1 / 15

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2555

ทิศทางพลังงานไทย ปี 2556. นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน. วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2555.

seamus
Download Presentation

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2555

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทิศทางพลังงานไทย ปี 2556 นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2555

  2. 1. ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ เพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจพลังงานของภูมิภาคโดยใช้ความได้เปรียบเชิงภูมิยุทธศาสตร์ 3.กำกับราคาพลังงานให้มีราคาเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่ง และส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน นโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล(แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554) 2. สร้างเสริมความมั่นคงทางพลังงาน โดยแสวงหาและพัฒนาแหล่งพลังงานและระบบไฟฟ้าจากทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งให้มีการกระจายแหล่งและประเภทพลังงานให้มีความหลากหลาย เหมาะสม และยั่งยืน 4. ส่งเสริมการผลิต การใช้ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยตั้งเป้าหมายให้สามารถทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ภายใน 10 ปี ทั้งนี้ ให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร 5. ส่งเสริมและผลักดันการอนุรักษ์พลังงานอย่างเต็มรูปแบบ โดยลดระดับการใช้พลังงานต่อผลผลิตลงร้อยละ 25 ภายใน 20 ปี และมีการพัฒนาอย่างครบวงจร ส่งเสริมการใช้อุปกรณ์และอาคารสถานที่ที่มีประสิทธิภาพสูง ส่งเสริมกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาดเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกและแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนสร้างจิตสำนึกของผู้บริโภคในการใช้พลังงานอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพให้เป็นระบบจริงจังและต่อเนื่องทั้งภาคการผลิต ภาคการขนส่ง และภาคครัวเรือน

  3. ทิศทางการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานในปี 2556 มุ่งเน้นโครงการสำคัญตามนโยบายพลังงานของรัฐบาล

  4. ด้านโครงสร้างพื้นฐานพลังงานด้านโครงสร้างพื้นฐานพลังงาน โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกเส้นที่ 4 • การก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกเส้นที่ 4 จาก LNG Receiving Terminal อำเภอมาบพุด จังหวัดระยอง ไปยังอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี • ความสามารถสูงสุดในการส่งก๊าซฯ 1,400 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน • งานก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซฯ เส้นที่ 4 (Mainline) คาดว่าจะแล้วเสร็จไตรมาส 4/ 2556 LNG Receiving Terminal ระยะที่ 2 • การก่อสร้างท่าเทียบเรือ • การก่อสร้างถังเก็บ LNG ขนาด 160,000 ลบ.ม. จำนวน 2 ถัง • การก่อสร้างหน่วยแปลงสภาพ LNG ขนาดกำลังผลิต 5 ล้านตันต่อปี (ประมาณ 700 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน) • ระยะเวลาในการก่อสร้างโครงการประมาณ 5 ปี

  5. ด้านโครงสร้างพื้นฐานพลังงานด้านโครงสร้างพื้นฐานพลังงาน การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ • จัดทำรายละเอียดรูปแบบการลงทุนท่อขนส่งน้ำมัน • กำหนดแนวทางการจัดตั้งศูนย์กลางการจ่ายน้ำมันหลักในแต่ละภูมิภาค • จากโรงกลั่นสู่คลังน้ำมันหลัก • คลังในกรุงเทพชั้นนอกและภาคกลางโดยท่อ • คลังในภาคตะวันตกและภาคใต้โดยเรือ • จากคลังน้ำมันหลักสู่คลังน้ำมันภูมิภาค • คลังในภาคเหนือ และภาคอีสานโดยท่อ โครงการก่อสร้าง สายส่งไฟฟ้าแรงสูง • โครงการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู และขอนแก่น เพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการใน สปป.ลาว • โครงการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธรและอำนาจเจริญ เพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการใน สปป.ลาว • โครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานระยะที่ ๒ • โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า

  6. ด้านความมั่นคงทางพลังงานด้านความมั่นคงทางพลังงาน การเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 • เตรียมการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 • สร้างความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณชน เกี่ยวกับการจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ และบทบาทการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ การสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ • กำหนดเป้าหมายการสำรองทั้งหมดที่ 90 วัน • ตั้งองค์กรเฉพาะเพื่อบริหารจัดการน้ำมันสำรองเชิงยุทธศาสตร์ • เป็นเครื่องมือของรัฐบาลสำหรับบริหารจัดการในภาวะวิกฤติที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำมัน • สร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนว่าประเทศจะมีน้ำมันใช้อย่างเพียงพอไม่ขาดแคลน ไม่กระทบต่อการผลิตในภาคต่างๆ

  7. ด้านความมั่นคงทางพลังงานด้านความมั่นคงทางพลังงาน • กำหนดเริ่มส่งก๊าซฯในช่วงเดือนเมษายน 2556 ถึง ธันวาคม 2556 • ปริมาณสำรองเบื้องต้น 1.4 ล้านล้าน ลบ.ฟุต • อายุสัญญา 30 ปี นับจากวันที่เริ่มส่งก๊าซฯ • จุดส่งมอบชายแดนไทย-เมียนมาร์ บ้านอิต่อง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี การนำเข้าก๊าซจากเมียนมาร์ แปลง M9

  8. ด้านความมั่นคงทางพลังงานด้านความมั่นคงทางพลังงาน การเตรียมการประมูลโรงไฟฟ้า IPP • จัดทำแนวทางการดำเนินงานการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนรายใหญ่ (IPP) ในช่วงปี 2564-2569 ตาม PDP 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3

  9. ด้านพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกด้านพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก • ทบทวนต้นทุนของพลังงานหมุนเวียนที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ที่ราคาลดลงอย่างรวดเร็ว • การส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าชีวมวลให้มีการลงทุนในเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น • การส่งเสริมมีการผลิตไฟฟ้าชีวมวลให้มีกำลังผลิตที่สอดคล้องกับความสามารถในการจัดหาเชื้อเพลิงชีวมวล รวมถึงพืชพลังงาน (Energy Crop) • การเสนอแนะแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กและขนาดชุมชน โดยคำนึง ถึงปริมาณและราคารับซื้อที่เหมะสม รวมถึงผลประโยชน์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยใช้ Feed-in Tariff

  10. ด้านพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกด้านพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก การส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ • การยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 • สร้างความมั่นใจในการใช้แก๊สโซฮอลให้กับประชาชน • ใช้มาตรการด้านราคาและขอความร่วมมือจากผู้ค้าน้ำมันให้มีการขยายสถานีน้ำมัน E20 เพิ่มเป็น 1,550 สถานี โครงการส่งเสริมพลังงานทดแทนระดับชุมชน • โครงการพัฒนาศูนย์ต้นแบบชุมชนสีเขียว (Green Community) • โครงการสนับสนุนการผลิตก๊าซชีวภาพจากชีวมวล/ของเสียผสม/พืชพลังงานในพื้นที่นิคมพัฒนาตนเอง • โครงการพัฒนาก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกรเพื่อการคมนาคม

  11. ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารภาครัฐ (ปี 2556 – 2558) • อาคารควบคุมภาครัฐ 800 แห่ง; นอกข่ายควบคุม 1,600 แห่ง • เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 180,000 เครื่อง • เปลี่ยนหลอดไฟประสิทธิภาพสูง (LED, T5) 3 ล้านหลอด • รณรงค์ลดใช้พลังงานในภาคราชการ 10% • งบประมาณ 7,300 ล้านบาท (3 ปี) • ประหยัดไฟฟ้าได้ 43.5 KTOE ต่อปี เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานใน SME • อุดหนุนการลงทุน 20% • ร่วมลงทุนผ่านโครงการ ESCO Fund • เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงาน 1,050 แห่ง • งบประมาณ 9,895 ล้านบาท (3 ปี) • ประหยัดไฟได้ 400 KTOE ต่อปี

  12. ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โครงการส่งเสริมวัสดุและอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็ก • มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High Efficiency Motor; HEM) • อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ (Variable Speed Drive; VSD) • เครื่องอัดอากาศประสิทธิภาพสูง • การเปลี่ยนหม้อไอน้ำ (Boiler) • เป้าหมาย -สถานประกอบการที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กรวม 3,000 แห่ง ใช้งบประมาณ 524 ล้านบาท โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและสาธิตการจัดการพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม • เพื่อพัฒนาบุคลากรของโรงงานอุตสาหกรรมให้สามารถดำเนินการอนุรักษ์พลังงานได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเป็นระบบและยั่งยืน • ถ่ายทอดประสบการณ์และเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานที่เหมาะสม • เพื่อจัดทำกรณีตัวอย่างการอนุรักษ์พลังงานในกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นจริงสำหรับนำไปเผยแพร่ขยายผลต่อไป

  13. ด้านการกำกับดูแลและราคาพลังงานด้านการกำกับดูแลและราคาพลังงาน การปรับโครงสร้างราคาพลังงาน • การปรับโครงสร้างราคาให้สะท้อนต้นทุน • กำหนดกลไกบรรเทาผลกระทบให้กับกลุ่มที่สมควรจะได้รับการช่วยเหลือ โครงการป้องกันและติดตามตรวจสอบการลักลอบส่งออกก๊าซ LPG ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน • ตั้งทีมงานตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายของโรงบรรจุก๊าซ และสถานีบริการในพื้นที่เป้าหมาย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่กรมธุรกิจพลังงาน พลังงานจังหวัด ศุลกากร และตำรวจ • วางกำลังเฝ้าระวังโรงบรรจุก๊าซที่มีเบาะแสว่าลักลอบส่งออก • ติดตามสถานการณ์ลักลอบส่งออกกับผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ • ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและตรวจสอบการลักลอบจำหน่ายก๊าซ LPG ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

  14. ด้านการกำกับดูแลและราคาพลังงานด้านการกำกับดูแลและราคาพลังงาน โครงการบัตรเครดิตพลังงานยกกำลัง 2 • เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ถือบัตรเครดิต • เพิ่มความสะดวกในการใช้งาน เช่น ช่องทางการชำระเงินที่ทั่วถึง • ขยายการให้บริการไปยังกลุ่มจักรยานยนต์รับจ้าง การขยายสถานีบริการ NGV ในพื้นที่ราชพัสดุ • กรมธนารักษ์ ลงนาม MOU ร่วมกับ ปตท. (พื้นที่สนับสนุนเบื้องต้น 4 แปลง) • คาดว่าสถานีบริการ NGV ในพื้นที่ราชพัสดุแห่งแรก เขตพระโขนง จะดาเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการ NGV ได้ในช่วงเดือน ส.ค.56

  15. “มุ่งมั่น ตั้งใจ เพื่อไทยทุกคน” ขอบคุณครับ

More Related