420 likes | 838 Views
ลำต้น stem. ลำต้น ( stem ) คือ ส่วนของพืชที่ส่วนใหญ่แล้วเจริญขึ้นมาเหนือดินในทิศทางที่ต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลก อันเป็นทิศทางที่ตรงกันข้ามกับราก และมีลักษณะที่แตกต่างจากราก คือ มีข้อ ปล้อง ตา ซึ่งเป็นที่เกิดของกิ่ง ใบ ดอก และผล. ส่วนของลำต้น. ข้อ ( node ) ปล้อง ( internodes ).
E N D
ลำต้น ( stem ) คือ ส่วนของพืชที่ส่วนใหญ่แล้วเจริญขึ้นมาเหนือดินในทิศทางที่ต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลก อันเป็นทิศทางที่ตรงกันข้ามกับราก และมีลักษณะที่แตกต่างจากราก คือ มีข้อ ปล้อง ตา ซึ่งเป็นที่เกิดของกิ่ง ใบ ดอก และผล
ส่วนของลำต้น • ข้อ ( node ) • ปล้อง ( internodes)
ข้อ ( node ) เป็นส่วนของลำต้น ตรงที่มีใบหรือกิ่งหรือตางอกออกมา บางทีตรงข้อนี้ก็อาจมีดอกงอกออกมาแทนกิ่งหรือมีหนามงอกออกมาแทนกิ่งหรือใบก็ได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ ส่วนเหล่านี้เป็นกิ่งหรือใบที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง ตามปกติข้อมักจะพองโตกว่าส่วนอื่นๆของลำต้น
ปล้อง ( internode ) เป็นส่วนของลำต้นที่อยู่ระหว่างข้อหนึ่งกับอีกข้อหนึ่ง • ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมักจะเห็นข้อและปล้องได้ชัดเจนตลอดชีวิต เช่น อ้อย ข้าว ข้าวโพด ไผ่ ในพืชใบเลี้ยงคู่ที่เป็นไม้ล้มลุก ก็มักจะเห็นข้อและปล้องชัดเจนเหมือนกัน เช่น ต้นฟักทอง และ ผักบุ้ง ส่วนพืชใบเลี้ยงคู่ที่เป็นไม้ยืนต้นมักจะเห็นข้อไม่ชัด เพราะ มี cork มาหุ้มโดยรอบ แต่ถ้าเป็นกิ่งอ่อนๆที่แตกออกมาใหม่ๆ ก็ยังคงเห็นข้อและปล้องชัดเจน
หน้าที่ของลำต้น • เป็นแกนช่วยพยุงอวัยวะต่างๆ ได้แก่ กิ่ง ใบ ดอก ผล และเมล็ด ช่วยให้ใบกางออก รับแสงแดดเพื่อประโยชน์ในการสร้างอาหาร โดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยแสง • เป็นทางลำเลียงน้ำและแร่ธาตุที่รากดูดขึ้นมาส่งต่อไปยังใบและส่วนต่างๆ ของพืช • เป็นทางลำเลียงอาหารที่ใบสร้างขึ้น ส่งผ่านลำต้นไปยังรากและส่วนอื่นๆ
นอกจากนี้ลำต้นของพืชอีกหลายชนิดยังทำหน้าที่พิเศษต่างๆ อีก เช่น • ลำต้นสะสมอาหาร เป็นลำต้นที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บสะสมอาหาร จะมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เช่น ขิง ข่า ขมิ้น เผือก มันฝรั่ง เป็นต้น • ลำต้นสังเคราะห์แสง พืชบางชนิดมีลำต้นเป็นสีเขียวไว้สำหรับสร้างอาหาร โดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น กระบองเพชร พญาไร้ใบ ผักบุ้ง เป็นต้น
ลำต้นขยายพันธุ์ เช่น โหระพา พลูด่าง โกสน คุณนายตื่นสาย ลีลาวดี เป็นต้น • ลำต้นเปลี่ยนไปเป็นมือพัน เพื่อช่วยพยุงค้ำจุนลำต้น เช่น บวบ ตำลึง น้ำเต้า เป็นต้น
ชนิดของลำต้น • ลำต้นเหนือดิน ( aerial stem ) • ลำต้นใต้ดิน underground stem
ลำต้นพืชโดยทั่วไปมักจะเจริญอยู่เหนือดิน สามารถจำแนกย่อยเป็น • ต้นไม้ใหญ่หรือไม้ยืนต้น ( Tree ) เป็นลำต้นไม้ยืนต้นที่มีเนื้อไม้แข็ง ขนาดใหญ่ ตามปกติต้นที่เติบโตเต็มที่แล้วมักสูงตั้ง-แต่ 15 ฟุตขึ้นไป มีอายุยืนหลายปี เช่น ต้นสัก ก้ามปู หางนกยูง ยางพารา สนทะเล มะพร้าว เป็นต้น • ต้นไม้พุ่ม ( Shrub ) เป็นต้นไม้ที่มีเนื้อไม้แข็งเช่นเดียวกับต้นไม้ใหญ่ แต่มีขนาดเล็กกว่าและสูงน้อยกว่า 15 ฟุต เช่น ต้นแก้ว เข็ม ทับทิม กระถิน เป็นต้น • ต้นไม้ล้มลุก ( Herb ) เป็นต้นไม้ที่มีเนื้อไม้อ่อน หรือไม่มีเนื้อไม้ มีอายุอยู่ได้ชั่วระยะฤดูหนึ่งๆเท่านั้น เช่น ข้าว หญ้า ถั่ว วัชพืชต่างๆ เป็นต้น
ลำต้นเหนือดินของพืชหลายชนิดอาจมีการเปลี่ยนรูปเพื่อทำหน้าที่พิเศษซึ่งต่างไปจากเดิม จำแนกออกเป็นชนิดต่างๆดังนี้ • ลำต้นเลื้อย ( Creeping stem , Prostate stem )เป็นลำต้นที่ทอดหรือเลื้อยขนานไปตามผิวดินหรือผิวน้ำ ตามข้อ • มักมีรากงอกออกมาแล้วแทงลงในดินเพื่อช่วยยึดลำต้น นอกจากนี้บริเวณข้อจะมีตาเจริญไปเป็นแขนงยาวขนานไปกับพื้นดินหรือผิวน้ำซึ่งจะงอกรากและลำต้นขึ้นใหม่ และจะแยกเช่นนี้เรื่อยๆไปเป็นการแพร่พันธุ์ของพืชได้วิธีหนึ่ง แขนงที่ขนานไปตามพื้นดินหรือผิวน้ำดังกล่าวนี้ เรียกว่า ไหล ( Stolon หรือ Runner ) เช่น ต้นหญ้า ผักบุ้ง ผักกระเฉด ผักตบชวา บัวบก สตรอเบอรี่ เป็นต้น
ลำต้นไต่ ( Climbing stem ) เป็นลำต้นที่เลื้อยหรือไต่ขึ้นที่สูง มักมีลำต้นอ่อนเป็นพวกไม้เลื้อย • ทไวเนอร์ ( Twiner ) เป็นลำต้นที่ไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้ลำต้นพันกับหลักเป็นเกลียว เช่น ต้นถั่ว บอระเพ็ด และเถาวัลย์ต่างๆ
มือเกาะ ( Stem tendril ) เป็นลำต้นที่ดัดแปลงไปเป็นมือเกาะ ( tendril ) สำหรับพันหลักเพื่อไต่ขึ้นที่สูง ส่วนขอtendril จะบิดเป็นเกลียวคล้ายลวดสปริงเพื่อให้ยืดหยุ่น เช่น บวบ แตงกวา ฟักทอง กะทกรก พวงชมพู
ทไคลม์เบอร์ ( Root climber ) เป็นลำต้นที่ไต่ขึ้นที่สูง โดยใช้รากซึ่งงอกออกมาตามข้อยึดกับหลักหรือต้นไม้ เช่น ต้นพริกไทย พลู พลูด่าง
หนาม ( Stem spine or Stem thorn ) เป็นลำต้นที่ดัดแปลงไปเป็นหนามรวมทั้งขอเกี่ยวสำหรับไต่ขึ้นที่สูง เช่นเฟื่องฟ้า มะนาว มะกรูด พวกส้มต่างๆ ไมยราบ
แคลโดฟิลล์ ( Cladophyll ) เป็นลำต้นที่เปลี่ยนไปมีลักษณะคล้ายใบ ทำหน้าที่แทนใบโดยมีสีเขียวและสังเคราะห์แสงได้ เช่น สนทะเล พญาไร้ใบ กระบองเพชร โปร่งฟ้า
บัลบิล ( Bulbil ) เป็นลำต้นเหนือดินสั้นๆ มีใบออกมาเป็นกระจุก เช่น หอม กระเทียม
ลำต้นใต้ดิน ( Underground stem ) • ลำต้นที่อยู่ใต้ดิน มักมีผู้เข้าใจผิดว่าเป็นรากเสมอ ทั้งนี้เพราะที่ลำต้นเหล่านี้มีราก -เล็กๆงอกออกมา จึงคล้ายกับว่าลำต้นเป็นรากแก้วมีรากแขนงแตกออกมา มีสิ่งที่สังเกตและพิจารณาว่า ลำต้นใต้ดินไม่ใช่ราก โดยสังเกตจากข้อและปล้อง ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจน บางที่ก็มีตาอยู่ตามข้อด้วย ลำต้นใต้ดินส่วนใหญ่ทำหน้าที่สะสมอาหาร มีลักษณะ รูปร่างต่างจากลำต้นเหนือดิน
จัดทำโดย ม.นพดล ปัญญาดี