1 / 12

http: // nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย

http: // www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย. ปัญหา เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการนำเงินรายได้ไปจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายของสถานศึกษาของ อปท.พ.ศ.2551.

Download Presentation

http: // nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยhttp://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com ปัญหาเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการนำเงินรายได้ไปจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายของสถานศึกษาของ อปท.พ.ศ.2551

  2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการนำเงินรายได้ไปจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายของสถานศึกษาของ อปท. พ.ศ.2551 • ประเด็นที่ 1 ระเบียบฯ ข้อ 6(7) “เงินที่ได้จาก อปท.” ตั้งงบประมาณให้สถานศึกษาเป็นค่าอาหารกลางวัน ค่าเงินรายหัวนักเรียน และค่าพัฒนาการจัดการศึกษา • ค่าใช้จ่ายทั้ง 3 ประเภท ไม่สมควรเป็นรายได้ของสถานศึกษา เนื่องจากสถานศึกษาสังกัด อปท. มิได้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แต่เป็นหน่วยงานหนึ่งของ อปท.เท่านั้น และรายได้ดังกล่าวรัฐได้จัดสรรให้กับ อปท.ไปจัดการด้านการศึกษา จำนวนเงินดังกล่าวที่ใช้ไปในการจัดการศึกษาอาจมาจาก • เงินอุดหนุนจากรัฐบาล • เงินที่ อปท. ตั้งสมทบให้จากเงินรายได้ของท้องถิ่นเอง http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com

  3. ประเด็นที่ 1 (ต่อ) • ท้องถิ่นอาจไม่สนับสนุนเงินสมทบให้กับสถานศึกษาในสังกัด จะตั้งงบประมาณให้ในส่วนที่รัฐได้จัดสรรให้เท่านั้น ในความเป็นจริงอาจไม่เพียงพอตามภารกิจแต่ อปท.ได้ให้เงินสนับสนุนเพิ่มให้โดยจ่ายจากเงินรายได้ของท้องถิ่นที่ได้จัดเก็บเอง อาจทำให้เยาวชนในท้องถิ่น ขาดโอกาสทางการศึกษาให้ทัดเทียมกับสถานศึกษาอื่น • ตามระเบียบและแนวทางปฏิบัติดังกล่าว สถานศึกษาจะใช้เงินไม่ทัน เนื่องจากปีการศึกษาเริ่มเดือนพฤษภาคมและสิ้นสุดเดือนเมษายนของปีถัดไป แต่ปีงบประมาณเริ่มเดือนตุลาคมและสิ้นสุดเดือนกันยายนของปีถัดไป ซึ่งการใช้จ่ายเงินจะมีอยู่เพียง 5 เดือนเท่านั้นสำหรับปีงบประมาณ ทำให้เงินดังกล่าวจะตกเป็นเงินรายได้สะสมของสถานศึกษามากมาย ซึ่ง อปท.ไม่สามารถนำเงินดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆของประชาชนในท้องถิ่นให้ดีขึ้นได้ เพราะเงินตกเป็นของสถานศึกษา http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com

  4. ประเด็นที่ 1 (ต่อ) • สถานศึกษา ต้องเพิ่มบุคลากรด้านการเงินการคลัง หรือต้องใช้ครูที่ทำหน้าที่สอนหนังสือไปทำงานด้านการเงินเพิ่มขึ้น อาจทำให้การสอนหนังสือขาดประสิทธิภาพ ถึงแม้สถานศึกษาจะมีเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี สถานศึกษาละ 1 คน แต่เจ้าหน้าที่เหล่านี้ไม่มีความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการของระเบียบฯ พัสดุ อาจส่งผลเสียหายต่อหน่วยงานได้ • สถานศึกษามีหน้าที่จัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนในทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ แต่สถานศึกษาต้องกังวลใจกับการบริหารจัดการ หรือสั่งซื้อ สั่งจ้าง อาจไม่มีเวลาหรือให้ความสำคัญเรื่องที่เป็นหัวใจของสถานศึกษา คือ เรื่องการจัดการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ของผู้เรียน อาจทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเปลี่ยนแปลงในทางลบได้ http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com

  5. ประเด็นที่ 1 (ต่อ) • อาจทำให้เกิดช่องทางทุจริตได้ง่ายขึ้น เนื่องจากขบวนการ ขั้นตอนการดำเนินงานเกี่ยวกับการเงินเป็นเรื่องที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ความละเอียดรอบคอบ และมีการควบคุมภายในที่ดี http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com

  6.  ประเด็นที่ 2 ระเบียบฯ ข้อ 10 “ในกรณีที่สถานศึกษามีรายได้ ตามข้อ 6(7) ให้ถือว่าผู้บริหารท้องถิ่นมอบอำนาจในการอนุมัติจ่ายเงินรายได้ของสถานศึกษาและอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง โดยไม่ต้องออกคำสั่งมอบอำนาจดังกล่าว ” โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของ อปท.โดยอนุโลม • การปฏิบัติตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 7 กำหนดให้ผู้มีอำนาจจะต้องมอบอำนาจเป็นหนังสือโดยคำนึงถึงระดับ ตำแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ และต้องแนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจประกอบการเบิกจ่ายทุกครั้ง และต้องส่งสำเนาหลักฐานการมอบอำนาจให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทราบทุกครั้ง เนื่องจากระเบียบของสถานศึกษาให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอนุโลม http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com

  7. ประเด็นที่ 2 (ต่อ) • การสั่งซื้อ/สั่งจ้าง ให้หัวหน้าสถานศึกษา มีอำนาจไม่เกิน 100,000 บาท ผู้บริหารท้องถิ่นเกินกว่า 100,000 บาท การมอบอำนาจดังกล่าว ทำให้การบริหารงานด้านพัสดุฯ ไม่เป็นไปตามหลักการบริหารจัดการที่ดี คือ โปร่งใส เป็นธรรม เนื่องจาก • เงินถูกกระจายไปตามสถานศึกษาของท้องถิ่น การจัดซื้อ/จัดจ้าง ก็ถูกแยกไปตามสถานศึกษา การจัดซื้อ/จัดจ้าง ก็จะแบ่งย่อยออกไป หากให้ท้องถิ่นจัดซื้อ/จัดจ้าง รวม ก็ทำให้การจัดซื้อ/จัดจ้างได้ราคาที่ถูกลง และมีการแข่งขันในการเสนอราคาได้เต็มที่ • สถานศึกษาจะต้องใช้อำนาจการจัดซื้อ/จัดจ้างภายในอำนาจของตนเอง ซึ่งเป็นการซื้อ/จ้างด้วยวิธีตกลงราคา ทำให้อาจเกิดการผูกขาดของร้านค้า และเกิดการต่อรองระหว่างสถานศึกษา เนื่องจากไม่มีคู่แข่งขันการนำเสนอราคาสินค้า เพราะผู้ซื้อ/ผู้จ้างสามารถระบุจะซื้อ/จ้าง จากผู้ขายรายใดก็ได้ http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com

  8.  ประเด็นที่ 3 กรณีงบประมาณประกาศใช้แล้วให้เบิกผลักหักส่งเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสถานศึกษา เมื่อดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม เสร็จสิ้นแล้วมีเงินคงเหลือจ่าย ไม่ต้องส่งคืนให้ อปท. • เงินดังกล่าว มิได้ถือเป็นรายรับของสถานศึกษา แต่เป็นรายได้ของ อปท.ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ข้อ 17(5) ดังนั้นเงินดังกล่าว หากสถานศึกษาได้ใช้จ่ายตามโครงการ/กิจกรรม เสร็จเรียบร้อยแล้วมีเงินคงเหลือต้องส่งคืนให้ อปท.จึงจะถูกต้อง http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com

  9. ประเด็นที่ 4 การโอนเงินให้สถานศึกษา ก็จะเห็นปัญหาในการปฏิบัติงาน และจะสร้างปัญหาข้อขัดแย้ง ระหว่างสถานศึกษากับ อปท. เนื่องจากการจัดสรรเงินอุดหนุนของรัฐบาลนั้น มิได้จัดสรรเงินให้เป็นคราวเดียวกัน แต่จะจัดสรรให้เป็นงวดๆ แล้วแต่หลักเกณฑ์ที่กำหนดในการจัดสรรก็มิได้ระบุรายละเอียดว่าการจัดสรรในแต่ละงวดเป็นค่าใช้จ่ายใดบ้าง อปท.ก็ต้องใช้เงินบางส่วนในการบริหารจัดการภารกิจ ในเรื่องต่างๆ เช่น การบริการสาธารณะอื่น การบริหารจัดการภารกิจด้านต่างๆ http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com

  10.  ประเด็นที่ 5 ตามหลักเกณฑ์ หนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 08093.2/ว 1918 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ข้อ 2(2) ให้โอนเงิน ค่าอาหารกลางวันนักเรียน ค่าเงินรายหัวนักเรียน ค่าพัฒนาการจัดการศึกษาและเงินอื่นที่ อปท.สมทบให้ หรือตั้งงบประมาณให้(ถ้ามี) การระบุเงินอื่นๆ นั้น ทำให้ท้องถิ่นเกิดความสับสนในการปฏิบัติ บางแห่งเข้าใจถึงเงินทุกประเภทที่ปรากฏในเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่เกี่ยวกับสถานศึกษา จะต้องโอนเงินดังกล่าวให้กับสถานศึกษาทั้งหมด อาจเกิดข้อผิดพลาดในการดำเนินงาน หากมีความจำเป็นต้องโอนเงินดังกล่าว 3 ประเภท ก็ควรจะไม่กล่าวถึงเงินประเภทอื่นอีก http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com

  11. หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 283 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อปท.ย่อมมีอำนาจหน้าที่โดยทั่วไปในการดูแลและจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น และย่อมมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายการบริหาร การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ โดยต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับการพัฒนาของจังหวัดและประเทศเป็นส่วนรวมด้วย อปท.ย่อมได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีความเข้มแข็งในการบริหารงานได้โดยอิสระ และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาระบบการคลังท้องถิ่นให้จัดบริการสาธารณะได้ โดยครบถ้วนตามอำนาจหน้าที่ จัดตั้งหรือร่วมกันจัดตั้งองค์การเพื่อการจัดทำบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าเป็นประโยชน์ และให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com

  12. http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยhttp://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com Thank You !

More Related