960 likes | 1.27k Views
ประสบการณ์การจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับการพัฒนาหลักสูตร. โดย ผศ . ดร . วิเชียร วรพุทธพร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต . ค . 2552. ระยะเริ่มรู้จักกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ.
E N D
ประสบการณ์การจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับการพัฒนาหลักสูตรประสบการณ์การจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับการพัฒนาหลักสูตร โดย ผศ. ดร.วิเชียร วรพุทธพร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต.ค. 2552
ระยะเริ่มรู้จักกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระยะเริ่มรู้จักกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ • คณะอนุกรรมการพัฒนาหลักสูตรสาขาอุตสาหกรรมเกษตร(Agro-Industry) ภายใต้คำสั่งจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.) • ประธานคณะอนุกรรมการฯ สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (รศ.ดร.สุคนธ์ชื่น ศรีงาม)
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา(National Qualifications Framework for Higher Education :NQF) • สกอ.เชิญผู้แทนต่างๆจากคณะอนุกรรมการพัฒนาหลักสูตรไปร่วมประชุมชี้แจงแนวคิดการจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา(NQF) • เรียกชื่อนี้ในระยะแรกซึ่งต่อมาเรียกชื่อใหม่ว่ากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualification Framework for Higher Education : TQF:HEd)
Workshop on NQF • สกอ.จัดประชุมสัมมนาที่ กทม. โดยเชิญ อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ มาประชุมรับทราบนโยบาย • คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์และกระผมจาก มข. เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย • ผู้แทนจากคณะอนุกรรมการพัฒนาหลักสูตร หน่วยงานละ 3-4 คน ไปร่วมรับฟังแนวคิดของการจัดทำNQFเพื่อการประกันคุณภาพของบัณฑิตที่คาดหวังและฝึกการเขียน
8 สาขานำร่องในการจัดทำNQF • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (มีสมาคมวิชาชีพ-สมาคมวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย: FoSTAT) • โลจิสติกส์ • พยาบาลศาสตร์ (มีสมาคมวิชาชีพ-สภาพยาบาล) • การท่องเที่ยวและโรงแรม • เทคโนโลยีชีวภาพ • ครุศาสาตร์/ศึกษาศาสตร์(มีสมาคมวิชาชีพ- คุรุสภา) • คอมพิวเตอร์ • วิทยาศาสตร์(เคมี)(ปัจจุบันมีสมาคมวิชาชีพ)
NQF ใรระยะเริ่มแรก • มีหลายประเทศได้ดำเนินการจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแล้ว รวมทั้งจากประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญของไทย อาทิ ประเทศมาเลเซีย (หนึ่งในภูมิภาคอาเซียน) • Malaysian Qualification Framework. (http://apps.emoe.gov.my/qad/nqf.html) • Hong Kong Qualification Framework. (http://www.hkqf.govt.hk/txte/HKQF.asp.)
องค์ประกอบที่สำคัญของNQFองค์ประกอบที่สำคัญของNQF 1.Program Specification (เดิมเรียกว่า ข้อกำหนดจำเพาะของหลักสูตร) 2.Course Specification (เดิมเรียกว่า ข้อกำหนดจำเพาะของรายวิชา) 3.Field Experience Specification (เดิมเรียกว่า ข้อกำหนดจำเพาะของประสบการณ์ภาคสนาม)
องค์ประกอบที่สำคัญของNQFองค์ประกอบที่สำคัญของNQF 3. Program SpecificationReport Semester Report, Annual Report, Full Program Report 4. Course Specification Report 5. Field Experience Specification Report
Case Studiesand Information • Example of Specification Showing Teaching Strategies and Assessment Procedures (Civil Engineering)ประเทศซาอุดิอาราเบีย (By Dr. Ian Allen) - Ethical and Moral Development - Knowledge - Cognitive Skills - Interpersonal Skills and Responsibility - Analytical and Communication Skills
The New ZealandNational Qualifications Framework • Field-Classification The classification system for the NQF is a hierarchy with three tiers, from most general to most specific, called field, subfield, and domain. -There are 17 fields, each with subfields (as at June 2005)
Field- Agriculture, Forestry and Fisheries • Sub-fields - Agriculture - Animal care and Handing - Forestry - Horticulture - Pest Management - Pork Production - etc.
Sub-fields: Agriculture Domains - Aerial Agrichemical Application - Agribusiness management - Apiculture - Cattle Farming - Dairy Farming - General Agriculture - etc. http:// www.nzqa.govt.nz/framework/explore/sub-field
Australian Qualification Framework • Australian Qualification Advisory Board • AQF Implementation Handbook, 7th Edition (http://www.aqf.edu.au/aboutaqf.htm)
FIJINATIONAL QUALIFICATIONS FRAMEWORK (FNCF) • Purposes of the Fiji National Qualifications Framework • The FNQF Development Process Phase 1: Development of Database Phase 2: Awareness Campaign Phase 3: NQF Model Presentation and Consultation Phase 4: FNQF Draft Model Development
Phase 5:The Development of the Fiji National Qualifications Framework Phase 6: Finalization and Implementation of the Fiji National Qualifications Framework
International standard classification of Education(ISCED) ของ UNESCO 1. Education 2. Humanities and Arts 3. Social Sciences Business and Law 4. Science 5. Engineering, Manufacturing and Construction 6. Agriculture 7. Health and Welfare 8. Services 9. Not known or Unspecified
Bologna Process and European Higher Education Area. (http://www.ond.vlaanderen.be/hogeronderwijs/bologna/about) • University and Regional Integration in the Higher Education Sector-Bologna Process, Qualification Framework and Credit Transfer (DIRECT) by Mr. Stephen James Adam • An Overview of the Bologna Reform Process • Qualifications Frameworks • Quality Assurance • Credits and Credit System-Mobility and recognition (ECTS)
อ้างถึงพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา 47 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยจึงจัดทำขึ้นเพื่อเป็นการประกันมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตและใช้เป็นหลักในการจัดทำมาตรฐานด้านต่างๆ ของการจัดการเรียนการสอนให้มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปรัชญาของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาปรัชญาของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา • การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน • จึงควรมีการกำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษาให้ชัดเจนถึงทักษะ ความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ ของบัณฑิตซึ่งเป็นผลผลิตของการจัดการศึกษา • เพื่อให้สามารถบริหารและจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้อย่างน่าเชื่อถือและมั่นใจว่าบัณฑิตจะมีมาตรฐานผลการเรียนรู้เทียบเคียงกันได้กับบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ
เพื่อเป็นการเชื่อมโยงระดับและจุดเน้นของการศึกษาให้เป็นระบบในระดับอุดมศึกษา เพื่อให้บุคคลได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ได้อย่างต่อเนื่องและหลากหลายตามหลักการศึกษาตลอดชีวิต และประกันได้ว่ามาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งมีความเท่าเทียมกันและเทียบเคียงได้กับมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษาที่ดีในต่างประเทศใช้เป็นกรอบอ้างอิงสำหรับผู้ประเมินการประกันคุณภาพภายนอกได้
ความหมายและองค์ประกอบของNQFความหมายและองค์ประกอบของNQF • หมายถึง กรอบที่แสดงโครงสร้างและลักษณะสำคัญของคุณวุฒิ และความต่อเนื่องเชื่อมโยงของแต่ละระดับการศึกษา ซึ่งมีหลักการและข้อกำหนดทั่วไปเกี่ยวกับกลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตที่คาดหวังในแต่ละคุณวุฒิ
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิยังได้แสดงเงื่อนไขหลักในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดคุณลักษณะของบัณฑิตตามที่คาดหวัง และเป็นกรอบที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียน รวมถึงผู้จัดการอุดมศึกษาได้มีเป้าหมายที่ชัดเจน สื่อสารถึงผู้ใช้และสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯองค์ประกอบของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ • ระดับและจุดเน้นทางการศึกษา ประกอบด้วยระดับการศึกษา 3 ระดับ ได้แก่ ระดับอนุปริญญา ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา และแบ่งตามระดับคุณวุฒิได้ 6 ระดับ ได้แก่ อนุปริญญา ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง และปริญญาเอก ตามลำดับ จุดเน้น 2 ส่วนสำคัญ คือ สายวิชาการ ซึ่งเน้นการวิจัยเป็นหลัก และสายวิชาชีพซึ่งเน้นความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ
กลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต(Domains of Learning) หมายถึง ข้อกำหนดขั้นต่ำเกี่ยวกับความคาดหวังที่จะให้บัณฑิตเรียนรู้ และสามารถทำได้หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วซึ่งต้องมีอย่างน้อย 5 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมเป็นการพัฒนานิสัยในการประพฤติอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ด้วยความรับผิดชอบทั้งในส่วนตนและส่วนรวม สามารถปรับ วิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในความขัดแย้งทางค่านิยม มีการพัฒนานิสัยและการปฏิบัติตนอย่างมีศีลธรรม ยึดฐานคิดทางศีลธรรมทั้งในเรื่องส่วนตัวและสังคม
2.ด้านความรู้เป็นความสามารถในการเข้าใจ การนึกคิดและการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความจริง หลักการ ทฤษฎี ตลอดจนกระบวนการต่างๆ 3. ด้านทักษะทางเชาวน์ปัญญาเป็นความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ และประยุกต์ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฎีและกระบวนการต่างๆ มาใช้ ในการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบเป็นความสามารถในการทำงานในกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีความสามารถในการวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นความสามารถ ในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการพูด การเขียน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงความสามารถในการใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติ
มาตรฐานผลการเรียนรู้ในแต่ละระดับเป็นการกำหนดความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะของบัณฑิตแต่ละระดับ โดยให้ผู้สำเร็จการศึกษาแสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ สมรรถนะ และทักษะในด้านต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในกลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ • การกำหนดชื่อปริญญาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญาของกระทรวงศึกษาธิการ • หน่วยกิตและระยะเวลาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
การรับรองผลการเรียนรู้และประสบการณ์ที่มีมาก่อนและการเทียบโอนผลการเรียนใช้หลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด • เงื่อนไขสู่ความสำเร็จ กลยุทธ์การสอนของอาจารย์ การจัดทำข้อกำหนดจำเพาะของหลักสูตรและข้อกำหนดจำเพาะของรายวิชาซึ่งเป็นการจัดทำแผนการเรียนการสอนที่ผู้สอนในทุกรายวิชาของหลักสูตร
ต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธวิธี การสอน และจะต้องมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา และการประเมินหลักสูตร เพื่อให้มั่นใจว่าบัณฑิตบรรลุ ผลการเรียนรู้ตามกลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนด
การตรวจสอบมาตรฐานคุณวุฒิเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบในระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง และการประเมินคุณภาพภายนอกเกี่ยวกับภาควิชาและหลักสูตร การประเมินหลักสูตรโดยนักศึกษาที่กำลังศึกษาและผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว รวมทั้งรายงานด้านทักษะของบัณฑิตซึ่งจัดทำโดยนายจ้าง หรือการตรวจสอบโดยสถาบันอื่นที่ให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษา
หลักสูตรใดที่ดำเนินการโดยใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน (โดยจัดทำข้อกำหนดเฉพาะของหลักสูตรและของรายวิชา (Program and Course Specifications))จะได้รับการขึ้นทะเบียน เพื่อเป็นการรับรอง มาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดม ศึกษาของประเทศไทย และใช้ประกอบการรายงานในการประกันคุณภาพภายในและการประกันคุณภาพภายนอกได้
เงื่อนไขการเรียนรู้(Conditions of Learning) • หลักสูตรและการบริหารจัดการหลักสูตร • ผู้เรียน • ผู้สอน • การเรียนการสอน • สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน • การประเมินผล
การจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารการจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร • รวบรวมข้อมูลคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ • ผลสำรวจการพัฒนาหลักสูตรสาขาอุตสาหกรรมเกษตร (พ.ศ.2543) • ผลการวิจัยของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2550) • ความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน คณาจารย์ผู้แทนสถาบันการศึกษา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หัวข้อตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯหัวข้อตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ 1. ชื่อสาขาวิชา 2. ชื่อปริญญา 3. หลักการและเหตุผล 4. ลัหษณะของสาขาวิชา 5. คุณลักษณะบัณทิตที่พึงประสงค์ 6. มาตรฐานผลการเรียนรู้ 7. องค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง 8. โครงสร้างหลักสูตร 9. เนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
10. เงื่อนไขการเรียนรู้ 11. การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ 12. คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาและการเทียบโอนผลการเรียนรู้ 13. อาจารย์และบุคลากรสนับสนุน 14. ทรัพยากรการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ 15. แนวทางในการพัฒนาอาจารย์ 16. การนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒสู่การปฏิบัติในหลักสูตร/โปรแกรม 17. การขึ้นทะเบียนหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ 18. กำหนดประกาศใช้กรอบมาตรบานคุณวุฒิฯ 19. กำหนดประกาศใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯในครั้งต่อไป 20. สถานที่ติดต่อเพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
กรณีศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้โดยรวม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร(ระดมสมองจากโครงการนำร่อง 4 ภูมิภาค เมื่อวันที่ 19 ก.ค.2551) 1. ผลลัพธ์ด้านจริยธรรม คุณธรรม จรรยาบรรณ 1.1 มีจรรยาบรรณในวิชาชีพนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (ข้อมูลจากสมาคมนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารแห่งประเทศไทย) 1.2 มีความซื่อสัตย์ สุจริต 1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.5 เคารพสิทธิและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
2. ผลลัพธ์ด้านความรู้กลุ่มเคมีอาหาร: 2.1 มีความรู้ความเข้าใจโครงสร้าง สมบัติทางเคมี และสมบัติเชิงหน้าที่ขององค์ประกอบอาหาร 2.2 มีความรู้ความ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขององค์ประกอบอาหาร ในระหว่างการเก็บวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป และการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์
2.3 มีความรู้ความเข้าใจหลักการและเทคนิคการวิเคราะห์อาหารโดยวิธีทางเคมีและการใช้เครื่องมือ 2.4 มีความรู้ความเข้าใจกลไกการทำงานและการใช้ประโยชน์ของวัตถุเจือปนอาหาร ตลอดจนผลกระทบจากการใช้ที่ไม่เหมาะสม 2.5 มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายทางเคมี ชนิด ปริมาณที่กำหนดโทษ การป้องกัน และการกำจัด
กลุ่มจุลชีววิทยาอาหาร:กลุ่มจุลชีววิทยาอาหาร: 2.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารจุลินทรีย์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร จุลินทรีย์ในอาหารเพื่อสุขภาพ จุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค 2.2 มีความรู้เรื่องมาตรฐานวิธีตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาในอาหารประเภทต่างๆ 2.3 มีความรู้เรื่องแหล่งที่มาของการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์และการควบคุม 2.4 มีความรู้ความเข้าใจในปัจจัย กระบวนการผลิตที่มีผลต่อจุลินทรีย์ในอาหาร
กลุ่มแปรรูปอาหาร: 2.1 มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการจัดการวัตถุดิบและน้ำใช้เพื่อการแปรรูป 2.2 มีความรู้ความเข้าใจหลักการถนอมอาหาร และกระบวนการแปรรูปอาหาร 2.3 มีความรู้ความเข้าใจปัจจัยการแปรรูปที่มีผลต่อคุณภาพของอาหาร 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับชนิด สมบัติ การเลือกใช้ภาชนะบรรจุ และวิธีการบรรจุ
2.5 มีความรู้ความเข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของอาหารระหว่างการเก็บรักษาและการขนส่งกระจายสินค้า 2.6 มีความรู้ความเข้าใจหลักการของเทคโนโลยีสะอาดในกระบวนการผลิตอาหาร 2.7 มีความรู้ความเข้าใจการวางผังโรงงานเบื้องต้น
กลุ่มวิศวกรรมอาหาร: 2.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานด้านสมดุลมวลและพลังงาน 2.2 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานด้านอุณหพลศาสตร์ 2.3 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานด้านการถ่ายโอนความร้อนและมวลสาร 2.4 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานด้านกลศาสตร์ของไหล 2.5 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและการทำงานของหน่วยปฏิบัติการทางวิศวกรรมอาหาร
กลุ่มประกันคุณภาพและสุขาภิบาล:กลุ่มประกันคุณภาพและสุขาภิบาล: 2.1 มีความรู้ความเข้าใจหลักการควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพ 2.2 มีความรู้เรื่องปัจจัยคุณภาพ 2.3 มีความรู้เรื่องวิธีการตรวจวัดปัจจัยคุณภาพด้านกายภาพและประสาทสัมผัส 2.4 มีความรู้ความเข้าใจหลักการและวิธีการทางสถิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการควบคุมคุณภาพ 2.5 มีความรู้ความเข้าใจหลักการและขั้นตอนการจัดทำระบบประกันคุณภาพต่างๆ
2.6 มีความรู้ความเข้าใจหลักปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร และการจัดการสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร 2.7 มีความรู้ความเข้าใจหลักการการจัดการน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม 2.8 มีความรู้ความเข้าใจหลักการและขั้นตอนการจัดทำระบบการจัดการความปลอดภัยอาหาร 2.9 มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายและข้อบังคับที่จำเป็นในการผลิตและจำหน่ายอาหารทั้งในและต่างประเทศ
กลุ่มวิจัย และฝึกงาน: 2.1 มีความรู้ความเข้าใจการวางแผนการวิจัย การออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและการแปลผล การวิจารณ์ และสรุปผลการทดลอง 2.2 มีความรู้ความเข้าใจหลักการเขียนเค้าโครงวิจัย (proposal) และการเขียนรายงานทางวิชาการ 2.3 มีความรู้ในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และ/หรือเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย 2.4 มีความรู้ในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และ/หรือเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับงานในสถานที่ฝึกงาน
3. ผลลัพธ์ด้านทักษะทางเชาวน์ปัญญา กลุ่มเคมีอาหาร: 3.1 สามารถใช้ความรู้ในการป้องกันหรือลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ระหว่างการเก็บรักษาและการแปรรูป 3.2 สามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์วิเคราะห์อย่างถูกต้อง 3.3 สามารถเลือกใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเคมีและชีวเคมีได้อย่างเหมาะสม 3.4 สามารถเลือกใช้วัตถุเจือปนอาหารได้อย่างเหมาะสม 3.5 สามารถเลือกวิธีการควบคุมอันตรายทางเคมีในอาหาร ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
กลุ่มจุลชีววิทยาอาหาร:กลุ่มจุลชีววิทยาอาหาร: 3.1 สามารถนำความรู้ด้านจุลชีววิทยาอาหารมาใช้ในการผลิตอาหารได้อย่างเหมาะสม 3.2 สามารถป้องกันการปนเปื้อน ลด ทำลาย หรือควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ ในระหว่างการผลิต การเก็บรักษา การขนย้ายและการจำหน่ายอาหาร ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย 3.3 สามารถเลือกวิธีการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาให้เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท 3.4 สามารถตรวจและประเมินการเสื่อมเสีย และอันตรายเนื่องจากจุลินทรีย์ในอาหาร
กลุ่มแปรรูปอาหาร: 3.1 สามารถจัดการวัตถุดิบ การผลิต การเก็บรักษา ขนส่ง และกระจายสินค้าได้อย่างเหมาะสม 3.2 สามารถเลือกใช้วิธีการถนอมอาหารและการแปรรูปอาหารที่เหมาะสมกับวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องการ 3.3 สามารถเลือกใช้ภาชนะบรรจุและวิธีการบรรจุที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ 3.4 สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านการแปรรูปอาหารกับองค์ความรู้อื่นในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารได้อย่างเหมาะสม
กลุ่มวิศวกรรมอาหาร: 3.1 สามารถวิเคราะห์และคำนวณการทำสมดุลมวลสาร สมดุลความร้อน และระบบการไหลในท่อ 3.2 สามารถวิเคราะห์และคำนวณการถ่ายโอนความร้อนและการถ่ายโอนมวลสาร 3.3 สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมอาหารกับองค์ความรู้อื่นในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารได้อย่างเหมาะสม