590 likes | 1.17k Views
สมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4 – รัชกาลปัจจุบัน. ( พ . ศ 2394 - ปัจจุบัน ). พระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่ 4- รัชกาลปัจจุบัน. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2394-2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2411-2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2453-2468
E N D
สมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4 –รัชกาลปัจจุบัน (พ.ศ2394 - ปัจจุบัน)
พระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่ 4-รัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2394-2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพ.ศ.2411-2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพ.ศ.2453-2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2468-2477 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พ.ศ.2477-2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ.2489- ปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ตำแหน่งพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า)ตำแหน่งพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) • สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเจ้า • สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ • สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ • พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว • สมเด็จกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ • สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร
การทำนุบำรุงบ้านเมืองและการขนามนามราชธานีการทำนุบำรุงบ้านเมืองและการขนามนามราชธานี • รัชกาลที่ 4ทรงทำพิธียกเสาหลักเมืองใหม่ และทรงขนานนามราชธานีใหม่ว่า กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมนิเวศนมหาสถานอมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์ โปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์และก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ขยายพระนครให้กว้างออกไปกว่าเดิมด้วยการขุดคลองชั้นนอก คือคลองผดุงกรุงเกษม มีการสร้างป้อมเรียงรายเป็นระยะ มีการสร้างถนนเลียบคลอง คือเจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร นอกจากนี้ยังมีการสร้างสะพานและสร้างตึกแถวสมัยใหม่ริมถนนที่สร้างขึ้นใหม่ด้วย
การทำนุบำรุงบ้านเมือง(ต่อ)การทำนุบำรุงบ้านเมือง(ต่อ) นอกจากนี้รัชกาลที่ 4ยังโปรดให้สร้างพระราชวังเพิ่มเติมขึ้นทั้งในพระนครและ หัวเมือง ในพระนครคือ พระราชวังสราญรมย์ พระราชวังสวนสระปทุม(พร้อมวัดคือวัดปทุมวนาราม) ที่หัวเมืองคือ พระนครคีรี ที่จังหวัดเพชรบุรี พระนารายณ์ราชนิเวศน์ที่จังหวัดลพบุรี และ พระราชวังบางปะอินที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รัชกาลที่ 5โปรดให้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ที่สำคัญคือพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งบรมพิมาน สร้างพระราชวังแห่งใหม่ที่สวนดุสิต ได้แก่พระที่นั่งวิมานเมฆ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระที่นั่งอนันตสมาคม นอกจากนี้ยังโปรดให้สร้างพระราชวังพญาไท และวังที่ประทับของพระเจ้าลูกเธอยาเธออีกหลายแห่งเช่น วังบางขุนพรหม ฯลฯ
การทำนุบำรุงบ้านเมือง(ต่อ)การทำนุบำรุงบ้านเมือง(ต่อ) นอกจากนี้ยังโปรดให้ขยายพระนครให้กว้างออกไปทางด้านเหนือ โดยการขุดคลองเปรมประชากร บูรณะถนนเดิม สร้างถนนสายใหม่หลายสาย(ในรัชกาลที่ 5 ถือเป็นยุคแห่งการสร้างถนน) ที่สำคัญ คือ ถนนราชดำเนินนอก ราชดำเนินกลาง ถนนเยาวราช มีสร้างสะพานอีกจำนวนมาก เช่นสะพานผ่านพิภพลีลา ผ่านฟ้าลีลาศ เป็นต้น
การทำนุบำรุงบ้านเมือง (ต่อ) รัชกาลที่ 6การทำนุบำรุงบ้านเมืองและการก่อสร้างต่างๆ นิยมแบบตะวันตกมากกว่าสมัยใดๆ แต่การก่อสร้างในพระบรมมหาราชวังยังคงถือตามแบบประเพณีไทย หลังจากนั้นมากรุงเทพฯ มีความเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด และยังเป็นมหานครที่รุ่งเรืองของไทยเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญของประเทศสืบมาจนถึงปัจจุบัน
การเมืองการปกครอง(รัชกาลที่4-รัชกาลปัจจุบัน)การเมืองการปกครอง(รัชกาลที่4-รัชกาลปัจจุบัน) มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งใหญ่ 2 ครั้ง ครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 ครั้งที่สองรัชกาลที่ 7
การเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัชกาลที่ 5 มีรากฐานมาแต่ในสมัยรัชกาลที่ 4โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศเจริญก้าวหน้า และเพื่อป้องกันประเทศจากการแสวงหาอาณานิคมของชาติตะวันตก คือยกเลิกการปกครองแบบเดิม ทรงตั้งสภาแผ่นดิน 2 สภา คือสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภางคมนตรี และตั้งกระทรวงขึ้น 12กระทรวงมีเสนาบดีเป็นผู้กำกับประจำกระทรวง
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง(ต่อ)การเปลี่ยนแปลงการปกครอง(ต่อ) นอกจากนี้รัชกาลที่ 5ยังโปรดให้มีการชำระกฎหมายใหม่ และโปรดให้ตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น โปรดให้เลิกทาส โปรดให้มีการจัดการทหารแบบใหม่ตามแบบยุโรป มีพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ทรงตั้งโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าขึ้น โปรดให้จัดตั้งตำรวจนครบาลและตำรวจภูธรเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัชกาลที่ 7 หลังจากที่เกิดสงครามโลก เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยด้วย รัชกาลที่ 7 ทรงพิจารณาแก้ไขเหตุการณ์ต่างๆ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เกิดกลุ่มบุคคลรวมตัวกันที่เรียกว่า คณะราษฎร์ ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475
การปกครองประเทศตามระบบประชาธิปไตยแบ่งเป็น 3 ส่วน • การปกครองส่วนกลางมีกระทรวงทบวงกรมมีรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารดูแลแต่ละกระทรวงแบ่งงานออกเป็นกรมกองมีข้าราชการบริหารตามลำดับ • การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็นจังหวัดต่างๆมีผู้ว่าราชการเป็นผู้บริหารดูแลแต่ละจังหวัดแบ่งออกเป็นอำเภอตำบลหมู่บ้าน • การปกครองส่วนท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนจังหวัดเทศบาลสุขาภิบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางลงสู่ท้องถิ่นแต่ทั้งหมดนี้รัฐบาลส่วนกลางมีอำนาจปกครองครอบคลุมทั่วประเทศ
การติดต่อต่างประเทศ ในสมัยนี้มีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อังกฤษ ฝรั่งเศส รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต่างประเทศ คือ สิงคโปร์-ชวาอินเดีย-พม่า และยุโรป 2 ครั้ง
การติดต่อต่างประเทศ(ต่อ)การติดต่อต่างประเทศ(ต่อ) รัชกาลที่ 6ทรงนำประเทศเข้าร่วมฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลก รัชกาลที่ 8เกิดสงครามอินโดจีน สงครามเอเชียมหาบูรพา และ สงครามโลกครั้งที่สอง รัชกาลที่9การติดต่อต่างประเทศเป็นไปด้วยดีมาโดยตลอด พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯประเทศต่างๆเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี รัฐบาล ไทยขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ทำให้ ไทยได้รับประโยชน์ในด้านการพัฒนาประเทศหลายประการ
เศรษฐกิจ • รัชกาลที่ 4มีการเปิดการค้าเสรี ทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วมีระบบเงินตราใหม่ มีการจัดตั้งโรงกษาปต์ผลิตเงินเหรียญ บาท สลึง เฟื้องแทนเงินพดด้วง • รัชกาลที่ 5ยกเลิกการเก็บภาษีแบบเก่า มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ทำหน้าที่รวบรวมรายได้ของแผ่นดิน ต่อมายกฐานะเป็นกระทรวงการคลังนอกจากนี้ยังทรงช่วยการทำมาหากินของราษฎรด้วย โดยจัดตั้งหน่วยงาน เช่นกรมทดน้ำ กรมป่าไม้ กรมโลหะกิจฯลฯ และที่สำคัญมีการจัดตั้งธนาคารสำหรับเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนภายในราชอาณาจักร
เศรษฐกิจ (ต่อ) • ในรัชกาลที่ 7ไทยต้องเผชิญกับความผันแปรทางเศรษฐกิจมาโดยตลอด เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก แต่ประเทศไทยก็ผ่านปัญหาต่างๆมาได้โดยตลอด จนกระทั่งรัชกาลปัจจุบัน ไทยก็ยังเป็นประเทศหนึ่งในโลกที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา แต่อยู่ในฐานะที่เจริญกว่าประเทศในเอเชียอีกหลายประเทศ รัฐบาลที่บริหารประเทศต้องสร้างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้น เริ่มใช้ครั้งแรกในปีพ.ศ.๒๕๐๔ ปัจจุบันเป็นช่วงการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ ๙
การศึกษาและศิลปวิทยาการสมัยใหม่การศึกษาและศิลปวิทยาการสมัยใหม่ • รัชกาลที่ 4 มีพวกหมอศาสนาตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อสอนหนังสือเด็กไทยหลายแห่ง • รัชกาลที่ 5 โปรดให้ แต่งหนังสือสำหรับใช้สอน และจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรกคือที่วัดมหรรณพราม โรงเรียนสอนวิชาชีพต่างๆ ตั้งกรมศึกษาธิการดูแลการศึกษาโดยเฉพาะ ต่อมายกฐานะเป็นกระทรวงธรรมการ
ในรัชกาลที่ 5 มีการแต่งหนังสือแบบเรียนขึ้นสำหรับใช้สอนเรียกว่า แบบเรียนหลวง ประกอบด้วย มูลบทบรรพกิจ วาหนิตกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ การศึกษาและศิลปะวิทยาการสมัยใหม่(ต่อ)
การศึกษาและศิลปะวิทยาการสมัยใหม่(ต่อ)การศึกษาและศิลปะวิทยาการสมัยใหม่(ต่อ) • การติดต่อกับชาวตะวันตก ทำให้ศิลปะวิทยาการสมัยใหม่แพร่หลาย เข้ามา และมีผลดีต่อการพัฒนาบ้านเมืองเป็นอย่างมาก เช่น รัชกาลที่ 4 เริ่มมีสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษออก เผยแพร่ รัชกาลที่ 5 มีการสร้างถนนหนทาง การจัดการเดินรถราง สร้างทางรถไฟ สายแรกคือ กรุงเทพ-นครราชสีมา มีการจัดตั้งกรมไปรษณีย์-โทรเลข กรมทดน้ำ โรงพยาบาล
การศึกษาและศิลปวิทยาการสมัยใหม่(ต่อ)การศึกษาและศิลปวิทยาการสมัยใหม่(ต่อ) ในรัชกาลที่ 5มีการจัดตั้งหอสมุดสำหรับประชาชน และเปิดพิพิธภัณฑ์ให้คนทั่วไปเข้าชม ทำให้คนไทยในยุคนี้มีความรู้ กว้างขวางมากขึ้นกว่าแต่ก่อน และเริ่มสงสัยในความรู้เดิมที่สั่งสอนกันมา ทำให้ความศรัทธาในพระสงฆ์น้อยลง บทบาทของพระสงฆ์ลดลงมาก แต่ความเชื่อถือในโชคลางยังปรากฏอยู่ และสืบมาจนปัจจุบัน
สังคมไทย ประเพณีและวัฒนธรรม การแต่งกาย มีการออกกฎหมายประกาศห้ามแต่งกายไม่สมควร การเข้าเฝ้าเป็นทางการ โปรดให้ทำตามแบบตะวันตก แต่ถ้าเป็นการภายในให้เป็นตามแบบประเพณีเดิมคือหมอบกราบ ยกเลิกการโกนผมไว้ทุกข์ทั้งแผ่นดินเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคต มีการสร้างบ้านเรือนริมถนนหนทาง การก่อสร้างต่างๆทั้งของหลวง และราษฎรนิยมตามแบบตะวันตก สถานะทางสังคม เมื่อมีการเลิกทาส ไพร่มีสถานะเป็นคนสามัญทั่วไป เข้ารับราชการได้
สังคมไทย ประเพณีและวัฒนธรรม(ต่อ) ครอบครัว ในสังคมถือว่าพ่อบ้านคือผู้นำครอบครัว มีภริยาหลายคนไม่ เสียหาย เพราะเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาแสดงถึงฐานะ แต่ในรัชกาลที่ 6 ทรงออกกฎหมายให้มีภริยาได้ครั้งละ 1คน ถ้าจะเปลี่ยนแปลงต้อง หย่าร้างก่อนตามธรรมเนียมตะวันตก การใช้ศักราช เดิมใช้จุลศักราชตามแบบสมัยอยุธยา ในรัชกาลที่5 ทรงเปลี่ยนเป็นรัตนโกสินทร์ศกหรือ ร.ศ. และในรัชกาลที่ 6ทรง เปลี่ยนเป็นพุทธศักราช หรือ พ.ศ.
สังคมไทย ประเพณีและวัฒนธรรม(ต่อ) การใช้คำนำหน้าสตรีและเด็ก เดิมสตรีมีคำนำหน้าว่า อำแดง รัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนให้ใช้คำว่านางสาวและนางแทน ส่วนเด็กนั้น ให้เรียกเด็กชายและเด็กหญิงนำหน้าชื่อ และโปรดให้ออก พระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นด้วย ต่อมาหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว สังคมประเพณี ไทยแบบเดิมก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย มีการปรับปรุงพื้นฐานสังคมและ วัฒนธรรมไทยให้สอดคล้องกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
การศาสนาและศิลปวัฒนธรรมการศาสนาและศิลปวัฒนธรรม พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระมหากษัตริย์ไทยคือการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามีการสร้างวัดและบำรุงรักษาวัดที่มีมาแต่ก่อนให้เป็นศูนย์กลางแห่งจิตใจและศูนย์รวมแห่งชุมชนในทุกๆด้านเพราะวัดทำหน้าที่เป็นทั้งสถานศึกษาสถานพยาบาลที่พักคนเดินทางหรือที่พบปะสังสรรค์ของผู้คนในสังคมและยังเป็นบ่อเกิดแห่งศิลปกรรมทุกประเภทที่แสดงให้เห็นถึงค่านิยมภูมิปัญญาการสร้างสรรค์ของคนในชุมชนนั้นๆวัดมีความผูกพันกับคนในชุมชนมากในสมัยรัตนโกสินทร์พระพุทธศาสนาลัทธิหินยานอย่างลังกาวงศ์เจริญรุ่งเรืองเป็นศาสนาหลักของบ้านเมืองมาโดยตลอด
วัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวังวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง
วัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวังวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง
วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม