880 likes | 1.68k Views
วีซ่าประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (TRANSIT VISA) วีซ่าประเภทนักท่องเที่ยว (TOURIST VISA) วีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) วีซ่าสำหรับเจ้าหน้าที่ทางการทูต (DIPLOMATIC VISA) วีซ่าสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นทางการ (OFFICIAL VISA) วีซ่าประเภทอัธยาศัยไมตรี (COURTESY VISA)
E N D
วีซ่าประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (TRANSIT VISA) • วีซ่าประเภทนักท่องเที่ยว (TOURIST VISA) • วีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) • วีซ่าสำหรับเจ้าหน้าที่ทางการทูต (DIPLOMATIC VISA) • วีซ่าสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นทางการ (OFFICIAL VISA) • วีซ่าประเภทอัธยาศัยไมตรี (COURTESY VISA) • วีซ่าประเภทคนเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา41 • วีซ่าประเภทคนเข้าเมืองนอกกำหนดจำนวนคนต่างด้าว ซึ่งจะเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปี
(1.) วีซ่าประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (TRANSIT VISA) การยื่นคำขอวีซ่าชนิดนี้ก็เหมือนกับ การขอ Tourist Visa ทุกประการ คงมีข้อต่างกันเฉพาะชื่อวีซ่า และเรื่องระยะเวลาการอนุญาตให้พำนัก อยู่ในประเทศไทยขณะเมื่อผ่านด่านตรวจ กับจำนวนเงินค่าธรรมเนียมวีซ่าเท่านั้น วีซ่าชนิดนี้เมื่อเดินทางเข้าประเทศไทย จะได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่เป็นเวลา 30 วัน ณ ด่านตรวจ และสามารถยื่นคำขออยู่ต่อได้อีก 30 วัน (เฉพาะประเทศศรีลังกา บังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล อิหร่าน ไนจีเรีย โตโก ยูกันดา จะขอเลื่อนการเดินทางออกไปได้อีกเพียง 7 วัน เช่นเดียวกับพวกที่มี Tourist Visa) แต่ในกรณีจำเป็นก็อาจคำขออยู่ต่อได้ เช่นเดียวกับ Tourist Visa ดังได้กล่าวมาแล้ว วีซ่าชนิดนี้ไม่สามารถใช้ขอใบอนุญาตทำงานได้ แต่อาจขอเปลี่ยนเป็น NON-IMMIGRANT VISA เช่นเดียวกับ TOURIST VISA
(2.) วีซ่าประเภทนักท่องเที่ยว (TOURIST VISA) วีซ่าชนิดนี้ต้องยื่นคำขอจากนอก ประเทศไทยเช่นเดียวกับ NON-IMMIGRANT VISA เมื่อเดินทางเข้าประเทศไทยจะได้รับอนุญาต ณ ด่านตรวจ ให้อยู่เป็นเวลา 60 วัน และขออยู่ต่อได้อีก 30 วัน (เฉพาะประเทศศรีลังกา บังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล อิหร่าน ไนจีเรีย โตโก ยูกันดา จะขอเลื่อนการเดินทางออกไปได้อีกเพียง 7 วัน ตามนโยบายของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) วีซ่าชนิดนี้สามารถขออยู่ต่อในระยะยาวได้เช่นกันหากมีความจำเป็น เพราะกฎหมายให้อำนาจอธิบดีกรมตำรวจ (ปัจจุบันคือ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้อยู่ต่อได้ครั้งละไม่เกิน 1 ปี (ตามความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522) เพียงแต่ว่าวีซ่าชนิดนี้ไม่สามารถ ใช้ขออนุญาตทำงานได้เท่านั้นเอง อนึ่ง คนต่างด้าวผู้ที่ถือ TOURIST VISA หากเขาต้องการจะขออนุญาตทำงานในประเทศไทย หรือเกรงว่าถ้าไม่มี NON-IMMIGRANT VISA ตามที่ได้รับคำบอกเล่าของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว จะไม่สามารถขออยู่ต่อระยะยาวได้ ก็มีสิทธิยื่นคำขอเปลี่ยนวีซ่าประเภทเป็น NON-IMMIGRANT VISA
(3.) วีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) วีซ่าชนิดนี้คนต่างชาติจะต้องไปยื่นคำขอที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ โดยต้องระบุแจ้งเหตุผลลงในแบบคำขอวีซ่า ด้วยว่าต้องการจะเดินทางเข้าประเทศไทยด้วยความมุ่งหมายใด ซึ่งทางราชการได้กำหนดรหัสเป็นอักษรย่อภาษาอังกฤษไว้ สำหรับใส่กำกับลงไปในวีซ่า ตามแต่ละเหตุผลที่ขอวีซ่า ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงเหตุผลหรือความมุ่งหมายตั้งแต่แรกของคนต่างด้าวว่า ต้องการจะขอเข้าประเทศไทยด้วยวัตถุประสงค์ใด และยังจะเป็นประโยชน์ในการควบคุมทางทะเบียนและการสถิติอีกด้วยNON-IMMIGRANT VISA นี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว ชนิดเดียวเท่านั้น ที่สามารถใช้ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานได้ และ การที่คนต่างชาติจะขอรับใบอนุญาตทำงานได้หรือไม่นั้น จะต้องถือปฏิบัติให้เป็นไปตาม ที่พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มาตรา 11
(4.) วีซ่าสำหรับเจ้าหน้าที่ทางการทูต (DIPLOMATIC VISA) วีซ่าชนิดนี้จะออกให้สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต เพื่อเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมวิธีการขอกระทำได้โดยการยื่นคำขอ วีซ่าที่สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ แต่หากผู้ถือหนังสือเดินทางทูตของประเทศนั้นเป็นประเทศที่มีความตกลงกับ ประเทศไทยว่าด้วย การยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างกัน ก็จะสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้เลยโดยไม่ต้องขอวีซ่า คนต่างด้าวประเภทนี้เมื่อเดินทางเข้ามาใน ราชอาณาจักรจะได้รับการอนุญาตให้อยู่ต่อในขั้นต้น ณ ด่านตรวจ เป็นเวลา 90 วัน
(5.)วีซ่าสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นทางการ (OFFICIAL VISA) วีซ่าชนิดนี้ออกให้กับผู้ถือหนังสือเดินทางราชการเพื่อเข้ามาปฏิบัติ หน้าที่ในประเทศไทย โดยไม่คิดค่าธรรมเนียม ซึ่งมีวิธีการขอวีซ่าหรือมีการยกเว้น ไม่ต้องมีวีซ่าสำหรับบางประเทศที่มีข้อตกลงระหว่างกัน ในทำนองเดียวกันกับวีซ่าสำหรับเจ้าหน้าที่ทางการทูต ผู้ถือวีซ่าชนิดนี้เมื่อเดินทางเข้ามาใน ราชอาณาจักรจะได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 90 วัน ณ ด่านตรวจเช่นกัน
(6.) วีซ่าประเภทอัธยาศัยไมตรี (COURTESY VISA) วีซ่าชนิดนี้เป็นวีซ่าที่ออกให้แก่ผู้ที่ถือหนังสือทางราชการ เพื่อจะเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน โดยไม่คิดค่าธรรมเนียม
(7.) วีซ่าประเภทคนเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา 41 วีซ่าชนิดนี้เป็นวีซ่าสำหรับออกให้แก่คนต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยจากคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี แต่ความเป็นจริงในปัจจุบันไม่มีการออก วีซ่าชนิดนี้ เนื่องจากไม่มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการยื่นคำขอเข้ามามีถิ่นที่อยู่ใน ประเทศไทยผ่านสถานทูต หรือสถานกงสุลในต่างประเทศแต่อย่างใด คงมีแต่การเข้ามายื่นคำขอมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย เท่านั้น
(8.) วีซ่าประเภทคนเข้าเมืองนอกกำหนดจำนวนคนต่างด้าว ซึ่งจะเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปี วีซ่าชนิดนี้จะออกให้แก่ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย แล้ว แต่ประสงค์จะเดินทางไปต่างประเทศ และจะกลับเข้ามามีถิ่นที่อยู่ตามเดิม ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น Re-Entry Visa ของผู้มีถิ่นที่อยู่ โดยทำเป็นตราประทับลงไปในหนังสือเดินทาง และต้องใช้คู่กันกับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ซึ่งต้องมีการสลักหลัง (Endorsement) ด้วยทุกครั้งที่เดินทางเข้า-ออกราชอาณาจักร ค่าธรรมเนียมของวีซ่าชนิดนี้เป็นเงินจำนวน 1,900 บาท สำหรับการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร 1 ครั้ง และจำนวน 3,800 บาท สำหรับการเดินทางกลับเข้ามาหลายครั้ง โดยจะมีกำหนดอายุการใช้ตามอายุของสลักหลังในใบสำคัญถิ่นที่อยู่
1. การตรวจลงตราประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (Transit Visa) • การตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว (Tourist Visa) • การตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว (Non-Immigrant Visa) • การตรวจลงตราประเภททูต (Diplomatic Visa) • การตรวจลงตราประเภทราชการ (Official Visa) • การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี (Courtesy Visa)
1. การตรวจลงตราประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (TRANSIT VISA) 1. การตรวจลงตราประเภทนี้จะออกให้แก่คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อการใดการหนึ่งดังต่อไปนี้ - เพื่อเดินทางผ่านราชอาณาจักร (รหัส TS ) - เพื่อเล่นกีฬา (รหัส S ) - เป็นผู้ควบคุมพาหนะหรือเป็นคนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่า สถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักร (รหัส C) 2. อายุวีซ่า 3 เดือน 3. ค่าธรรมเนียม 800 บาท ต่อครั้ง 4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 30 วัน 5. จำนวนเงินที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรคือต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตรา แลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท
6. เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา - หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน - แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกข้อความสมบูรณ์ - รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน /ไม่สวมหมวก และแว่นตาดำ) - บัตรโดยสารเครื่องบิน ไป-กลับ หรือที่จะเดินทางไปยังประเทศที่สาม - วีซ่าของประเทศที่สามในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง (รหัส TS) - หนังสือเชิญให้เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬา (รหัส S) - หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ควบคุมพาหนะหรือเป็นคนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่า สถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักร (รหัส C) - ทั้งนี้ อาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย 7. คนต่างด้าวที่ประสงค์จะขยายระยะเวลาพำนักในประเทศไทยหรือเปลี่ยนแปลงประเภทวีซ่าต้องยื่นคำร้อง ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการฯถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 02-141-9889 เว็บไซต์ http://www.immigration.go.th/การพิจารณาอนุมัติขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง
2. การตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยว (TOURIST VISA) 1. การตรวจลงตราประเภทนี้จะออกให้แก่คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว (รหัส TR) 2. อายุวีซ่า 3 เดือน หรือ 6 เดือน 3. ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท ต่อครั้ง 4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละ 60 วัน 5. จำนวนเงินที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรคือต้องมี เงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลก เปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท
6. เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา - หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน - แบบฟอร์มขอวีซ่าที่กรอกข้อความสมบูรณ์ - รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน / ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ) - หลักฐานที่แสดงว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยหลังจากสิ้นสุดการท่องเที่ยว เช่น บัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับ หรือที่จะเดินทางไปยังประเทศที่สาม - เอกสารจากบริษัทท่องเที่ยว (กรณีที่เดินทางมากับบริษัททัวร์) - ทั้งนี้ อาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย 7. คนต่างด้าวที่ประสงค์จะขยายระยะเวลาพำนักในประเทศไทยหรือเปลี่ยนแปลงประเภท วีซ่า ต้องยื่นคำร้อง ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 02-141-9889 เว็บไซต์ http://www.immigration.go.th/การพิจารณาอนุมัติขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง
3. การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) 1. การตรวจลงตราประเภทนี้จะออกให้แก่คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราช อาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ - การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ (รหัส F) - การติดต่อหรือประกอบธุรกิจ และการทำงาน (รหัส B) - การลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง (รหัส IM) - การลงทุนหรือการอื่นภายใต้ข้อบังคับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (รหัส IB) - การศึกษา ดูงาน และฝึกอบรมต่างๆ (รหัส ED) - การปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน (รหัส M) - การเผยแผ่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ (รหัส R) - การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกสอนในสถาบันการค้นคว้า หรือสถาบันการศึกษาในราชอาณาจักร (รหัส RS) - การปฏิบัติงานด้านช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญ (รหัส EX) - การอื่น (รหัส O)
2. อายุวีซ่า - 3 เดือน สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้ครั้งเดียว (single entry) - 1 ปี สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้หลายครั้ง (multiple entries) 3. ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท (single entry) และ 5,000 บาท (multiple entries) 4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน 5. จำนวนเงินที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร คือ ต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตรา แลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท 6. การขยายระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักรคนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยสำนักงาน ตรวจคนเข้าเมือง จะได้รับการพิจารณาขยายระยะเวลาพำนักให้อยู่ต่อไปในราชอาณาจักรเป็นระยะเวลา ครั้งละไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ คนต่างด้าวสามารถยื่นคำร้องได้ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 02-141-9889 เว็บไซต์ http://www.immigration.go.th/การพิจารณาอนุมัติขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง
7. เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตราเนื่องจากการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการเดิน ทางเข้าประเทศไทยหลายประการเอกสารหลักฐานที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตราจึงแตกต่างกันไปตาม วัตถุประสงค์ของการเดินทางและสถานทูตสถานกงสุลอาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการ ตรวจลงตราด้วย เอกสารที่ต้องนำไปแสดง ได้แก่- หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน- แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกข้อความสมบูรณ์- รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน /ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ) การทำงาน (รหัส B) - หนังสือกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน แจ้งผลการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานในบริษัทฯ ที่ขอได้ (ในการขอรับหนังสือกรมการจัดหางานดังกล่าว นายจ้างที่จะจ้างคนต่างด้าวต้องไปยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตทำงานหรือ แบบ ตท.3 ณ กองงานคนต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงหรือที่สำนักงานแรงงานจังหวัด ซึ่งหากอนุญาตให้คนต่างด้าวดังกล่าวมาทำงานได้ตามที่ขอ กระทรวงแรงงานจะมีหนังสือแจ้งผลการอนุญาตให้นายจ้างส่งหนังสือกรมการจัดหางานดังกล่าวให้คนต่างด้าวใช้เป็นเอกสาร ประกอบการขอวีซ่า)- หนังสือจากบริษัทในประเทศไทยที่จะจ้างงานบุคคลต่างด้าวดังกล่าวชี้แจงราย ละเอียดเกี่ยวกับการจ้างงาน พร้อมทั้งแนบเอกสารของบริษัท เช่น ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทฯ หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดจากกระทรวงพาณิชย์ / บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น / ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ถ้ามี) / ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม / งบการเงินปีล่าสุด ฯลฯ
[ หมายเหตุ ]1. เมื่อคนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa “B”) จากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่แล้ว เมื่อเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ให้ไปติดต่อกองงานคนต่างด้าวเพื่อยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) และเมื่อได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว จึงจะสามารถทำงานได้2. ในกรณีของคนต่างด้าวที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานและพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็น เวลา 1 ปี นายจ้างจะต้องยื่นคำร้องต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เมื่อได้รับพิจารณาอนุมัติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะแจ้งให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ทราบโดย ผ่านกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอให้ตรวจลงตรา Non-Immigrant Visa รหัส B-A ซึ่งพำนักได้ 1 ปี ให้แก่คนต่างด้าวนั้นต่อไป ]
4. การตรวจลงตราประเภททูต (DIPLOMATIC VISA) 1. การตรวจลงตราประเภทนี้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการทูตหรือกงสุล หรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และผู้ร้องจะต้องถือหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ (UN Laissez-Passer) ซึ่งเทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตเท่านั้น 2. ผู้ร้องจะต้องแสดงหนังสือนำจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากสถานเอกอัครราชทูตของประเทศผู้ขอ หรือจากหน่วยงานหรือองค์กรของสหประชาชาติที่ผู้ร้องสังกัดอยู่ โดยหนังสือรับรองจะต้องระบุชื่อ ตำแหน่ง และวัตถุประสงค์การเดินทางให้ชัดเจน 3. ยกเว้นค่าธรรมเนียม 4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
5. การตรวจลงตราประเภทราชการ (OFFICIAL VISA) 1. การตรวจลงตราประเภทนี้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ และผู้ร้องจะต้องถือหนังสือเดินทางราชการหรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ (UN Laissez-Passer) ซึ่งเทียบเท่าหนังสือเดินทางราชการเท่านั้น 2. ผู้ร้องจะต้องแสดงหนังสือนำจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุล/หน่วยราชการ ของประเทศผู้ขอ หรือจากหน่วยงาน หรือองค์กรของสหประชาชาติที่ผู้ร้องสังกัดอยู่ หรือจากหน่วยราชการของไทย โดยหนังสือรับรองจะต้องระบุชื่อ ตำแหน่ง และวัตถุประสงค์การเดินทางให้ชัดเจน 3. ยกเว้นค่าธรรมเนียม 4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
6. การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี (COURTESY VISA) 1. การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรีจำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราช อาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ - การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือ เดินทางราชการ เพื่อการอื่นนอกจากการเข้ามาประจำการในราชอาณาจักร เพื่อปฏิบัติหน้าที่การทูต หรือกงสุล หรือราชการ - การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา ซึ่งประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักรในฐานะเป็นพระราชอาคันตุกะ ราชอาคันตุกะ แขกของรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ
2. เอกสารประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา - หนังสือเดินทาง - แบบฟอร์มคำร้องขอรับการตรวจลงตราที่กรอกข้อความสมบูรณ์ พร้อมรูปถ่าย - หนังสือนำจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุล/หน่วยราชการ ของประเทศผู้ร้อง หรือจากหน่วยงานหรือองค์กรของสหประชาชาติที่ผู้ร้องสังกัดอยู่ หรือจากหน่วยราชการของไทย โดยหนังสือรับรองจะต้องระบุชื่อ ตำแหน่ง และวัตถุประสงค์การเดินทางให้ชัดเจน 3. อายุวีซ่า 3 เดือน หรือ 6 เดือน สามารถเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้หลายครั้ง (multiple entries) 4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 30 วัน 5. ไม่เก็บค่าธรรมเนียม 6. การขยายระยะเวลาพำนัก เมื่อครบกำหนดตามที่ได้รับอนุญาตแล้ว โดยทั่วไปสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะไม่อนุญาตให้อยู่ต่อไปเว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุสุดวิสัยไม่สามารถเดินทางออกไปได้โดยในการขอยื่นคำร้องขออยู่ต่อที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จะต้องมีหนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศแจ้งขอเป็นรายๆ ไป เพื่อนำเรื่องเสนอผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการ และต้องเสียค่าธรรมเนียมการขออยู่ต่อตามปกติ
คนต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทยคนต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทย
1. คนต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทย1. คนต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทย • จะต้องขอรับการตรวจลงตรา หรือขอวีซ่า • จากสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ของไทย ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศที่ตนมีถิ่นพำนัก หรือจากสถานเอกอัครราชทูตไทยที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลประเทศที่คนต่างชาติดัง กล่าวมีถิ่นพำนัก หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสถานที่ขอวีซ่า กรุณาสอบถามได้จากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยทุกแห่งสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่และที่ติดต่อของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุล ใหญ่ของไทย สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศที่http://www.thaiembassy.org
คุณสมบัติของคนต่างด้าวที่มีสิทธิขอรับการตรวจลงตราคุณสมบัติของคนต่างด้าวที่มีสิทธิขอรับการตรวจลงตรา • มีสัญชาติของประเทศที่รัฐมนตรีกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและ มีสัญชาติของประเทศที่ออกหนังสือเดินทาง • เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการท่องเที่ยว 15 วัน • รูปถ่ายขนาด 4x 6 cm ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 รูป ถ่ายมาแล้วไม่แล้วไม่เกิน 6 เดือน • ไม่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรตามกฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง • ตั๋วยืนยันการเดินทางกลับภายใน 15 วัน • ต้องแจ้งที่พักอาศัยในราชอาณาจักรตามความเป็นจริงและสามารถตรวจสอบได้ • ปัจจัยยังชีพ คนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท (250 US$) ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท (500 US$) • มีหนังสือเดินทางอันถูกต้องและยังสมบูรณ์อยู่และหนังสือเดินทางนั้นจะต้องมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
มาตรา 12 ห้ามมิให้คนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เข้ามาในราชอาณาจักร (1) ไม่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางอันถูกต้องและยังสมบูรณ์ อยู่ หรือมีแต่ไม่ได้รับการตรวจลงตราในหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเช่นว่านั้นจากสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยใน ต่างประเทศ หรือจากกระทรวงการต่างประเทศ เว้นแต่กรณีที่ไม่ต้องมีการตรวจลงตราสำหรับคนต่างด้าวบางประเภทเป็นกรณี พิเศษ การตรวจลงตราและการยกเว้นการตรวจลงตราให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง การตรวจลงตราตาม (1) ให้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(2) ไม่มีปัจจัยในการยังชีพตามควรแก่กรณีที่เข้ามาในราชอาณาจักร (3) เข้ามาเพื่อมีอาชีพเป็นกรรมกร หรือเข้ามาเพื่อรับจ้างทำงานด้วยกำลังกาย โดยไม่ได้อาศัยวิชาความรู้หรือการฝึกทางวิชาการ หรือเข้ามาเพื่อทำงานอื่นอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว (4) วิกลจริตหรือมีโรคอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (5) ยังมิได้ปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ หรือฉีดวัคซีน หรือปฏิบัติการอย่างอื่นตามวิชาการแพทย์เพื่อป้องกันโรคติดต่อตามที่กฎหมาย บัญญัติ และไม่ยอมให้แพทย์ตรวจคนเข้าเมืองกระทำการเช่นว่านั้น
(6) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลไทยหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดที่ยกเว้นไว้ในกฎกระทรวง (7) มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับ (8) มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเข้ามาเพื่อการค้าประเวณี การค้าหญิงหรือเด็ก การค้ายาเสพย์ติดให้โทษ การลักลอบหนีภาษีศุลกากร หรือเพื่อประกอบกิจการอื่นที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชน
(9) ไม่มีเงินติดตัวหรือไม่มีประกันตามที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา 14 (10) รัฐมนตรีไม่อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 16 (11) ถูกรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างประเทศเนรเทศ หรือถูกเพิกถอนสิทธิการอยู่อาศัยในราชอาณาจักร หรือในต่างประเทศมาแล้ว หรือถูกพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร โดยรัฐบาลไทยเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ เว้นแต่รัฐมนตรีได้พิจารณายกเว้นให้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย การตรวจวินิจฉัยโรคร่างกายหรือจิต ตลอดจนการปฏิบัติการเพื่อป้องกันโรคติดต่อ ให้ใช้แพทย์ตรวจคนเข้าเมือง
มาตรา 14 รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร มีเงินติดตัว หรือมีเงินประกันหรือจะยกเว้นภายใต้เงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ ทั้งนี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศตามวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่เด็กอายุต่ำกว่าสิบสองปี มาตรา 16 ในกรณีที่มีพฤติการณ์ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่า เพื่อประโยชน์แก่ประเทศ หรือเพื่อความสงบเรียบร้อย วัฒนธรรมหรือศีลธรรมอันดี หรือความผาสุกของประชาชน ไม่สมควรอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้ใดหรือจำพวกใดเข้ามาในราชอาณาจักร รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวผู้นั้นหรือจำพวกนั้นเข้ามาในราช อาณาจักรได้
2. คนต่างชาติบางสัญชาติสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องมีวีซ่า หากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ มี 2 กลุ่มดังนี้ (1) ประเทศที่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว และสามารถพำนักอยู่ในไทยได้ไม่เกิน 30 วัน • หมายเหตุ คนต่างด้าวที่มิใช่คนสัญชาติของประเทศดังกล่าวหรือคนไร้สัญชาติที่ถือเอกสาร เดินทางสำหรับคนต่างด้าว (Travel Document for Aliens) ที่ออกโดย 48 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ดังกล่าว จะไม่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตรา และยังจำเป็นต้องขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศก่อนเดินทางมาประเทศไทย
รายชื่อประเทศที่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตรา (****) หมายเหตุ ประเทศไทยมีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต ราชการ และธรรมดา โดยสามารถพำนักได้ไม่เกิน 90 วัน(แทนที่จะพำนักได้ 30 วัน) 1.เครือรัฐออสเตรเลีย 2. สาธารณรัฐออสเตรีย 3. ราชอาณาจักรเบลเยียม4. สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล(****) 5. รัฐบาห์เรน 6. เนการาบรูไนดารุสซาลาม 7. แคนาดา8. ราชอาณาจักรเดนมาร์ก 9. สาธารณรัฐฟินแลนด์ 10. สาธารณรัฐฝรั่งเศส 11. สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 12. สาธารณรัฐเฮลเลนิก 13. ฮ่องกง 14. สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ 15. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 16. ไอร์แลนด์ 17. รัฐอิสราเอล 18. สาธารณรัฐอิตาลี 19. ญี่ปุ่น 20. สาธารณรัฐเกาหลี (****) 21. รัฐคูเวต 22. ราชรัฐลักเซมเบิร์ก 23. มาเลเซีย 24. ราชรัฐโมนาโก
รายชื่อประเทศที่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตรา(****) หมายเหตุ ประเทศไทยมีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต ราชการ และธรรมดา โดยสามารถพำนักได้ไม่เกิน 90 วัน(แทนที่จะพำนักได้ 30 วัน) 25.. ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ 26. นิวซีแลนด์ 27. ราชอาณาจักรนอร์เวย์ 28. รัฐสุลต่านโอมาน 29. สาธารณรัฐเปรู (****) 30. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 31. สาธารณรัฐโปรตุเกส 32. รัฐกาตาร์ 33. สาธารณรัฐสิงคโปร์ 34. ราชอาณาจักรเสปน 35. สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ 36. ราชอาณาจักรสวีเดน 37. สมาพันธรัฐสวิส 38. สาธารณรัฐตุรกี 39. สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ 40. สหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์เหนือ 41. สหรัฐอเมริกา 42. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 43. สาธารณรัฐเช็ก 44. สาธารณรัฐฮังการี 45. สาธารณรัฐลิกเตนสไตน์ 46. สาธารณรัฐโปแลนด์ 47. สาธารณรัฐสโลวัก 48. สาธารณรัฐสโลวีเนีย
คนต่างด้าวที่เดินทางมาประเทศไทยโดยได้รับยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวคนต่างด้าวที่เดินทางมาประเทศไทยโดยได้รับยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว • ต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตรา แลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท หรือครอบครัวละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับสิทธิยกเว้นการตรวจลงตราดังกล่าวนี้ หากประสงค์จะพำนักอยู่ในประเทศไทยนานกว่า 30 วัน ควรขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุล ใหญ่ไทยในต่างประเทศก่อนเดินทางมาประเทศไทย ซึ่งจะได้รับอนุญาตให้พำนักได้ไม่เกิน 60 วัน และสามารถยื่นคำร้องขอขยายเวลาพำนักจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้ด้วย
(2) ประเทศที่มีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรากับประเทศไทย
ประเทศที่ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ และหนังสือเดินทางพิเศษ กับประเทศไทย ระยะเวลา 30 วัน • 1. กัมพูชา2. จีน 3. ฮ่องกง4. ลาว5. มาเก๊า6. มองโกเลีย 7. พม่า8. โอมาน9. เวียดนาม
ประเทศที่ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ และหนังสือเดินทางพิเศษ กับประเทศไทย ระยะเวลา 90 วัน ระยะเวลา 90 วัน 11. เอกวาดอร์12.ฝรั่งเศส*เฉพาะหนังสือเดินทางทูตเท่านั้น 13. เยอรมนี 14. ฮังการี15. อินเดีย16. อิสราเอล17. อิตาลี18. ญี่ปุ่น19. สาธารณรัฐเกาหลี 20. ลักเซมเบิร์ก • 1. อาร์เจนตินา 2. ออสเตรีย 3. เบลเยียม 4. ภูฏาน 5. บราซิล 6. ชิลี 7. คอสตาริกา 8 โครเอเชีย 9 สาธารณรัฐเช็ก10.เดนมาร์ก
ประเทศที่ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ และหนังสือเดินทางพิเศษ กับประเทศไทย ระยะเวลา 90 วัน ระยะเวลา 90 วัน 31.. สิงคโปร์ 32. สาธารณรัฐสโลวัก 33. แอฟริกาใต้34. สเปน *เฉพาะหนังสือเดินทางทูตเท่านั้น 35. สวิตเซอร์แลนด์ 36. ตูนีเซีย 37. ตุรกี 38. ยูเครน39. อุรุกวัย 21. มาเลเซีย22. เม็กซิโก 23. เนเธอร์แลนด์ 24. เนปาล 25. ปานามา 26. เปรู 27. ฟิลิปปินส์ 28. โปแลนด์ 29. โรมาเนีย30. รัสเซีย
รายชื่อประเทศที่ได้ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรา หนังสือเดินทางธรรมดากับประเทศไทย ระยะเวลา 14 วัน ระยะเวลา 90 วัน 1. อาร์เจนตินา2. บราซิล 3. ชิลี4. สาธารณรัฐเกาหลี 5. เปรู หมายเหตุ หากบุคคลสัญชาติของประเทศที่มีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรากับไทย ประสงค์จะเข้าประเทศไทยเพื่อทำงานหรือจะพำนักในไทยเกินกว่าระยะเวลาที่ระบุ ไว้ในความตกลง ยังจำเป็นต้องขอวีซ่าก่อนเดินทางมาประเทศไทย เนื่องจากคนต่างชาติจะต้องมีวีซ่าประเภทที่เหมาะสมในการยื่นขอรับใบอนุญาตทำ งานหรือการขออยู่ต่อ 1. กัมพูชา ระยะเวลา 30 วัน1. ฮ่องกง2. ลาว3. มาเก๊า4. มองโกเลีย5. รัสเซีย6. เวียดนาม
ประเทศที่มีความตกลงยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรากับประเทศไทยประเทศที่มีความตกลงยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรากับประเทศไทย • 1. มาเลเซีย 2. ฟิลิปปินส์ (สำหรับการพำนักที่มีระยะไม่เกิน 59 วัน) 3. สิงคโปร์ 4. สาธารณรัฐเกาหลี 5. ตูนีเซีย
3. คนต่างชาติบางสัญชาติสามารถมาขอรับการตรวจลงตราที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของไทยบางแห่งที่กำหนดไว้ เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยได้ (visa on arrival) • คนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางถูกต้องและ สมบูรณ์ ของ 28 ประเทศ • มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อการท่องเที่ยวเป็นระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน สามารถขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวได้ ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองตามที่กำหนดไว้ 24 แห่ง(หมายเหตุ คนต่างด้าวหรือคนไร้สัญชาติที่ถือเอกสารเดินทางสำหรับคนต่างด้าว ของ 28 ประเทศ ไม่สามารถขอรับ Visa on Arrival ได้ ต้องขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศ ก่อนเดินทางเข้ามา)
คนต่างด้าว 28 สัญชาติดังต่อไปนี้ หากต้องการเข้ามาทำงานหรือประกอบธุรกิจหรือลงทุนในประเทศไทย จะต้องขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวจากสถานเอกอัครราชทูต/สถาน กงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศก่อน • มิฉะนั้น เมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว จะไม่สามารถยื่นเรื่องขอใบอนุญาตทำงานได้จำเป็นต้องเดินทางออกไปนอกราช อาณาจักรเพื่อไปยื่นเรื่องขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุล ไทย
1. ราชอาณาจักรภูฏาน 2. สาธารณรัฐประชาชนจีน 3. สาธารณรัฐไซปรัส 4. สาธารณรัฐเช็ก 5. สาธารณรัฐเอสโตเนีย 6. สาธารณรัฐ 7. สาธารณรัฐอินเดีย 8. สาธารณรัฐคาซัคสถาน 9. สาธารณรัฐลัตเวีย 10. ราชรัฐลิกเตนสไตน์ 11. สาธารณรัฐลิทัวเนีย 12. สาธารณรัฐมัลดีฟส์ 13. สาธารณรัฐมอริเชียส 14. รัฐสุลต่านโอมาน 15. สาธารณรัฐโปแลนด์ 16. สหพันธรัฐรัสเซีย 17. ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย 18. สาธารณรัฐสโลวัก 19. สาธารณรัฐสโลวีเนีย 20. ยูเครน 21. อุซเบกิสถาน 22. สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย 23. ไต้หวัน 24. สาธารณรัฐบัลแกเรีย 25. ราชรัฐอันดอร์รา 26. สาธารณรัฐมอลตา 27. โรมาเนีย 28. สาธารณรัฐซานมารีโน
คนต่างด้าว 28 สัญชาตินี้ หากต้องการเข้ามาทำงานหรือประกอบธุรกิจหรือลงทุนในประเทศไทย จะต้องขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวจากสถานเอกอัครราชทูต/สถาน กงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศก่อน • มิฉะนั้น เมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว จะไม่สามารถยื่นเรื่องขอใบอนุญาตทำงานได้จำเป็นต้องเดินทางออกไปนอกราช อาณาจักรเพื่อไปยื่นเรื่องขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุล ไทย
เอกสารประกอบในการขอรับการตรวจลงตราประเภท visa on arrival • ตั๋วหรือเอกสารที่ชำระค่าโดยสารครบถ้วน สามารถใช้เดินทางออกได้ภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาต คือไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันเดินทางเข้ามา • เงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลก เปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท • แบบฟอร์มคำร้องขอรับการตรวจลงตราที่กรอกข้อความสมบูรณ์ (แบบฟอร์มคำร้อง ขอรับได้ ณ ช่องทางอนุญาตเข้าเมืองที่กำหนดไว้)
เอกสารประกอบในการขอรับการตรวจลงตราประเภท visa on arrival • รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป • หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน • ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท ( รวมถึงผู้ถือหนังสือเดินทางทุกประเภทไม่เว้นแม้ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและ ราชการ กรณีที่ประเทศนั้นไม่มีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตหรือราชการกับประเทศไทย) • ขั้นตอนต่างๆ ในการขอรับ Visa on Arrival จะใช้เวลาประมาณ 20-25 นาที