690 likes | 1.97k Views
วิวัฒนาการ สาธารณสุข แนวคิด หลักการ แนวโน้มมาตรการ ทาง สาธารณสุข บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชน. ณัฐกฤ ตา วงค์ ตระกูล( พย .ม.) natgrita.wo@gmail.com. วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาจบแล้วนักศึกษาสามารถ.
E N D
วิวัฒนาการสาธารณสุข แนวคิดหลักการ แนวโน้มมาตรการทางสาธารณสุข บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชน ณัฐกฤตา วงค์ตระกูล(พย.ม.) natgrita.wo@gmail.com
วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาจบแล้วนักศึกษาสามารถ 1. สามารถบอกความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสาธารณสุขได้ 2. บอกวิวัฒนาการการสาธารณสุขในประเทศไทยและต่างประเทศได้ 3. บอกแนวคิดหลักการมาตรการทางสาธารณสุขได้ 4. บอกสถานการณ์และแนวโน้มการสาธารณสุขได้ 4. บอกบทบาทของพยาบาลในชุมชนโดยทั่วไปได้
ความหมาย การสาธารณสุข(Public Health) หรือเรียกอีกอย่างว่า อนามัยชุมชน (Community Health)มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้ • วินสโลว์หมายถึง งานที่ต้องใช้ศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และศิลปะ ในการป้องกันโรค ยืดอายุให้คนมีชีวิตยืนยาว ยกระดับสุขภาพ สร้างเสริมภาวะสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ • พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๕ หมายถึง กิจการเกี่ยวกับการป้องกัน การบำบัดโรค การรักษา และส่งเสริมสุขภาพของประชาชน
สรุป งานหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับ การป้องกัน รักษาและส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพของประชาชน ต้องใช้ศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และศิลปะ รวมเข้าด้วยกัน เพื่อให้ประชาชน มีความสมบูรณ์มีความสุข มิใช่ปราศจากโรคหรือความพิการเท่านั้น
ประกอบด้วย • การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม • การป้องกันโรค • การให้สุขศึกษาเกี่ยวกับรักษาอนามัยส่วนบุคคล • การจัดบริการทางการแพทย์และพยาบาล • การพัฒนากลไกของสังคม
ความหมายของคำต่างๆ • สุขภาพ หมายถึง ภาวะที่มีความผาสุกทั้งมวล (Total Well-being) ซึ่งมิใช่เพียงปราศจากโรคเท่านั้น เป็นสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และทางจิตวิญาณ เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม อย่างสมดุล สนับสนุนให้บุคคลมีความสามารถที่จะดูแลและส่งเสริมสุขภาพของตนเอง • สุขภาพองค์รวม(Holistic Health) หมายถึง ความสมบูรณ์ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ รวมถึง ความสมบูรณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและปัจจัยอื่นๆทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้รับบริการทั้งในระดับ ครอบครัว และชุมชน
ระบบสุขภาพ หมายถึง ระบบทั้งมวลที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเป็นองค์รวม โดยที่สามารถส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน หรือระดับประเทศ รวมถึงปัจจัยที่มีผลทั้งด้านบุคคล สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม กายภาพ และชีวภาพ รวมถึงปัจจัยด้านระบบบริการสุขภาพ
การส่งเสริมสุขภาพ (HolisticPromotion)หมายถึง กระบวนการใดๆที่เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สร้างความรู้และค่านิยมในทางบวกต่อการมีสุขภาพดีในหมู่ประชาชนและสังคม รวมถึงการจัดบริการต่างๆที่จำเป็นต่อการส่งเสริมสุขภาพดีด้วย
วิวัฒนาการสาธารณสุขไทยและต่างประเทศวิวัฒนาการสาธารณสุขไทยและต่างประเทศ ต่างประเทศ(สมัยก่อนคริสตกาล) เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้น เป็นสิ่งที่อยู่เหนือความสามารถของมนุษย์ เกิดจากการถูกลงโทษสิ่งเดียวที่ทำได้ คือ การแยกหรือกำจัดผู้ป่วยให้พ้นจากครอบครัว และชุมชน อียิปต์เป็นชาติแรกที่รู้จักอนามัยส่วนบุคคล สร้างเก็บกักน้ำเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
ยุคกลาง เกิดการระบาดของโรคติดต่อต่างๆได้แก่กาฬโรค โรคเรื้อน อหิวาในทวีปต่างๆ เรียกกันว่า ยุคมืด อหิวาตกโรค ระบาดกระจายไปแทบทุกประเทศที่มีการเดินทาง
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ค.ศ. ๑๔๗๘-๑๕๕๓เป็นยุคเริ่มศึกษาการเกิดโรคต่างๆแต่ยังไม่ปรากฏงานทางด้านสาธารณสุขเด่นชัด
ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงปัจจุบันยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงปัจจุบัน คริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ การสาธารณสุขของโลกได้เจริญขึ้นทั้งในทางป้องกัน และรักษา การสาธารณสุขของโลกได้เจริญขึ้นทั้งในทางป้องกัน และรักษา การสาธารณสุขของโลกได้เจริญขึ้นทั้งในทางป้องกัน และรักษา โดยเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ คิดค้นวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ
หลังสงครามโลก จัดตั้ง องค์กรอนามัยโลกในปีพ.ศ.2491กำหนดนโยบายร่วมกันไปสู่การปฏิบัติ พ.ศ. 2521 ณ เมือง อัลมาอตา ประเทศรัสเซีย ซึ่งเป้าหมายคือกลวิธีการทางสาธารณสุขมูลฐาน และการส่งเสริมสุขภาพ ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ประชากรทุกคนในโลกจะมีสุขภาพอนามัยที่ดี สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นปกติสุข
วิวัฒนาการสาธารณสุขไทยวิวัฒนาการสาธารณสุขไทย ยุคก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์รู้จักรักษาตัวมาแต่ดึกดำบรรพ์ โดยสัญชาติญาณแห่งการไว้ซึ่งความอยู่รอดของตนเอง คนเชื่อว่าโรคเกิดจากปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ การที่มนุษย์จะพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บได้ก็โดยการเซ่นไหว้ การบูชายันต์ • สมัยสุโขทัย การแพทย์ในสมัยสุโขทัย มีการค้นพบหินบดยาสมัยทวาราวดี ซึ่งเป็นยุคก่อนสมัยสุโขทัย และได้พบศิลาจารึกของพ่อชุนรามคำแหงบันทึกว่า ทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่ไว้บนเขาหลวง
สมัยกรุงศรีอยุธยาได้เกิดมีอหิวาตกโรคขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงศรีอยุธยาผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เกิดมีอหิวาตกโรคขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงศรีอยุธยาผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก
ยุควางรากฐานและฟื้นฟูการสาธารณสุขยุควางรากฐานและฟื้นฟูการสาธารณสุข นายแพทย์แดน บีซบรัดเลย์ชาวบ้านเรียกว่า " หมดบลัดเล " นักเผยแพร่คริสตศาสนาชาวอเมริกันซึ่งมากับคณะมิชชั่นนารีได้เข้ามาเมืองไทยในปี พ . ศ . 2378 เป็นผู้ริเริ่มการป้องกันโรคติดต่อครั้งแรกใน
ยุคบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองยุคบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง การแพทย์แบ่งออกเป็นแผนโบราณและแผนปัจจุบัน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ก่อสร้างโรงพยาบาลศิริราชมีหลักสูตรแพทย์ ตั้งกองแพทย์เพื่อดูแลป้องกันโรคระบาดและทำการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษแก่ประชาชน ตามหัวเมือง ก่อตั้งโรงเรียนนางผดุงครรภ์
ยุคบุกเบิกของการแพทย์และการสาธารณสุขแผนปัจจุบัน(พ.ศ.2460-2472) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย ทรงแบ่ง ประเภทของกิจการสาธารณสุขไว้โดยชัดเจน เป็น 3 ประเภท คือสุขวิทยา เวชกรรมกันโรค และการปราบโรค และสุขาภิบาล รวมเรียกว่า สาธารณสุข
ยุคกำเนิดกระทรวงสาธารณสุขยุคกำเนิดกระทรวงสาธารณสุข ก่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจ แบ่งการบริหารเป็นกองต่างๆ พ.ศ. 2485 มีกระทรวงสาธารณสุขขึ้นเกิดสงครามโลกครั้งที่2 ได้มีการแพร่ระบาดของไข้มาลาเรีย รัฐบาลจึงมีนโยบายให้โรงงานกระทรวงสาธารณสุข นำสมุนไพรมาผลิตเป็นยารักษาโรค
ยุคสมัยรัชกาลที่ 9 (ครองราชย์ ตั้งแต่ 2489ถึงปัจจุบัน) ทรงริเริ่มโครงการต่างๆ ทั้งการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาโรค และการฟื้นฟูสภาพมากมาย
หลักการและแนวทางทางด้านสาธารณสุขหลักการและแนวทางทางด้านสาธารณสุข • ดูแลทุกภาวะสุขภาพ คือ ปกติ เสี่ยงและเจ็บป่วย • ดูแลทุกสถานที่ • ให้การดูแลในลักษณะองค์รวมของกาย จิต สังคม และวิญญาณ • ดูแลไม่เลือกชั้น วรรณะ • ให้ประชาชนดูแลสุขภาพของตนเองได้ในระดับหนึ่ง • ประสานความร่วมมือทางด้านสังคม
ความสำคัญการสาธารณสุขความสำคัญการสาธารณสุข • ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี • ประชาชนมีชีวิตยืนยาวอย่างมีความสุข • สามารถประกอบอาชีพ สร้างรายได้ ผลิตสมาชิกที่มีคุณภาพ • สามารถช่วยพัฒนาประเทศได้ดี
มาตรการทางการสาธารณสุขในการจัดบริการสาธารณสุขมาตรการทางการสาธารณสุขในการจัดบริการสาธารณสุข โดยมีเป้าหมายเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปปฏิบัติได้จริงอย่างชัดเจน ใช้ในการป้องกันและควบคุมสภาวะต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้บริการโดยทั่วไปมีมาตรการ 3 อย่าง • มาตรการทางการกฎหมาย • มาตรการทางบริการสุขภาพ • มาตรการทางการให้การศึกษา
มาตรการทางบริการสุขภาพมาตรการทางบริการสุขภาพ • นโยบายการสาธารณสุข เป็นแนวทางในการวางมาตรการให้หน่วยงานสาธารณสุขต่าง ๆ สามารถวางแผนหรือโครงการจัดบริการสาธารณสุขให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงทรัพยากรทุกประเภท
มาตรการทางการให้การศึกษามาตรการทางการให้การศึกษา • มีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เป็นการป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพและยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีตลอดเวลา
ที่มา : http://www.moph.go.th/ops/thp/thp/index.php
สถานการณ์และแนวโน้มของปัญหาสาธารณสุขในปัจจุบันสถานการณ์และแนวโน้มของปัญหาสาธารณสุขในปัจจุบัน • ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ • ด้านการศึกษา • ด้านแนวโน้มประชากร ครอบครัว และการอพยพย้ายถิ่น • คุณภาพชีวิตของคนไทย • ด้านสภาพแวดล้อม • ด้านการเมืองการปกครอง • ด้านเทคโนโลยีทางการรักษา • พฤติกรรมสุขภาพ
บทบาทของพยาบาลในชุมชนโดยทั่วไปบทบาทของพยาบาลในชุมชนโดยทั่วไป • เป็นผู้ให้บริการทางคลินิก (Care Provider) • ให้ความรู้ด้านสุขภาพ (Educator) • เป็นผู้พิทักษ์สิทธิของผู้ใช้บริการ (Advocator) • เป็นผู้บริหารจัดการ (Manager) • เป็นผู้ประสานความร่วมมือ (collaborator) • การเป็นผู้นำ (Leader) • การเป็นนักวิจัย (Researcher) • เป็นผู้ให้คำปรึกษา(counselor)
เป็นผู้ให้บริการทางคลินิก (Care Provider) • เป็นการให้การดูแลบุคคล ครอบครัว กลุ่มคน และชุมชน ทั้งในภาวะสุขภาพดี ภายใต้การบริการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ภาวะเสี่ยงต่อความเจ็บป่วย และภาวะเจ็บป่วย ซึ่งเป็นการปฏิบัติการพยาบาลด้วยทักษะขั้นพื้นฐานและทักษะขั้นสูงในวิชาชีพตามสภาวะปัญหาและความเจ็บป่วย โดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นแนวทางการปฏิบัติ
บทบาทของการให้ความรู้ด้านสุขภาพ (Educator) • พยาบาลชุมชนจะต้องมีความสามารถในการสอน ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเปลี่ยนแบบแผนพฤติกรรมของประชาชน
บทบาทการเป็นผู้พิทักษ์สิทธิของผู้ใช้บริการ (Advocator) • แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และผู้รับบริการควรจะได้รับบริการสุขภาพเมื่อมีความต้องการเกิดขึ้น บทบาทนี้มีความสำคัญมากในสังคมไทย โดยเฉพาะสังคมชนบท เนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในสิทธิข้อนี้
บทบาทการเป็นผู้บริหารจัดการ (Manager) • การปฏิบัติงานในฐานะผู้จัดการดูแลนี้ จะมีการทำงานในลักษณะ เป็นผู้วางแผน เป็นผู้ปฏิบัติ และบริหารหน่วยงานและ เป็นผู้ควบคุม กำกับ และประเมินผลงาน พยาบาลชุมชน จะต้องเป็นผู้บริหารและจัดการกิจกรรมต่างๆ ในด้านการบริการดูแลช่วยเหลือ ผู้รับบริการทุกระดับ
บทบาทการเป็นผู้ประสานความร่วมมือ (collaborator) • ลักษณะงานพยาบาลอนามัยชุมชน จะต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลและหน่วยงานหลายฝ่าย ทั้งส่วนราชการ เอกชน และชุมชน การดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน จำเป็นต้องมีการทำงานเป็นทีม ทั้งทีมสุขภาพและทีมงานพัฒนาชุมชนอื่น ๆ
บทบาทการเป็นผู้นำ (Leader) • พยาบาลที่ปฏิบัติการพยาบาลในชุมชน ต้องมีบทบาทในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) ในด้านการพัฒนาสุขภาพของประชาชนรวมทั้งการปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างของผู้มีสุขภาพดี
บทบาทการเป็นนักวิจัย (Researcher) • พยาบาลที่ปฏิบัติการพยาบาลในชุมชน จะต้องสามารถค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบ มีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำผลมาพัฒนาสุขภาพ หรือมาแก้ปัญหาสาธารณสุขในชุมชน
เป็นผู้ให้คำปรึกษา(counselor) • สามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้มีปัญหาทั้งสุขภาพได้