1 / 177

การบริหารงบประมาณ

การบริหารงบประมาณ. บรรยายโดย กองงบประมาณ. หัวข้อการบรรยาย. ระเบียบ กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง. อำนาจการบริหารงบประมาณ. แนวทางการบริหารงบประมาณของ ตร. การจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี. การปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี. การขอรับสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม.

jabir
Download Presentation

การบริหารงบประมาณ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบริหารงบประมาณ บรรยายโดย กองงบประมาณ

  2. หัวข้อการบรรยาย ระเบียบ กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง อำนาจการบริหารงบประมาณ แนวทางการบริหารงบประมาณของ ตร. การจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี การปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี การขอรับสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย

  3. วงจรงบประมาณ การจัดเตรียมงบประมาณ Reality การอนุมัติงบประมาณ การบริหารงบประมาณ

  4. การบริหารงบประมาณ หมายถึง การควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมาย ของ ตัวชี้วัดของ หน่วยงาน ผลผลิต กิจกรรม

  5. 2 3 4 5 1 กระบวนการบริหารงบประมาณ การขออนุมัติเงิน การจัดสรรเงิน การรายงานผล ตรวจสอบการใช้จ่าย จัดซื้อจัดจ้าง เบิกจ่ายเงิน กระบวนการบริหารงบประมาณ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน

  6. งบประมาณ งบประมาณแผ่นดิน แผนการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อใช้จ่ายดำเนินงาน ตามอำนาจหน้าที่ของรัฐบาล โดยแสดงแหล่งที่มาของรายรับ หรือ ทรัพยากรที่จะนำมาใช้จ่าย ตามแผนที่กำหนดไว้ด้วย งบประมาณรายจ่าย (เป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณแผ่นดิน) จำนวนเงินอย่างสูง ที่อนุญาตให้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ตามวัตถุประสงค์ และภายในระยะเวลา ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ( ม.4 แห่ง พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502)

  7. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงบประมาณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงบประมาณ 3 2 1 4 สำนักงบประมาณ กรม บัญชีกลาง สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ส่วน ราชการ

  8. หัวข้อการบรรยาย ระเบียบ กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง

  9. ระเบียบ กฎหมาย มติ ค.ร.ม. ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงบประมาณของ ตร. พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2554 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ.2551 พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543 ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2555 ระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.2534 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2549

  10. พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ของ ผบช. 14 มาตรา อำนาจหน้าที่ ของ ก.ต.ช. 16 + 18 การมอบอำนาจ ของผบ.ตร. 74

  11. พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ลักษณะ 2 การจัดระเบียบราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ • มาตรา 14 ผู้บัญชาการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ • บริหารราชการของกองบัญชาการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ ก.ต.ช. ก.ตร. และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ • ควบคุม กำกับ ดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่น ของกองบัญชาการให้เป็นไปตามกฎหมายกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ ก.ต.ช. ก.ตร. และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ • เป็นผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติในราชการทั่วไปของกองบัญชาการ • รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อ ผบ.ตร. ทุก 4 เดือน หรือตามระยะเวลาที่ ผบ.ตร. กำหนด

  12. พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ลักษณะ 2 การจัดระเบียบราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ • มาตรา 14 (ต่อ) • ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมายฯ และประกาศของทางราชการ ก.ต.ช. ก.ตร. และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใด หรือ มติคณะรัฐมนตรี ในเรื่องใดกำหนดให้การดำเนินการใดเป็นอำนาจของ อธิบดี หรือ ผบ.ตร. ให้ ผู้บัญชาการ มีอำนาจเช่นว่านั้นในฐานะเป็น อธิบดี หรือ ผบ.ตร. ในส่วน ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในกองบัญชาการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ต.ช. กำหนด

  13. พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ลักษณะ 3 คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ • มาตรา 16 ให้มีคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “ก.ต.ช.” มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ และกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบแบบแผน มติคณะรัฐมนตรี และกฏหมาย

  14. พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ลักษณะ 3 คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ • มาตรา 18 นอกจากอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 16 ให้ ก.ต.ช. มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ • ออกระเบียบ ประกาศ หรือมีมติในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการตำรวจ และวิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ ให้เป็นไปตามแบบแผน และนโยบายที่ ก.ต.ช. กำหนด • เสนอแนะให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 6 วรรคสอง • พิจารณาดำเนินการคัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้ง ผบ.ตร. ตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ

  15. พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ลักษณะ 3 คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ • มาตรา 18(ต่อ) • กำหนดกระบวนการและขั้นตอนในการกระจายอำนาจ ระหว่าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับ ตำรวจภูธรจังหวัด และราชการส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่ ก.ต.ช. เห็นว่ามีความจำเป็นและเหมาะสม • แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่ ก.ต.ช. มอบหมาย

  16. พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ลักษณะ 3 คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ • มาตรา 18(ต่อ) • ตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบาย การบริหารราชการตำรวจให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น ในการนี้ ให้มี คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ ของ กรุงเทพมหานครจังหวัด และสถานีตำรวจต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในเขตพื้นที่ดังกล่าว แล้วรายงาน ก.ต.ช. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป องค์ประกอบ การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา และอำนาจหน้าที่ของ กต.ตร. ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต.ช. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

  17. พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ลักษณะ 3 คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ • มาตรา 18(ต่อ) • ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายหรือตามที่กฎหมาย กำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.ต.ช. ระเบียบหรือประกาศตาม (1) เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

  18. พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 • มาตรา 74 เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อำนาจในการสั่งอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นใดที่ ผบ.ตร. จะพึงปฏิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผบ.ตร. อาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งรอง หรือ ผู้ช่วย หรือผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้างานถัดลงไปตามลำดับหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าหรือข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ในส่วนราชการหรือ ในหน่วยงานนั้นปฏิบัติราชการแทนได้

  19. พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 • มาตรา 74 (ต่อ) การมอบอำนาจตามวรรคหนึ่งให้ทำเป็นหนังสือ และให้ผู้มอบอำนาจมีหน้าที่ แนะนำ กำกับ และติดตามการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจ และในกรณีที่เห็นว่าผู้รับมอบอำนาจปฏิบัติราชการในเรื่องใดโดยไม่สมควร ให้มีอำนาจแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจนั้นได้ เมื่อมีการมอบอำนาจแล้ว ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น และจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากผู้มอบอำนาจไว้เป็นกรณีๆ ไป

  20. บทสรุป“พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547”กับ “การบริหารงบประมาณ” อำนาจการบริหารงบประมาณ

  21. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและ กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ.2551 มาตรา 15 ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพราะเหตุที่ส่วนราชการมิได้มอบอำนาจให้ ตามพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ หรือเพราะเหตุอื่นใด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงาน ต่อ ก.น.จ. โดยเร็ว และให้ ก.น.จ. เสนอแนะแนวทางแก้ไขต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติสั่งการต่อไป

  22. บทสรุปพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการพ.ศ.2551กับ “การบริหารงบประมาณ” อำนาจการบริหารงบประมาณ

  23. พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543 มาตรา 4 งบประมาณรายจ่ายจำนวนเงินอย่างสูง ที่อนุญาตให้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพัน ได้ตามวัตถุประสงค์ และภายในระยะเวลาที่กำหนด ไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ปีงบประมาณระยะเวลาตั้งแต่ 1 ต.ค.ของปีหนึ่ง ถึง 30 ก.ย.ของปี ถัดไป และให้ใช้ปี พ.ศ.ถัดไปเป็นชื่อปีงบประมาณ เงินประจำงวด ส่วนหนึ่งของงบประมาณรายจ่ายที่แบ่งสรรให้จ่าย หรือให้ก่อหนี้ผูกพันในระยะเวลาหนึ่ง

  24. พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543 หมวด 3 การจัดทำงบประมาณ มาตรา 16 ถ้า พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่ผู้อำนวยการกำหนดโดยอนุมัติ นายกรัฐมนตรี

  25. พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543 หมวด 3 การจัดทำงบประมาณ มาตรา 17 ในกรณีจำเป็นจะต้องจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี คณะรัฐมนตรี อาจเสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ต่อรัฐสภาได้ และให้แสดงถึงเงินที่พึงได้มาสำหรับจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่ขอตั้งด้วย การจัดทำงบประมาณเพิ่มเติม ให้เป็นไปตามวิธีการที่ผู้อำนวยการกำหนด

  26. พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543 หมวด 4 การโอนงบประมาณรายจ่าย มาตรา 19 รายจ่ายที่กำหนดไว้ในรายการใด สำหรับส่วนราชการตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ จะโอนหรือนำไปใช้ ในรายการอื่นมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการแต่ผู้อำนวยการจะอนุญาตมิได้ในกรณีที่เป็นผลให้เพิ่มรายจ่ายประเภท เงินราชการลับ หรือโครงการใหม่ เว้นแต่ได้รับอนุมัติจาก คณะรัฐมนตรี รายจ่ายรายการต่างๆ ที่กำหนดไว้ในงบกลาง ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจจัดสรรให้ส่วนราชการ เบิกจ่ายโดยตรงฯ

  27. สาระสำคัญ มาตรา 19 พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543

  28. สาระสำคัญ มาตรา 19 การโอนงบประมาณที่ต้องขออนุมัติคณะรัฐมนตรี เพิ่มเงินราชการลับ เป็นงานหรือโครงการใหม่ โอนข้ามแผนงาน พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543

  29. พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543 หมวด 5 การควบคุมงบประมาณ มาตรา 23 ส่วนราชการจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้เฉพาะตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ และห้ามมิให้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันฯ จนกว่าจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว รายจ่ายใดมีจำนวน และระยะเวลาการจ่ายเงินที่แน่นอน ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะกำหนดให้ส่วนราชการจ่ายเงินโดยไม่ต้องขออนุมัติเงินประจำงวดก็ได้

  30. พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543 หมวด 5 การควบคุมงบประมาณ มาตรา 23 (ต่อ) เมื่อ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ใช้บังคับแล้ว ให้สำนักงบประมาณ รวบรวมรายการงบประมาณรายจ่ายซึ่งจะต้องก่อหนี้ผูกพัน และวงเงินที่คาดว่าจะต้องก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อๆ ไป พร้อมทั้งจำนวนเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด เสนอให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันภายใน 60 วันนับแต่วันที่ พ.ร.บ.ใช้บังคับ และเมื่อ คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว ให้ส่วนราชการฯ ดำเนินการตามระเบียบที่ผู้อำนวยการกำหนด ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

  31. พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543 หมวด 5 การควบคุมงบประมาณ มาตรา 23 (ต่อ) ในกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วน และมิใช่กรณีตามวรรคสอง หรือวรรคสาม คณะรัฐมนตรี มีอำนาจอนุมัติให้ส่วนราชการฯ จ่ายเงินหรือ ก่อหนี้ผูกพัน ตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ก่อนได้รับอนุมัติเงินประจำงวด หรืออนุมัติให้ส่วนราชการ ก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าหรือนอกเหนือ ไปจากที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ เพิ่มเติมได้

  32. สาระสำคัญ มาตรา 23 การควบคุมงบประมาณ ห้ามจ่ายเงิน/ก่อหนี้ผูกพันก่อนได้รับเงินประจำงวด งบผูกพัน ต้องให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันก่อน และต้องปฏิบัติตามระเบียบที่สำนักงบประมาณกำหนด กรณีจำเป็นและเร่งด่วน คณะรัฐมนตรี มีอำนาจอนุมัติให้ส่วนราชการ ก่อหนี้ผูกพันก่อนได้รับเงินประจำงวด หรือเกินกว่า พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543

  33. การก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ งบประมาณทั้งสิ้น 150 ล้านบาท ผูกพันปีงบประมาณ 2557 - 2559 2558 2559 2557 30 ล้านบาท 80 ล้านบาท 40 ล้านบาท ไม่น้อยกว่า 20%

  34. ระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ข้อ 4 เมื่อคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติรายการและวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณแล้ว ให้ส่วนราชการฯ ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ รายการครุภัณฑ์ ที่ดินหรือสิ่งก่อสร้าง ให้เสนอผลการจัดซื้อจัดจ้าง ที่ได้ดำเนินการแล้ว ให้สำนักงบประมาณพิจารณาความเหมาะสมของราคา ก่อนทำสัญญาก่อหนี้ผูกพัน เว้นแต่เป็นรายการ ที่สำนักงบประมาณ ได้ให้ความเห็นชอบความเหมาะสมของราคาแล้ว

  35. ระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ข้อ 4 (ต่อ) รายการก่อหนี้ผูกพันซึ่งเป็นรายจ่ายประจำ ในงบดำเนินงาน งบเงินอุดหนุน หรืองบรายจ่ายอื่น ให้ดำเนินการก่อหนี้ผูกพันภายในวงเงิน ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข หรือวิธีปฏิบัติที่กระทรวงการคลังกำหนด รวมทั้ง กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการ โดยให้คำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด

  36. ระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ข้อ 5 การเสนอให้สำนักงบประมาณพิจารณาความเหมาะสมของราคา ตามข้อ 4 สำหรับรายการครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ไม่ว่าจะเบิกจ่ายในหมวดรายจ่ายใด ให้ส่วนราชการฯ เสนอรายละเอียดประกอบ ดังนี้ รายการครุภัณฑ์แต่ละรายการ ให้ระบุราคากลางและคุณลักษณะเฉพาะ ของแต่ละรายการที่กำหนดไว้

  37. ระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ข้อ 5 (ต่อ) รายการที่ดิน ให้ระบุราคากลางที่กำหนดไว้ เนื้อที่ของที่ดิน และแผนผังสังเขปของที่ดินแต่ละรายการ จังหวัด อำเภอ และตำบล ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ดิน รวมทั้งราคากลางของที่ดินซึ่ง กรมที่ดินเป็นผู้ประมาณการ ราคาที่ดินที่ซื้อขายกัน ในท้องตลาด ในบริเวณและระยะเวลาใกล้เคียง และราคาที่ดินซึ่งทางราชการประเมินเพื่อเสียภาษี

  38. ระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ข้อ 5 (ต่อ) รายการก่อสร้าง ให้ระบุประเภทของสิ่งก่อสร้าง ราคากลางที่กำหนดไว้ แบบรูปและรายการก่อสร้าง หรือรายละเอียดอื่นใด ที่จะเป็นประโยชน์ในการพิจารณา ของสำนักงบประมาณ เช่น ขนาด หรือ เนื้อที่ของอาคารที่จะก่อสร้าง เว้นแต่สิ่งก่อสร้างนั้น ๆ เป็นสิ่งก่อสร้างที่สำนักงบประมาณได้กำหนดแบบแปลนมาตรฐานขึ้นไว้หรือส่วนราชการได้กำหนดแบบแปลนมาตรฐาน ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณแล้ว ไม่ต้องส่งแบบรูปและรายการก่อสร้างให้สำนักงบประมาณ

  39. ระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ข้อ 6 เมื่อได้รับความเห็นชอบเกี่ยวกับความเหมาะสมของราคาจากสำนักงบประมาณแล้ว ให้ส่วนราชการฯ ดำเนินการทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันตามวงเงิน และรายการที่สำนักงบประมาณกำหนด วงเงินและรายละเอียดที่สำนักงบประมาณได้ให้ความเห็นชอบแล้วจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขมิได้ เว้นแต่จะได้รับความตกลงจากสำนักงบประมาณ

  40. ระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ข้อ 7 ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรายการ วงเงิน ระยะเวลา หรือรายละเอียดของรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ส่วนราชการฯ ดำเนินการดังนี้ การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของรายการโดยไม่เพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพัน ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ การขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันโดยไม่เพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพัน ให้ เสนอขออนุมัติต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และรายงานสำนักงบประมาณทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติ

  41. ระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ข้อ 7 (ต่อ) การเปลี่ยนแปลงรายการ หรือการเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ให้เสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี โดยต้องส่งผลการจัดซื้อจัดจ้าง หรือรายละเอียดอื่นใดที่เกี่ยวข้องให้สำนักงบประมาณพิจารณา เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วย ให้สำนักงบประมาณมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข หรือวิธีปฏิบัติ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของรายการก่อหนี้ผูกพันตาม (1) ได้ตามความเหมาะสม

  42. ระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 สาระสำคัญ ต้องได้รับอนุมัติ รายการ และวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปี จากคณะรัฐมนตรีก่อน รายจ่ายประจำ ก่อหนี้ผูกพันภายในวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ งบลงทุน เสนอผลการจัดซื้อจัดจ้าง ให้สำนักงบประมาณพิจารณาความเหมาะสมของราคา ก่อนทำสัญญาก่อหนี้ผูกพัน • ครุภัณฑ์ ราคากลาง และคุณลักษณะเฉพาะ • ที่ดิน ราคากลาง ราคาประเมินกรมที่ดิน ราคาซื้อขายท้องตลาด เนื้อที่ แผนผัง • สิ่งก่อสร้าง ราคากลาง แบบรูปรายการ ยกเว้น แบบมาตรฐานสำนักงบประมาณ หรือของส่วนราชการที่สำนักให้ความเห็นชอบแล้ว เปลี่ยนแปลงรายการ วงเงิน ระยะเวลา รายละเอียดรายการ ต้องขออนุมัติ • คณะรัฐมนตรี เปลี่ยนแปลงรายการ เพิ่มวงเงิน • สำนักงบประมาณ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดรายการ ไม่เพิ่มวงเงิน • รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ขยายเวลา ไม่เพิ่มวงเงิน • (ต้องรายงานสำนักงบประมาณทราบ)

  43. ขั้นตอนการดำเนินงาน สำหรับ รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ร.บ.งบประมาณฯ ประกาศใช้ สำนักงบประมาณ เสนอ ค.ร.ม. อนุมัติ ภายใน 60 วัน ค.ร.ม. อนุมัติ รายการ และ วงเงิน รายจ่ายประจำ งบลงทุน ทำสัญญาก่อหนี้ผูกพัน เสนอผลจัดซื้อจัดจ้างให้ สำนักงบประมาณพิจารณา ความเหมาะสมราคา และรายละเอียดประกอบ สำนักงบประมาณ เห็นชอบ

  44. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2555 หลักการสำคัญ... หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติทั่วไปในการบริหารงบประมาณ การบริหารงบประมาณรายจ่าย สำหรับส่วนราชการ การบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง การรายงานผล

  45. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2555 หลักการสำคัญ มีความสอดคล้องกับระบบและวิธีการจัดการงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ กำหนดวิธีการจัดสรรงบประมาณตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีและเพิ่มเติม รวมถึงการโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย เพื่อให้ใช้จ่ายได้อย่างรวดเร็ว เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า กำหนดการมอบอำนาจและความรับผิดชอบให้กับหัวหน้าส่วนราชการ ในการบริหารงบประมาณได้อย่างยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง กำหนดให้ส่วนราชการ บริหารงบประมาณรายจ่ายให้บรรลุเป้าหมายและ ผลสัมฤทธิ์ของงาน ตามแผนงานและแผนงานบูรณาการที่กำหนดไว้

  46. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2555 หลักการสำคัญ • กำหนดให้มีเครื่องมือในการบริหารงบประมาณ - การจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ - การจัดทำและรับส่งข้อมูลด้วยระบบอิเลคทรอนิคส์ - การรายงานผล - การจัดทำค่าใช้จ่ายต่อหน่วย • กำหนดให้การบริหารงบประมาณสอดคล้องกับหลักการของธรรมาภิบาล คือ ใช้จ่ายได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้ และ เปิดเผยต่อสาธารณะได้

  47. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2555 ข้อ 4คำนิยาม “การจัดสรรงบประมาณ” หมายความว่า การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้ส่วนราชการฯ ใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพัน ทั้งนี้อาจดำเนินการโดยใช้การอนุมัติเงินประจำงวดหรือโดยวิธีการอื่นใดตามที่สำนักงบประมาณกำหนด “เป้าหมายการให้บริการกระทรวง” หมายความว่า เป้าหมายการให้บริการกระทรวงตามเอกสารประกอบพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือที่กำหนดขึ้นใหม่ในระหว่างปีงบประมาณ

  48. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2555 ข้อ 4คำนิยาม(ต่อ) “แผนงาน” หมายความว่า แผนงานที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือที่กำหนดขึ้นใหม่ในระหว่างปีงบประมาณ “ผลผลิต” หมายความว่า ผลผลิตที่กำหนดไว้ในเอกสารประกอบ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือที่กำหนดขึ้นใหม่ในระหว่างปีงบประมาณ

  49. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2555 ข้อ 4คำนิยาม(ต่อ) “โครงการ” หมายความว่า ที่กำหนดไว้ในเอกสารประกอบ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือที่กำหนดขึ้นใหม่ในระหว่างปีงบประมาณ “งบรายจ่าย” หมายความว่า กลุ่มวัตถุประสงค์ของรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายตามหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ

  50. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2555 ข้อ 4คำนิยาม(ต่อ) “แผนการปฏิบัติงาน” หมายความว่า แผนการปฏิบัติงานของส่วนราชการฯ ในรอบปีงบประมาณ “แผนการใช้จ่ายงบประมาณ” หมายความว่า แผนแสดงรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายสำหรับส่วนราชการฯ เพื่อดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติงาน ในรอบปีงบประมาณ

More Related