800 likes | 1.62k Views
บทที่ 3 ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้. หัวข้อบทเรียนที่ 3. ความหมายและความสำคัญของซอฟต์แวร์ ประเภทของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ในการทำงาน. 1. ความหมายของคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์.
E N D
บทที่ 3 ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้
หัวข้อบทเรียนที่ 3 ความหมายและความสำคัญของซอฟต์แวร์ ประเภทของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ในการทำงาน
1. ความหมายของคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง กลุ่มของชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ หรือ โปรแกรมที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ใช้ต้องการรวมไปถึงการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ ผู้ที่เขียนซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมมักเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer)
คำศัพท์ Commercial Software คือ ซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อจำหน่าย Shareware คือ ซอฟต์แวร์ที่ให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้งานช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อผู้ใช้คิดว่ามีประโยชน์และจะใช้งานได้ในระยะยาวจึงส่งเงินให้บริษัทผู้ผลิตเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ Freeware คือ ซอฟต์แวร์ที่แจกจ่ายให้ผู้ใช้โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ โดยผู้ผลิตยังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั่นคือไม่อนุญาตให้ผู้ใดแก้ไขเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์ Open Source Software คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ และแจกจ่ายให้ผู้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ รวมทั้งให้ผู้ใช้สามารถนำมาแก้ไขหรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับหน่วยงานของตนเองได้ นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ผู้ใช้นำซอฟต์แวร์ไปพัฒนาต่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงวางขายและทำการตลาดได้
ระบบปฏิบัติการ (Operating System-OS) เมื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ซอฟต์แวร์ที่ต้องให้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นลำดับแรก คือ ระบบปฏิบัติการ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมและประสานงานอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการเป็นตัวกลางที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และโปรแกรมประยุกต์ ทำหน้าที่ ควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรอง และหน่วยแสดงผล และสนับสนุนคำสั่งในการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ นิยมเรียกรวมๆ ว่า แพลตฟอร์ม (Platform)
Hardware OS Application Software User ความสัมพันธ์ของผู้ใช้ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ระบบปฏิบัติการ และฮาร์ดแวร์
ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand - aloneOS)เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน๊ตบุ๊คที่ทำงานโดยไม่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น และปัจจุบันระบบปฏิบัติการดังกล่าวได้ขยายขีดความสามารถให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS)ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายเป็นระบบปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์ของการพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และสามารถใช้ทรัพยากรของระบบ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ ร่วมกันได้ รวมทั้งมีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูล ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่บรรจุไว้ในชิปรอม (ROM) ของเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ได้แก่ เครื่องพีดีเอ และโทรศัพท์มือถือ ประเภทของระบบปฏิบัติการ
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว DOS MAC OS Microsoft Windows รูปแบบการโต้ตอบกับผู้ใช้งานแบบบรรทัดคำสั่ง (Command Line) รูปแบบการโต้ตอบกับผู้ใช้งานแบบกราฟิก (Graphic User Interface – GUI) Linux
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย OS/2 Warp Server Windows Server Solaris
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบฝังตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบฝัง Symbian OS Palm OS Pocket PC OS Andriod iOS
ปัจจัยในการเลือกใช้ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ปัจจัยในการเลือกใช้ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ (Utility Software) • โปรแกรมอรรถประโยชน์เป็นซอฟต์แวร์สำหรับการจัดงานขนาดเล็กและให้บริการต่างๆ เช่น การจัดเรียงข้อมูลตามหลักใดหลักหนึ่ง (Sort) รวมแฟ้มข้อมูลที่เรียงลำดับแล้วเข้าด้วยกัน (Merge) หรือย้ายข้อมูลจากอุปกรณ์รับส่งอย่างหนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง รวมทั้ง โปรแกรมที่ใช้จัดการกับฮาร์ดแวร์โดยตรง • โปรแกรมอรรถประโยชน์บางโปรแกรมจะถูกรวมเข้าไปอยู่ในระบบปฏิบัติการ
โปรแกรมที่ให้บริการต่าง ๆ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด โปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ โปรแกรมอรรถประโยชน์อื่นๆ เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างโปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการตัวอย่างโปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ การจัดการไฟล์ (File Manager) การยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม (Uninstaller) สแกนดิสก์ (Disk Scanner)
ตัวอย่างโปรแกรมอรรถประโยชน์อื่นๆ (Stand-alone utility Programs) โปรแกรมป้องกันไวรัส (Anti virus Program) โปรแกรมไฟร์วอลล์ (Firewall)
ตัวอย่างโปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการตัวอย่างโปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ การจัดเรียงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ (Disk Defragmenter) การรักษาหน้าจอ (Screen Saver)
ตัวอย่างโปรแกรมอรรถประโยชน์อื่นๆ (Stand-alone utility Programs) โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (File Compression Utility)
ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software) • ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้านเป็นซอฟต์แวร์ที่องค์กรพัฒนาขึ้นสำหรับใช้งานภายในองค์กรเอง ไม่มีวางจำหน่ายทั่วไป ดังนั้น ซอฟต์แวร์จึงมีความเหมาะสมกับระบบงานขององค์กรมากที่สุด • ตัวอย่างเช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของกรมศุลากร โปรแกรมฝากถอนเงินของธนาคาร เป็นต้น
โปรแกรมระบบบริการการศึกษาโปรแกรมระบบบริการการศึกษา
โปรแกรมคำนวณภาษีของกรมสรรพากรโปรแกรมคำนวณภาษีของกรมสรรพากร
ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software) ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์พัฒนาขึ้นเพื่อวางจำหน่ายให้ผู้ใช้เลือกหาซอฟต์แวร์มาประยุกต์ใช้งานตามให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ ได้แก่ การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพหรือการออกแบบเว็บไซต์
ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software)
ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software)
ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software)
ตัวอย่างซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกส์และมัลติมีเดียตัวอย่างซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกส์และมัลติมีเดีย
ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software)
ตัวอย่างซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล Microsoft Access
ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประมวลผลคำWord Perfect 9
ตัวอย่างซอฟต์แวร์ทำการคำนวณตัวอย่างซอฟต์แวร์ทำการคำนวณ MS Excel การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟ การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ แถวและคอลัมน์
ตัวอย่างโปรแกรมตกแต่งภาพ Adobe Photoshop
เกณฑ์ในการเลือกซอฟต์แวร์เกณฑ์ในการเลือกซอฟต์แวร์ • กำหนดงานที่เราจะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ เขียนเหตุผลคร่าวๆ และก็เริ่มศึกษารายละเอียด • รู้จักระบบคอมพิวเตอร์ของเราเอง ว่าซอฟต์แวร์ที่ซื้อมานั้น ต้องทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ของเราได้ เช่น ความต้องการระบบ • ระบบหน่วยปฏิบัติการแบบใด • หน่วยประมวลผลกลางรุ่นใด ความเร็วเท่าไหร่ • การ์ดแสดงผลรุ่นใด มีหน่วยความจำเท่าไหร่ • หน่วยความจำขนาดเท่าไหร่ • ความจุของฮาร์ดไดร์ฟ
เกณฑ์ในการเลือกซอฟต์แวร์ (ต่อ) • ลองใช้ซอฟต์แวร์ อย่างน้อย 15 นาที โดยทดลองใช้ในแง่มุมต่างๆ • ใช้งานง่ายหรือไม่ • ระบบความช่วยเหลือมีหรือไม่ • คู่มือมีหรือไม่ อ่านง่ายหรือไม่ • มีบริการให้คำปรึกษาทางเทคนิคหลังการขายหรือไม่ • เลือกเปรียบเทียบ • เลือกซอฟต์แวร์ที่มีราคาเหมาะสมที่สุด • เปิดโอกาสให้คืนซอฟต์แวร์ที่ซื้อไปไม่น้อยกว่า 30 วัน • การเลือกซื้อซอฟต์แวร์ ต้องใช้เวลาทำความคุ้นเคยราว 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มทำงานได้ ฉะนั้นควรนำซอฟต์แวร์ มาใช้เพื่อความคุ้นเคยเสียก่อนแล้วค่อยเลือกใช้ซอฟต์แวร์ตัวต่อไปมาใช้งาน
กรณีศึกษา โบรชัวร์แผนที่ โปสเตอร์โฆษณา ปฏิทิน บริษัท EAU Advertizing Agency เป็นบริษัทที่ให้บริการผลิตชิ้นงานโฆษณาดังนี้ ออกแบบงานได้แก่ ปฏิทิน โบร์ชัวร์ โปสเตอร์โฆษณา
กรณีศึกษา • พัฒนา web site สร้าง Movies and Video Presentation
กรณีศึกษา • โดยบริษัท EAU Advertizing Agency มีระบบคอมพิวเตอร์เดิมสำหรับการทำงานดังนี้ • Hardware 10 เครื่องสำหรับการทำงาน • Acer (E500/6-0905) • Intel Pentium 4 Processor 830 (3.0 Ghz/FSB800/EM64T) • ATI RC410 Chipset (support Intel Dual Core CPU and 64 Bits CPU) • 1024 MB DDR-II (expandable up to 2.0 GB) • 250 GB HDD SATA (7200 rpm) • DVD/RW 16x (DVD-RW Dual Layer Function) • AtiRadeon Express200 Graphic Chipset with 16 x PCI Express Slot • ACER LCD Monitor 15” • Operating System : Windows XP
กรณีศึกษา • ทางบริษัท EAU Advertizing Agency ต้องการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ดังนี้ • โปรแกรมออกแบบและตบแต่งรูปภาพ • โปรแกรมด้านการตัดต่อภาพยนตร์และ VDO Presentation • โปรแกรมออฟฟิศสำหรับพัฒนาเว็บไซต์ • EAU Advertizing Agency ต้องการปรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรใหม่ทั้ง Hardware และ Software หากนักศึกษาเป็นบริษัทที่ปรึกษาติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ให้แก่บริษัทดังกล่าว นักศึกษาจะให้คำปรึกษาด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพิ่มเติมจากที่บริษัทมีอยู่เดิม และซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานต่างๆ อะไรบ้าง