1 / 32

ภาวะฉุกเฉินทางหัวใจ

ภาวะฉุกเฉินทางหัวใจ. สุนีย์ เต ชะธ นะชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ. หัวใจ (HEART). ปอดขวา. หัวใจมีขนาดเท่ากำปั้นของคนผู้นั้น ตั้งอยู่ในทรวงอก ระหว่างปอดทั้งสองข้าง ประมาณ 2 ใน 3 ของหัวใจจะอยู่ทาง ด้านซ้าย. หัวใจประกอบด้วยอะไรบ้าง. หัวใจแบ่งออกตามลักษณะ (กายวิภาค) และ หน้าที่ได้ ดังนี้

yvette-hyde
Download Presentation

ภาวะฉุกเฉินทางหัวใจ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาวะฉุกเฉินทางหัวใจ สุนีย์ เตชะธนะชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

  2. หัวใจ(HEART) ปอดขวา • หัวใจมีขนาดเท่ากำปั้นของคนผู้นั้น ตั้งอยู่ในทรวงอก ระหว่างปอดทั้งสองข้าง ประมาณ 2 ใน 3 ของหัวใจจะอยู่ทางด้านซ้าย

  3. หัวใจประกอบด้วยอะไรบ้างหัวใจประกอบด้วยอะไรบ้าง หัวใจแบ่งออกตามลักษณะ (กายวิภาค) และหน้าที่ได้ ดังนี้ • เยื่อหุ้มหัวใจ เป็นเยื่อบางๆใสๆห่อหุ้มหัวใจไว้ • หลอดเลือดหัวใจ จะอยู่บริเวณภายนอกหัวใจ ( เยื่อหุ้มหัวใจ ) ส่งแขนงเล็กๆลงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัว-ใจ • กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการบีบตัวไล่เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และขยายตัวเพื่อรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ • ลิ้นหัวใจ และผนังกั้นห้องหัวใจ

  4. ห้องต่างๆภายในหัวใจ หัวใจห้องบนซ้าย หัวใจห้องบนขวา หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย-ขวาโดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน-ล่างโดยลิ้นหัวใจ หัวใจห้องล่างขวา หัวใจห้องล่างซ้าย

  5. หน้าที่ของหัวใจ • หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย หัวใจซีกขวาจะรับเลือดซึ่งมีออกซิเจนน้อยและส่งไปยังปอดเพื่อไปรับออกซิเจนและถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปอด และกลับจากปอดเข้าสู่หัวใจข้างซ้ายและส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย

  6. อัตราการเต้นของหัวใจ (ชีพจร)

  7. ภาวะฉุกเฉินทางหัวใจ • ภาวะฉุกเฉินทางหัวใจ คือ ภาวะการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและมีอาการรุนแรงที่มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ และผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

  8. ประเภทของโรคหัวใจ • โรคเยื่อหุ้มหัวใจ • โรคลิ้นหัวใจ ได้แก่ ลิ้นหัวใจตีบ หรือ ลิ้นหัวใจรั่ว • โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด • โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือคลายตัว ซึ่งโรคที่พบบ่อยคือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เป็นต้น

  9. อาการผิดปกติสำคัญที่บ่งชี้ว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ • เจ็บหน้าอก • หอบ เหนื่อยง่ายผิดปกติ • ใจสั่น • ขาบวม • เป็นลม วูบ

  10. อาการเจ็บหน้าอก • พบบ่อยในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดตีบหรือตัน เนื่องจากมีไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ • จะมีลักษณะเฉพาะคือ จะมีอาการเจ็บหรือแน่นบริเวณกลางหน้าอกเหมือนมีอะไรหนักๆ มาทับไว้ไม่ให้หน้าอกขยายตัว อาการนี้มักจะเป็นเวลาออกกำลังกาย • บางรายอาการเจ็บมีการร้าวขึ้นไปที่คอ ขึ้นไปที่กรามทั้ง 2 ข้าง ที่ไหล่ทั้ง 2 ข้าง หรืออาจจะเป็นเฉพาะข้างซ้ายข้างเดียวก็ได้ และอาจจะร้าวลงไปที่แขนจนถึงปลายแขนได้

  11. อาการเจ็บหน้าอก • อาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ จะมีอาการเจ็บที่มีลักษณะเหมือนถูกมีดแทงหรือเป็นอาการเจ็บแปลบๆ • อาการของเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจะดีขึ้นในท่านั่งและเมื่อเอนตัวไปข้างหน้า แต่อาการเจ็บหน้าอกจะมากขึ้นถ้านอนหรือเมื่อหายใจเข้าแรงๆ • ส่วนอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากการปริของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออต้า มักจะมีอาการเจ็บที่รุนแรงมากกว่า ลักษณะเหมือนมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อภายในและอาจจะเจ็บทะลุไปจนถึงด้านหลังก็ได้

  12. หอบ เหนื่อยง่ายผิดปกติ • อาการหอบ เหนื่อยง่าย เวลาออกแรง เช่น เดิน วิ่ง ทำงาน มีสาเหตุมากมาย เช่น โลหิตจาง(ซีด) โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคปอด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) แม้แต่ความวิตกกังวล ก็ทำให้เหนื่อยได้เช่นกัน • อาการเหนื่อยง่ายจากโรคหัวใจ และ ภาวะหัวใจล้มเหลวนั้น จะเหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นเวลาออกแรง แต่ในรายที่เป็นรุนแรง จะเหนื่อยในขณะพัก บางรายจะเหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ (นอนแล้วจะเหนื่อย ไอ) ต้องนอนศีรษะสูงหรือ นั่งหลับ

  13. โรคหอบจากอารมณ์ (Hyperventilation Syndrome) • คือการที่ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเร็วและลึกอยู่นาน จนทำให้เกิดความผิดปกติของค่าสารเคมีในเลือด ทำให้มีอาการต่างๆ ทางร่างกายติดตามมา • อาการดังกล่าว มักสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล หรือได้รับความกดดันทางจิตใจ ก่อนหน้าที่จะมีอาการ ซึ่งอาการดังกล่าว เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางกายอื่นๆ • รักษาอาการหายใจหอบ โดยการพยายามหายใจให้ช้าลง หรือให้หายใจในถุงกระดาษที่ครอบทั้งปากและจมูก รวมทั้งการได้รับยาในกลุ่มยาคลายกังวล จะช่วยให้อาการหายใจหอบทุเลาลง

  14. ใจสั่น • ใจสั่นในความหมายแพทย์หมายถึง การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือ เต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆหยุดๆ อาการดังกล่าวอาจพบ ได้ในคนปกติ  โรคหัวใจ และโรคอื่นๆที่มีผลต่อหัวใจ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด แพทย์จะซักประวัติละเอียดถึงลักษณะของ อาการใจสั่น เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยรู้สึก"ใจสั่น"โดยหัวใจเต้นปกติ • การตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการใจสั่นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากผู้ป่วยมักมีอาการชั่วขณะ เมื่อมาพบแพทย์อาการดังกล่าว ก็หายไปแล้ว แพทย์จึงไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ ดังนั้นท่านควรศึกษาวิธีจับชีพจร เมื่อเกิดอาการ ว่าหัวใจเต้นกี่ครั้งในเวลา 1 นาที และสม่ำเสมอหรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์ให้การวินิจฉัยได้รวดเร็วขึ้น

  15. ขาบวม • อาการขาบวมเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือ(โซเดียม)และน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย โดยอาจเกิดจากโรคไต (ขับเกลือไม่ได้) โรคหลอด เลือดดำอุดตัน (การไหลเวียนไม่สะดวก) ขาดอาหาร โปรตีนในเลือดต่ำ โรคตับ ยาและฮอร์โมนบางชนิด โรคหัวใจ • การบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถ ไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น • โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังก็ให้อาการเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีอาการขาบวม แพทย์จำเป็นต้องตรวจหลายระบบ เพื่อหาสาเหตุ จึงให้การรักษาได้ถูกต้อง

  16. เป็นลม วูบ • วูบคือ อาการเป็นลมเกือบหมดสติ หรือบางรายหมดสติไป การเป็นลมหมดสติ มีตั้งแต่เป็นลมธรรมดา จนถึงเป็นลมเนื่องจากความผิดปกติขั้นรุนแรงของหัวใจ • เป็นภาวะที่ร่างกายสูญเสียความรู้สึกตัวและแรงของกล้ามเนื้อชั่วคราว อันเป็นผลมาจากเลือดไปเลี้ยงก้านประสาทสมองลดลง ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องจากปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจและแรงต้านทานของหลอดเลือดทั่วร่างกาย อาการวูบนี้มักจะฟื้นกลับเป็นปกติได้เอง และอาจเป็นซ้ำได้อีก

  17. โรคหัวใจที่ควรทราบ • โรคหัวใจขาดเลือด • โรคหัวใจล้มเหลว

  18. โรคหัวใจขาดเลือด • เกิดจากเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดอาการตีบ ทำให้เลือด ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดออกซิเจนชั่วขณะ เกิดอาการเจ็บหน้าอก อาการจะทุเลาเมื่อพัก และถ้าเส้นเลือดที่ตีบ เกิดอุดตันอย่างเฉียบพลัน จะทำให้เกิด กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทำให้เกิด อาการเจ็บหน้าอก อย่างรุนแรง อาจมีอาการ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตแบบปัจจุบันทันด่วน ก่อนที่จะไปถึงโรงพยาบาลได้

  19. โรคหัวใจขาดเลือด • อาการเจ็บหน้าอกจากหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากการเสียสมดุล ของการใช้ออกซิเจน ของกล้ามเนื้อหัวใจ • จะมีอาการเจ็บหน้าอก เมื่อมีการออกกำลัง เพราะกล้ามเนื้อหัวใจ ต้องการออกซิเจนมากขึ้น แต่ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีจำกัด เนื่องจากหลอดเลือดตีบ อาการจะดีขึ้นเมื่อพัก ความต้องการออกซิเจน ของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง อาการเจ็บหน้าอกมักจะเป็นไม่เกิน 10 นาที • เมื่อหลอดเลือดตีบมากขึ้น ระยะเวลาที่ออกกำลังจะน้อยลง อาการเจ็บหน้าอก จะเกิดเร็วขึ้นตามลำดับ และถ้ามีอาการอุดตัน ของหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ กล้ามเนื้อหัวใจที่หลอดเลือดตันไปเลี้ยง จะตาย อาการเจ็บหน้าอก จะเป็นอยู่นาน และต่อเนื่องมากกว่า 15 นาทีขึ้นไป และอาการจะไม่ทุเลา แม้จะไม่ได้ทำกิจกรรมใดๆ เลย

  20. โรคหัวใจขาดเลือด สาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด มักจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ได้แก่  • เพศชาย มีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด มากกว่าเพศหญิง 3-5 เท่า   • อายุ ในเพศชาย มักจะเริ่มตั้งแต่ อายุ 35 ปีขึ้นไป ในเพศหญิงจะเกิดช้ากว่า คือ มักจะเกิดในวัยหมดประจำเดือน อายุประมาณ 50-55 ปี   • สูบบุหรี่   • ไขมันในเลือดสูง   • โรคความดันโลหิตสูง   • โรคเบาหวาน   • อ้วนและไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย   • เครียดง่าย เครียดบ่อย • มีประวัติโรคหัวใจขาดเลือดของคนในครอบครัว

  21. โรคหัวใจขาดเลือด การรักษาโรคหัวใจขาดเลือด • การรักษาด้วยการใช้ยา • การขยายเส้นเลือดหัวใจโดยบอลลูน • การรักษาโดยการผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจใหม่

  22. โรคหัวใจล้มเหลว หรือ หัวใจวาย • คือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือด ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอ หรือ • ภาวะที่หัวใจไม่สามารถคลายตัว หรือขยายตัว เพื่อรองรับเลือดได้ปกติ ทำให้เกิดความดันเลือดในช่องปอดมากขึ้น เกิดการคั่งของเลือดในปอดมากขึ้น ทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย และอาจก่อให้เกิดอาการบวมของร่างกายได้

  23. โรคหัวใจล้มเหลว หรือ หัวใจวาย สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว แบ่งออกได้เป็น 2 อย่าง คือ 1.หัวใจต้องทำงานหนักเกินกำลัง จาก     • ภาวะลิ้นหัวใจรั่ว   • ปริมาตรของเลือดในระบบไหลเวียนมากเกินไป   • มีความพิการของหัวใจแต่กำเนิด 2.มีความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น • กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ • กล้ามเนื้อหัวใจตาย   • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ   3.มีความผิดปกติของเยื่อบุหัวใจ       • มีน้ำ เลือด หรือ หนองภายในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ   • เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

  24. โรคหัวใจล้มเหลว หรือ หัวใจวาย อาการโรคหัวใจล้มเหลว • ไอตอนกลางคืน อาจมีเสมหะเป็นฟองสีชมพูร่วมด้วย   • หอบเหนื่อยตอนกลางคืน   • นอนราบหายใจไม่สะดวก   • หอบเหนื่อยง่ายหลังออกแรง   • ทำงานหนักไม่ได้   • อ่อนเพลีย เหนื่อย เวียนศีรษะ   • ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน   • บวมที่ปลายเท้า ข้อเท้า และกดบุ๋ม

  25. ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกจากโรคหัวใจภาวะเจ็บแน่นหน้าอกจากโรคหัวใจ เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก อาจแสดงถึงภาวะดังนี้ • กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด   • กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน   • โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ถุงน้ำดี แผลในกระเพาะอาหาร ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถแยกอาการเจ็บหน้าอก ออกจากอาการจุกเสียดท้อง และไม่มีอาการแสดงอื่นๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจ   • โรคปอดบางชนิด โรคถุงลมปอดแตก ปอดอักเสบ หลอดเลือดปอดอุดตัน

  26. หากผู้ป่วยมีประวัติเจ็บหน้าอก ควรซักประวัติอะไรบ้าง • เริ่มต้นเจ็บเมื่อใด • มีอาการมากขึ้นเมื่อทำอะไรหรืออยู่ในท่าไหน • ลักษณะการเจ็บร้างไปที่ใด • ความรุนแรงของการเจ็บ(ให้บอกระดับคะแนน 1-10 ) • ระยะเวลาที่เจ็บ

  27. การดูแลช่วยเหลือฉุกเฉิน ************** ผู้ป่วยที่รู้ประวัติว่าเป็นโรคหัวใจ • ประเมินผู้ป่วยขั้นต้น • ซักประวัติที่เกี่ยงข้องโดยตรง • จัดท่าให้อยู่ในท่าที่สบาย • ให้ออกซิเจน • วัดสัญญาณชีพ • ซักประวัติอาการเจ็บหน้าอก • ประวัติการรักษา

  28. การดูแลช่วยเหลือฉุกเฉินการดูแลช่วยเหลือฉุกเฉิน • กรณีเคยได้รับยาอมใต้ลิ้น และยายังอยู่กับตัวผู้ป่วย - ความดันโลหิต Systolic มากกว่า 100 : ให้ยาอมใต้ลิ้น 1 เม็ด และให้ซ้ำใน 3-5 นาทีให้ได้ไม่เกิน 3 ครั้ง (อย่าลืมถามผู้ป่วยก่อนว่าได้อมยาเองแล้วหรือยัง ถ้าอมครบ 3 เม็ดแล้วไม่ให้อีก )ต้องประเมินสัญญาณชีพทุกครั้งหลังให้ยา - ความดันโลหิต Systolic น้อยกว่า 100 ไม่ให้ยาให้ประเมิน focus assessment ต่อไป • กรณีไม่เคยได้รับยาให้ประเมินภาวะปกติของหัวใจต่อไปและสังเกตอาการ • นำผู้ป่วยส่งส่งโรงพยาบาลอย่างทันท่วงที

  29. การให้ยาnitroglycerin • ตรวจสอบชื่อยา • ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิต Systolic ต่ำว่า 100 ,ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ, ทารกและเด็ก ,ผู้ป่วยที่ได้รับยาเต็มขนาด ( 3 เม็ด )ก่อนที่เวชกรฉุกเฉินจะไปถึง • ต้องได้รับคำสั่งจากแพทย์ผู้ดูแลระบบ • ต้องมั่นใจว่าเป็นยาดังกล่าวจริง ผู้ป่วยไม่ผิดตัว ให้ถูกทางและผู้ป่วยต้องรู้สึกตัว • ตรวจสอบความดันโลหิตภายใน 2 นาทีหลังให้ยา • บันทึกการปฏิบัติงานและเวลาที่ให้ยา

  30. การให้ยาnitroglycerin • ฤทธิ์ของยา ทำให้เส้นเลือดขยายตัว และลดภาระการทำงานของหัวใจ • ผลข้างเคียง ความดันโลหิตต่ำ ปวดศีรษะ และอัตราการเต้นของชีพจรเปลี่ยนแปลง • การประเมินซ้ำ - เฝ้าดูความดันโลหิต - สอบถามอาการเจ็บหน้าอกว่าลดลงหรือไม่ - ขอคำสั่งจากแพทย์ก่อนให้ยาซ้ำ - บันทึกผลการประเมินซ้ำ

  31. คำถาม ? ANY QUESTION

  32. THE END • T • H • A • N • K • Y • O • U

More Related