1 / 24

1 กุมภาพันธ์ 2551

การรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยง เพื่อการดำเนินธุรกิจ อย่างต่อเนื่อง. 1 กุมภาพันธ์ 2551. วัตถุประสงค์และที่มา. - ปัจจุบันปรากฏเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจในหลายรูปแบบ

nishan
Download Presentation

1 กุมภาพันธ์ 2551

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยง เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง 1 กุมภาพันธ์ 2551

  2. วัตถุประสงค์และที่มา - ปัจจุบันปรากฏเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจในหลายรูปแบบ - เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ประกอบธุรกิจมีระบบงานที่เพียงพอในการป้องกันและบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวอย่างเพียงพอ • สำนักงานจึงได้ยกร่างหลักการขึ้น 2 ส่วน 1) ข้อกำหนดขั้นต่ำให้ผู้ประกอบธุรกิจนำไปถือปฏิบัติ 2) แนวทางปฏิบัติ (guidelines) เพื่อให้นำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมของขนาดและความซับซ้อนของบริษัท

  3. การกำหนดนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจการกำหนดนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management) การประเมินความเสี่ยงจากเหตุการณ์ฉุกเฉิน การจัดทำแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง(Business Continuity Plan) การทดสอบ ทบทวน และตรวจสอบ การรายงานและจัดเก็บข้อมูล

  4. 1. การกำหนดนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ 1. การกำหนดนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) - บริษัทต้องจัดให้มีการกำหนดนโยบาย BCM ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ซึ่งรวมถึง: - การจัดสรรทรัพยากร/งบประมาณเพื่อรองรับนโยบาย BCM - การจัดระบบควบคุมและติดตามการปฏิบัติงานให้เป็นไปตาม นโยบาย BCM แนวทางปฏิบัติ

  5. 2. จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงจากเหตุการณ์ฉุกเฉิ น 2. การประเมินความเสี่ยงจากเหตุการณ์ฉุกเฉิน - บริษัทจะต้องระบุงานที่สำคัญและประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่งานสำคัญจะหยุดชะงักจากเหตุฉุกเฉินวิเคราะห์ผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจ และประเมินความเสียหายจากการหยุดชะงักของงานสำคัญ แนวทางปฏิบัติ

  6. 3. จัดทำแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง(BCP) 3. การจัดทำแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง(BCP) - บริษัทต้องจัดทำแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ให้ครอบคลุมงานที่สำคัญทุกด้าน รวมถึงงานสำคัญที่บริษัทได้มีการ outsource ให้ผู้บริการจากภายนอกด้วย - โดย BCP จะต้องรวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานและผู้รับผิดชอบเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในแต่ละกรณีอย่างชัดเจน และ - วิธีการและช่องทางติดต่อสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในภายนอก แนวทางปฏิบัติ

  7. 4. จัดให้มีการทดสอบ ทบทวน และตรวจสอบแผน BCP 4. การทดสอบ ทบทวน และตรวจสอบแผน BCP - บริษัทจะต้องจัดการทดสอบและทบทวน BCP อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ - บริษัทต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอิสระเป็นผู้ประเมินผลทดสอบ และรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการบริษัทหรือคณะทำงาน - บริษัทจะต้องจัดเก็บเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบและการทบทวนแผนให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน - บริษัทต้องปรับปรุงข้อมูลของผู้ติดต่อให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ แนวทางปฏิบัติ

  8. 5. การรายงานหน่วยงานกำกับดูแล 5. การรายงานและจัดเก็บข้อมูล - กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินบริษัทจะต้องแจ้งให้สำนักงานทราบในโอกาสแรกที่ทำได้แต่ไม่เกินวันทำการถัดจาดวันที่เกิดการหยุดชะงักของงานสำคัญ - บริษัทต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ในลักษณะที่พร้อมให้สำนักงานเข้าตรวจสอบได้โดยเร็ว แนวทางปฏิบัติ

  9. แนวทางปฏิบัติ Management responsibility - คณะกรรมการบริษัทจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์และนโยบาย - ในการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณ และการจัดให้มีการติดตามการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบาย คณะกรรมการบริษัทอาจแต่งตั้งคณะทำงานเป็นผู้รับผิดชอบด้านการปฏิบัติการได้ กลับ

  10. แนวทางปฏิบัติ Major operation disruption • บริษัทจะต้องจัดให้มีการระบุงานที่สำคัญและประเมินความเสี่ยง โอกาส และผลกระทบที่งานสำคัญจะหยุดชะงักจากเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น โดยบริษัทควรดำเนินการดังกล่าวอย่างน้อยปีละครั้ง 1) ระบุงานที่สำคัญ: บริษัทควรคัดเลือกงานที่หากเกิดการหยุดชะงักจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อลูกค้า การดำเนินงาน ชื่อเสียง หรือสถานะทางการเงินของบริษัท

  11. แนวทางปฏิบัติ Major operation disruption (cont) 2) ประเมินความเสี่ยง: บริษัทต้องประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่งานสำคัญจะหยุดชะงักและก่อให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบทางธุรกิจ โดยควรระบุเหตุฉุกเฉินและผลกระทบทางธุรกิจ ทั้งในระยะสั้น ระยะปลานกลาง และระยะยาว 3) วิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ: บริษัทต้องวิเคราะห์ผลกระทบและประเมินความเสียหายจากการหยุดชะงัก เพื่อจัดลำดับความสำคัญของงาน และจัดสรรทรัพยากรในการบริหารแผน BCP

  12. แนวทางปฏิบัติ 4) Recovery objective: - บริษัทควรกำหนดระยะเวลาการกู้ระบบงานคืนสู่สภาพปกติ (recovery time objectives) และจัดลำดับการกู้คืนงานที่สำคัญทุกงานให้เหมาะสมกับผลกระทบที่อาจจะเกิด - บริษัทควรพิจารณาประเภทข้อมูลล่าสุดที่จะกู้คืน เพื่อใช้ในการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง - กรณีที่มีการ outsource ระบบงานบริษัทควรประสานกับผู้ให้บริการในการกำหนดระยะเวลาการกู้ระบบงานและชุดข้อมูล - เนื่องจากการกำหนดระยะเวลาการกู้คืนระบบงานงานและชุดข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดปริมาณทรัพยากร จึงควรได้รับความเห็นชอบจากผู้ที่ได้รับมอบหมาย กลับ

  13. แนวทางปฏิบัติ Business continuity plan - บริษัทต้องจัดให้มี BCP ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่ได้รับความเห็นชอบ และควรเก็บไว้ทั้งในและนอกสถานที่ทำการ โดย BCP ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้ 1) ขั้นตอนการปฏิบัติงานและผู้รับผิดชอบ 2) วิธีและช่องทางติดต่อสื่อสาร 3) ทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน 4) การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติงานสำรอง

  14. แผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง(Business Continuity Plan) ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผู้รับผิดชอบ ผู้ที่เกี่ยวข้อง การติดต่อ ภายใน/ภายนอก ทรัพยากร ระบบ และอุปกรณ์ สถานที่ปฏิบัติงาน ข้อมูล

  15. แนวทางปฏิบัติ Business continuity plan 1) ขั้นตอนการปฏิบัติงานและผู้รับผิดชอบ บริษัทต้องกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานแต่ละรายอย่างชัดเจน ประกอบกับรายละเอียดวิธีปฏิบัติงานที่สามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้ เช่น อะไร อย่างไร เมื่อไรและที่ไหน

  16. แนวทางปฏิบัติ Business continuity plan 2) วิธีและช่องทางติดต่อสื่อสาร - บริษัทต้องกำหนดวิธีการและช่องทางติดต่อสื่อสาร รายชื่อผู้เกี่ยวข้อง ผู้รับผิดชอบ และรายละเอียดข้อมูลที่จะเปิดเผยแก่ผู้เกี่ยวข้อง - บริษัทต้องจัดทำแผนผังการติดต่อพนักงาน รายชื่อลูกค้า ผู้ให้บริการหลักและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ รวมทั้งข้อมูลช่องทางในการติดต่อ - บริษัทต้องปรับปรุงรายชื่อและข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

  17. แนวทางปฏิบัติ Business continuity plan 3) ทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน เพื่อให้ BCP มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นบริษัทอาจกำหนดการจัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานเพิ่มเติม เช่น การจัดหาหรือกำหนดบุคลากรที่จะปฏิบัติหน้าที่แทนทั้งระดับงานและผู้บริหาร แหล่งเงินทุน อุปกรณ์

  18. แนวทางปฏิบัติ Business continuity plan 4) การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติงานสำรอง บริษัทควรมีศูนย์สำรองเพื่อรองรับการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง - ศูนย์ดังกล่าวไม่ควรใช้สาธารณูปโภคจากแหล่งเดียวกันกับสถานที่หลัก - ศูนย์สำรองควรมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานทันที่ที่เกิดเหตุหรือภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ บริษัทอาจไม่จำเป็นต้องจัดให้มีศูนย์สำรอง แต่ควรมีแนวทางอื่นที่สามารถรองรับการดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้

  19. แนวทางปฏิบัติ Communication - บริษัทต้องวางแผนการติดต่อสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกให้สอดคล้องกับผลกระทบที่เกิด เพื่อป้องกันและลดความตระหนกของผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชน - บริษัทต้องแจ้งหรือประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบถึงเหตุฉุกเฉิน ช่องทางการติดต่อสื่อสาร และมาตรการดำเนินการของบริษัท รวมทั้งสื่อสารความคืบหน้าของการดำเนินการหากเกิดเหตุฉุกเฉินเป็นเวลานาน กลับ

  20. แนวทางปฏิบัติ Training, Exercise - บริษัทควรจัดให้มีการอบรมและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ BCP สำหรับผู้เกี่ยวข้อง - บริษัทต้องจัดให้มีการทดสอบ BCP อย่างน้อยปีละครั้ง ในเรื่อง ดังนี้ - ขั้นตอนการติดต่อสื่อสารและความถูกต้องของรายชื่อและข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อ - ขั้นตอนการอพยพพนักงานและการเคลื่อนย้ายพนักงาน - ขั้นตอนการปฏิบัติงานตั้งแต่ต้นจนจบของงานสำคัญ - ความพร้อมของระบบคอมพิวเตอร์ และการกู้ข้อมูลสำคัญ - ความพร้อมของศูนย์ระบบงานสำรอง (ถ้ามี) - และการทดสอบกับองค์กรภายนอก

  21. แนวทางปฏิบัติ Auditing - บริษัทต้องจัดให้มีหน่วยงานอิสระทำการประเมินผลการทดสอบ BCP และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทหรือคณะทำงานที่ได้รับมอบหมาย - บริษัทต้องจัดให้มีการทบทวน BCP ตามผลการประเมิน - บริษัทต้องติดตามและประเมินผล BCP ของผู้ให้บริการหลัก โดยบริษัทอาจเข้าร่วมทดสอบ ร่วมสังเกตการณ์ หรือให้ผู้บริการหลักแจ้งผลการทดสอบ BCP มายังบริษัทได้ กลับ

  22. แนวทางปฏิบัติ การรายงานและจัดเก็บข้อมูล • กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินที่มีผลกระทบต่อลูกค้าอย่างมีนัยสำคัญ บริษัทต้องแจ้งสำนักงานในโอกาสแรกและไม่เกินวันทำการถัดไป พร้อมทั้งรายละเอียดของเหตุการณ์ ขั้นตอนการดำเนินการ และระยะเวลาที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหา • นอกจากนี้ บริษัทควรแจ้งให้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องรับทราบด้วย เช่น ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดอนุพันธ์ - บริษัทต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินตลอดจนการทดสอบ การประเมินผลและการทบทวนแผนให้ครบถ้วนเป็นระยะเวลา 5 ปี กลับ

  23. ข้อมูลเพิ่มเติม • International Organisation of Securities Commission (IOSCO) www.iosco.org • Business Continuity Institute(BCI) www.thebci.org • Bank of Thailand • www.bot.or.th

  24. Q&A

More Related