ์ของบันทึกเวชระเบียนมีแนวโน้มที่ดีขึ้น

  47. 10.การทบทวนการใช้ความรู้ทางวิชาการ วัตถุประสงค์ Gap Analysis เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีการดูแล ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของข้อมูลวิชาการที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ

  48. ความคาดหวัง • มีการวิเคราะห์โรคที่สำคัญและประเด็นปัญหา/ ความเสี่ยงในโรคนั้นๆ • มีการปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยในโรคนั้นๆ โดยใช้ข้อมูล วิชาการร่วมกับการพัฒนาจาก approach อื่นๆ • มีความพยายามที่จะนำข้อมูลวิชาการมาปรับปรุง การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง • ทบทวนสิ่งที่เราปฏิบัติอยู่ (peer review) • พิจารณาความรู้ทางวิชาการที่ทันสมัย(Scientific evidence) • เป็นการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ (Clinical CQI)

  49. การประเมินผ่านเกณฑ์บันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มีการทำ gap analysis เพื่อพิจารณาว่าควรปรับปรงใน ประเด็นใด ความครอบคลุมกลุ่มโรคสำคัญบางส่วน เช่น high risk, high cost การวางแนวทางป้องกัน มีการปรับปรุงแนวทางการดูแล ผู้ป่วยโดยใช้ข้อมูลทางวิชาการ การสื่อสาร  ผู้เกี่ยวข้องสามารถระบุปัญหาที่ สำคัญและแนวทางที่ป้องกันได้ การปฏิบัติ มีหลักฐานการปฏิบัติตามแนวทางที่ปรับปรุง

  50. 11.การทบทวนการใช้ทรัพยากร (Utilization Review) วัตถุประสงค์ เพื่อให้การตัดสินใจใช้ทรัพยากรในการดูแลผู้ป่วยและการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างเหมาะสม คุ้มค่า อยู่บนพื้นฐานทางวิชาการ

More Related